ทางออกท้องไม่พร้อม ปรับทัศนะ-ลดอัตราตาย

ทางออกท้องไม่พร้อม ปรับทัศนะ-ลดอัตราตาย

ทางออกท้องไม่พร้อม ปรับทัศนะ-ลดอัตราตาย


หญิงไทยต้องเสี่ยงชีวิตจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยปีละประมาณ 30,000 ราย และกว่า 20 ราย ต้องจบชีวิตลงอย่างน่าเวทนา โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการท้องไม่พร้อม ซึ่งมีหลายปัจจัย เช่น มีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน ถูกข่มขืน ไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรได้ เป็นต้น

ศ.เกียรติคุณ น.พ.กำแหง จาตุรจินดา ประธานมูลนิธิเพื่อสุขภาพและสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ของสตรีแห่งประเทศไทย (สอส.) กล่าวว่า

ท้องไม่พร้อมเป็นปัญหาที่นำมาสู่การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งไทยมองเรื่องการทำแท้งเป็นเรื่องน่ารังเกียจ ผิดศีลธรรม และไม่มีใครยอมรับ โดยมองว่าผู้หญิงที่ทำแท้งและหมอที่ทำแท้งเป็นคนไม่ดี จึงทำให้มีคลินิกเปิดทำแท้งเถื่อนมากขึ้น ซึ่งกฎหมายอนุญาตให้ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมเนื่องจากปัญหาสุขภาพกาย จิต ถูกข่มขืน หรือทารกในครรภ์เสี่ยงต่อความพิการหรือมีโรคร้ายแรง ยุติการตั้งครรภ์ได้โดยแพทย์เท่านั้น

ปัจจุบันการทำแท้งที่ปลอดภัยมี 2 วิธี คือ การใช้ยาและการใช้เครื่องมือทางศัลยกรรม โดยการใช้ยาเป็นวิธีที่ดีที่สุด องค์การอนามัยโลกได้บรรจุยาไมฟีพริสโตน (Mifepristone) หรือ อาร์ยู 486 (RU486) และยาไซโตเท็ก (Cytotec) ที่มีตัวยาสำคัญ คือ ไมโซโปรสตอล (Misoprostol) ในบัญชียาหลัก เพื่อใช้ในการยุติการตั้งครรภ์ โดยใช้ในอายุครรภ์ไม่เกิน 9 สัปดาห์ ซึ่งได้ผลร้อยละ 95-100 และใช้รักษาอาการตกเลือดหลังคลอดได้

"สมาพันธ์สูตินรีแพทย์นานาชาติ แนะนำให้ทั่วโลก ใช้ยานี้ ประเทศที่พัฒนาแล้วใช้มานานกว่า 20 ปี รวมทั้งเพื่อนบ้านของไทย แต่ อย. อนุญาตให้ใช้ไมฟีพริสโตนเพื่อการวิจัยเท่านั้น และตั้งแต่ปี 2545 อย.ได้จัดให้ไมโซโปรสตอลเป็นยาควบคุมพิเศษ ที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ ใน ร.พ.ทำให้มีการลักลอบซื้อขายราคาสูงเม็ดละ 500-7,000 บาท ทั้งที่ต้นทุนแค่ 17 บาท"

ส่วนการทำแท้งโดยใช้เครื่องมือทางศัลยกรรมจะทำกรณีที่จำเป็นเท่านั้น

ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำว่าวิธีที่ปลอดภัย ควรทำโดยใช้เครื่องดูดสุญญากาศ แทนการขูดมดลูกโดยเหล็กแหลม มี 2 ชนิด คือ เครื่องดูดไฟฟ้า และเครื่องดูดมือถือ ซึ่งใช้ในอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ซึ่งแพทย์มักใช้เครื่องดูดมือถือ เพราะปลอดภัย ผู้รับบริการจะเจ็บปวดน้อยกว่าการขูดมดลูก ที่สำคัญมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมดลูกทะลุน้อยกว่าการขูดมดลูกด้วยเหล็กแหลม

"เครื่องดูดมือถือยังใช้ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคอื่นๆ ทางสูตินรีเวชแทนการขูดมดลูกได้ด้วย แต่ปัจจุบันแพทย์ไทยยังใช้เหล็กแหลม ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ล้าหลัง และบ่อยครั้งที่พบว่าแพทย์ขูดมดลูกจนทะลุและเสียชีวิต ดังนั้น ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา แพทยสภาจึงกำหนดให้การใช้วิธีดูดมดลูกด้วยสุญญากาศเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมแทนการขูดมดลูก"

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์