ดนตรีที่ช่วยให้เราผ่อนคลายนอนหลับ

ดนตรีที่ช่วยให้เราผ่อนคลายนอนหลับ



แบ่งตามขั้นตอนความต้องการที่จะตอบสนองภายนอก(ร่างกาย) สู่ภายใน(จิตวิญญาณ)

Step 1 : เพลงร้องที่เราชอบ เราอยากได้ยิน
ไม่ต้องไปฝืนฟังเพลงที่ไม่คุ้นหู หรือไม่คุ้นเคย ชอบแบบไหน ฟังแบบนั้นไปก่อน เก่าใหม่ได้หมด เพียงแต่มีแนวทางว่าเป็นเพลงที่จังหวะประมาณ 70 ครั้งต่อนาที(Beats per minute หรือ bpm) เป็นจังหวะที่ทำให้ร่างกายบรรเทาความทุกข์กังวลใจได้ดีที่สุด
เลือกเพลงให้เหมาะกับอายุของเรา มีทำนองเพลงไพเราะ สนุก มีชีวิตชีวา สดชื่น ร่าเริง แจ่มใสเสียงนักร้องระดับปานกลางชวนฟัง ทุ้ม นุ่ม ใส กังวาน ชัดเจนเนื้อหาเพลงไม่หนักเกินไป ฟังสบาย ๆ ถ้าเป็นเรื่องบอกเล่าถึงธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ ใบหญ้า ป่าเขา ทะเล ฯ จะช่วยให้เกิด ความผ่อนคลายขึ้น เลือกเพลงที่เล่นด้วยเครื่องดนตรีจริง ๆ เช่น ไวโอลิน กีตาร์ เปียโน ไม่ใช่เสียงสังเคราะห์ เสียงจะแน่นมีความเป็นธรรมชาติ สร้างสมดุลให้ร่างกายได้ดี และสัมผัสถึงจิตวิญญาณมากกว่า

Step 2 : เพลงบรรเลง ได้ทั้งไทย สากล จะเป็น POP /JAZZ/ CLASSIC/ เพลงเดี่ยวเครื่องดนตรี [SOLO] (กีตาร์,เปียโน ฯ) มีข้อมูล อ้างอิงที่น่าสนใจดังนี้ เพลง JAZZ ช่วยให้นอนหลับอย่างเป็นสุข

“นักวิจัยชาวไต้หวันได้แนะนำให้ผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับ แม้ว่าจะนับแกะไปหลายร้อยตัวแล้วก็ตาม ให้ลองหันมาฟังเพลงแจ๊ซเพื่อแก้ปัญหาแทน เหล่านักวิจัยได้ค้นพบว่า การฟังเพลงที่ช่วยให้ผ่อนคลาย เพียงแค่ 45 นาที ก่อนเข้านอนนั้น จะช่วยให้สามารถนอนหลับได้อย่างสงบสุข

กลุ่มนักวิจัยชาวไต้หวันได้เปิดเผยในวารสารเจอร์นัลออฟแอดวานซ์เนิร์ซซิงว่า พวกเขาได้ศึกษาถึงรูปแบบของการนอนในผู้สูงอายุจำนวน 60 คน ที่มีปัญหากับการนอน โดยผู้ที่เข้าร่วมการวิจัยนั้น สามารถเลือกฟังเพลงก่อนที่จะเข้านอน ในขณะที่บางคนเลือกที่จะเข้านอนโดยไม่ฟังเพลงก็ได้ ซึ่งในกลุ่มของผู้ที่เลือกฟังเพลงก่อนนอนนั้น ก็จะต้องเลือกเทปเพลงจังหวะช้า ๆ อย่างแจ๊ซ โฟล์ก หรือออเครสตรา ซึ่งมีอัตราจังหวะอยู่ที่ 60-80 จังหวะต่อนาที ขึ้นมา 1 ม้วนจากทั้งหมด 6 ม้วนหลังจากนั้น ทางกลุ่มนักวิจัยก็พบว่ากลุ่มผู้สูงอายุที่เลือกฟังเพลงก่อนเข้านอนนั้น ได้มีพัฒนาการทางการนอนเพิ่มขึ้น 35 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งพัฒนาการนั้นก็รวมไปถึงการนอนที่ดีและนานขึ้นในตอนกลางคืน และการลดอาการผิดปกติทางร่างกายต่าง ๆ ในตอนกลางวันอนึ่ง นักวิจัยพบว่าการฟังเพลงช่วยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ซึ่งช่วยทำให้นอนหลับได้อย่างสงบ รวมไปถึงการช่วยให้หัวใจเต้นช้าลง และยังหายใจช้าลงอีกด้วย ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ฮุ่ยหลิงไหล แห่งมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลฉือฉี กล่าวว่า

