การเตรียมบ้าน รับมือ ภัยน้ำท่วม

การเตรียมบ้าน รับมือ ภัยน้ำท่วม


         หลายครั้งที่เคยได้ยินการรายงานข่าวเกี่ยวกับน้ำท่วม หลายคราวมักจะได้ยินผู้บรรยายข่าวระบุว่า เป็นเหตุน้ำท่วมในรอบหลายสิบปี หรือ บริเวณที่เกิดอุทกภัยเหล่านั้นไม่เคยเกิดน้ำท่วมมาก่อนเลยก็มี สาเหตุอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางน้ำ 

         แน่นอนว่าสำหรับคนที่ไม่เคยประสบพบเจอกับปัญหาอาจจะเตรียมตัวไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อน้ำท่วม แต่สำหรับอีกหลายคนที่อาศัยอยู่บริเวณริมน้ำ เขามีการเตรียมตัวอย่างไรลองไปดูวิธีเหล่านั้นกัน

          พยายามเก็บสิ่งของเครื่องใช้ที่อาจเสียหายจากความน้ำ บรรจุใส่ลังบรรจุสัมภาระที่ทำจากพลาสติก หรือบรรจุใส่ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ (ถุงดำ) บรรจุลงลังกระดาษ แล้วนำขึ้นไปเก็บไว้บนที่สูง ๆ ที่สามารถทำได้

          ย้ายปลั๊กไฟและสวิทซ์ไฟฟ้าที่อยู่ในระดับต่ำ โดยมากจะอยู่ที่ระดับ 30 เซนติเมตรจากพื้นอาคาร ให้สูงขึ้นไปอยู่ ในระดับ 1.20 เซนติเมตร แยกเบรกเกอร์ออกเป็นชั้น ๆ ไป เพื่อความสะดวก ในการตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อน้ำท่วม

          ย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ให้อยู่ในระดับที่สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร

          สำรวจช่องเปิดที่คาดว่าบรรดาสัตว์ที่มีอันตรายต่าง ๆ อาจจะสามารถเล็ดลอดเข้ามาทำอันตรายได้ และทำการปิดช่องเปิดนั้น เพื่อระวังป้องกันอันตราย
สำรวจรอยแตกร้าว รอยแยก บริเวณรอบตัวบ้าน หากพบจุดที่คาดว่าน้ำอาจซึมเข้ามาได้ ให้ใช้วัสดุยาแนวหรือซิลิโคลนฉีดอัดบริเวณรอยแตกร้าวภายนอก เพื่อลดการซึมเข้ามาของน้ำ

          ให้จัดเตรียมกระสอบทราย ทำเป็นกำแพงกันน้ำ บริเวณทางเข้าออกของบ้าน และประตูห้องน้ำเนื่องจากห้องน้ำจะมีระบบท่อน้ำทิ้งซึ่งน้ำจากภายนอกจะขึ้นมาจากระบบท่อเหล่านั้น

          หากไม่สามารถหากระสอบทรายได้ สามารถใช้วิธีก่อผนังฉาบปูนทำผิวขัดมันแทนการใช้กระสอบทรายก็ได้

          จัดเตรียมภาชนะสำหรับเก็บของเสียจากการขับถ่าย ไม่ควรขับถ่ายลงระบบส้วมเดิม เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มสิ่งสรกปกลงไปในน้ำ

          จัดเตรียมภาชนะบรรจุน้ำสะอาดไว้สำหรับบริโภค ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะหาได้ หรือจัดหาเครื่องกรองน้ำมาติดตั้ง เพราะเมื่อน้ำท่วมเราไม่ควรใช้น้ำประปามาบริโภค เนื่องจากอาจจะมีสิ่งสรกปกปะปนมากับน้ำปะปา

          จัดเตรียมเวชภัณฑ์ และอาหารสำเร็จรูปที่สามารถรจัดเตรียมได้ง่าย เช่น อาหารกระป๋อง เพราะเมื่อเกิดน้ำท่วม อาจจำเป็นต้องมีการตัดกระแสไฟ และไม่สามารถหุงหาอาหารได้

          ถ้าหากไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนเมื่อเกิดน้ำท่วมแล้วจะทำอย่างไร เมื่อเกิดน้ำท่วมแล้วเราจะแก้ไขได้ลำบากเพราะระบบอุปโภค และสาธารณูประโภค จะใช้งานไม่ได้ สิ่งของที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตจะมีราคาสูงขึ้น จนถึงขาดตลาด ดังนั้นการเตรียมตัวป้องกันจึงเป็นการแก้ไขที่ดีที่สุด


ขอบคุณข้อมูลจาก บ้านและสวน

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์