"กลุ่มผู้ที่ฟังเพลง มีพัฒนาการโดยรวม ดีขึ้น 26 เปอร์เซ็นต์ ในสัปดาห์แรก และระดับการพัฒนาก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อพวกเขาเชี่ยวชาญในกลวิธี การผ่อนคลายด้วยดนตรี ที่ช่วยให้นอนหลับ" (จากวารสาร For Quality)
เพลง CLASSIC แบบไหน ที่นำมาใช้เป็นดนตรีเพื่อความผ่อนคลายบำบัดซึ่งเพลงคลาสสิคที่นิยมใช้ในการทำดนตรีบำบัดจะอยู่ในระหว่างยุค พ.ศ. 2313-2373 เกิดขึ้นในโรงเรียนดนตรีเวียนนา มีนักประพันธ์เพลง เช่น
ไฮเดิล โมซาร์ท และเบโธเฟน ในยุคแรกลักษณะดนตรีมีรูปแบบชัดเจน สมดุล มีเสียงดนตรีตลอดไม่มีการหยุด เป็นดนตรีที่นิยมนำเพลงมาใช้ทำดนตรีบำบัด

“โมสาร์ท เอฟเฟกต์” (Mozart Effect)เสียงที่มีความถี่สูงๆ กระตุ้นให้การทำงานของสมองดีขึ้น
อัลเฟรด เอโทมาติส (AlfredATomatis)แพทย์ชาวฝรั่งเศสศึกษาพบว่าดนตรีสามารถใช้พัฒนา
การสื่อสารของมนุษย์ได้โดยเขาศึกษาบทเพลงของโวล์ฟกัง อมาดิอุส โมสาร์ท เป็นที่มาของคำว่าโมสาร์ท เอฟเฟกต์

Step 3 : เพลงบรรเลงที่ผสมเสียงธรรมชาติ พวกดนตรีแนว New Age
ซึ่งช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย แรงบันดาลใจ และมักใช้กับกิจกรรมต่างๆ เช่น โยคะ การนวด การทำสมาธิ การอ่านหนังสือ และการบริหารความเครียด
ลักษณะของดนตรีนิวเอจมักผสมระหว่างเสียงเอฟเฟกหรือเสียงจากธรรมชาติด้วย


Step 4 : เพลง/ดนตรีธรรมชาติ เลือกฟังเสียงดนตรีธรรมชาติ เช่น เสียงคลื่นทะเล เสียงน้ำตก เสียงป่า เสียงฝนตก ฯลฯซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ดนตรีในจักวาล [Musica Mundana] ของบีโอเทียส หากเป็นไปได้ ในช่วงวันหยุดควรได้ไปพักผ่อนสูดอากาศ สัมผัสเสียงธรรมชาติจริงๆ อย่างสม่ำเสมอจะดีมากกว่าการฟังซีดี

Step 5 : เพลง/ดนตรีจากภายในตัวเรา เข้าหลักการ ดนตรีที่อยู่ในร่างกายมุษย์ [Musica Humana] ของบีโอเทียส และ“ดนตรีและศิลปะบริสุทธิ์นั้นมีคุณสนับสนุนความมีจิตว่าง”ของท่านพระพุทธทาส คนทั่วไปที่จะเข้าถึงดนตรีภายในได้นั้นต้องฝึกสมาธิ และสามารถช่วยผ่อนคลายและบำบัดให้หลับได้เต็ม อิ่มหลับลึก และสามารถกำหนดเวลาตื่นได้อย่างน่ามหัศจรรย์

แนวทาง “ดนตรีหรือเพลงแบบไหนที่ช่วยให้เราผ่อนคลายนอนหลับ” ที่นำเสนอนี้ เป็นแนวทางที่ผู้สนใจสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมด้วยตนเองตามความเหมาะสม หลังจากได้ปฏิบัติตามแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับอีก ขอแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อทำการบำบัดรักษา ด้วยวิธีการที่เหมาะสมต่อไป



ขอบคุณ : khomsun.com

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์