ระบบสุริยะ

ดวงอาทิตย์ดวงอาทิตย์

ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะของเรา ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง ล้วนแล้วแต่โคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญยิ่งต่อโลก เช่น ให้พลังงานแก่พืชในรูปของแสง และพืชก็เปลี่ยนแสงให้เป็นพลังงานในการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นน้ำตาล ตลอดจนทำให้โลกมีสภาวะอากาศหลากหลาย เอื้อต่อการดำรงชีวิต
ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยไฮโดรเจนอยู่ร้อยละ 74 โดยมวล ฮีเลียมร้อยละ 25 โดยมวล และธาตุอื่นๆ ในปริมาณเล็กน้อย ดวงอาทิตย์จัดอยู่ในสเปกตรัม G2V ซึ่ง G2 หมายความว่าดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,780 เคลวิน (ประมาณ 5,515 องศาเซลเซียส หรือ 9,940 องศาฟาเรนไฮ) ดวงอาทิตย์จึงมีสีขาว แต่เห็นบนโลกเป็นสีเหลือง เนื่องจากการกระเจิงของแสง ส่วน V  บ่งบอกว่าดวงอาทิตย์อยู่ในลำดับหลัก ผลิตพลังงานโดยการหลอมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม และอยู่ในสภาพสมดุล ไม่ยุบตัวหรือขยายตัว
ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากศูนย์กลางดาราจักรทางช้างเผือกเป็นระยะทางโดยประมาณ 26,000 ปีแสง ใช้เวลาโคจรครบรอบดาราจักรประมาณ 225-250 ล้านปี มีอัตราเร็วในวงโคจร 215 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 1 ปีแสง ทุกๆ 1,400 ปี


ดาวพุธดาวพุธ

ดาวพุธ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดของระบบสุริยะใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 88 วัน ดาวพุธมักปรากฏใกล้ดวงอาทิตย์ หรืออยู่ภายใต้แสงจ้าของดวงอาทิตย์ จึงสังเกตได้ไม่ง่ายนักด้วยกล้องโทรทรรศน์ ขณะทำมุมห่างมากที่สุดจะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 28.3° ดาวพุธไม่มีดาวบริวาร ยานอวกาศเพียงลำเดียวที่เคยสำรวจดาวพุธในระยะใกล้ คือ ยานมาริเนอร์ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2517-2518 (ค.ศ. 1974-1975) และสามารถทำแผนที่พื้นผิวดาวพุธได้เพียง 40-45% เท่านั้น
ดาวพุธมีสภาพพื้นผิวใกล้เคียงกับดวงจันทร์มาก มีพื้นผิวขรุขระเนื่องจากการพุ่งชนของอุตกาบาต ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวารรวมทั้งไม่มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะสร้างชั้นบรรยากาศ ข้อแตกต่างประการเดียวระหว่างดวงจันทร์และดาวพุธคือ ดาวพุธมีแกนกลางเป็นเหล็กขนาดใหญ่ จึงทำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มประมาณ 1 เปอร์เซนต์ของสนามแม่เหล็กโลกล้อมรอบดาวพุธไว้
บนดาวพุธนั้นเราจะสามารถเห็นดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่กว่าที่เห็นบนโลกถึง 3 เท่า ช่วงเวลา
กลางวันของดาวพุธยาวนานมากเท่ากับ 88 วันบนโลก และช่วงเวลากลางคืนก็ใช้เวลาอีก 88
วันบนโลก เมื่อดาวพุธเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดนั้นมันจะโคจรเร็วมาก บนท้องฟ้า
ของดาวพุธเราจะมองเห็นเหมือนดวงอาทิตย์เคลื่อนถอยหลังเลยทีเดียว


ดาวศุกร์ดาวศุกร์

ดาวศุกร์ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2  ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน มีขนาดใกล้เคียงกับโลก บางครั้งเรียกว่า "น้องสาว" ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงจะเป็นวงรี วงโคจรของดาวศุกร์จัดว่าเกือบเป็นวงกลม มีความเยื้องศูนย์กลาง (ความรี) น้อยที่สุด
สำหรับวัตถุในธรรมชาติ ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างที่สุดเป็นลำดับที่ 3 รองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก จึงมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47.8° มองเห็นได้เฉพาะในเวลาเช้ามืดหรือหัวค่ำเท่านั้น ขณะปรากฏในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง" และเมื่อปรากฏในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง"


โลกโลก

โลก เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สาม โดยโลกเป็นดาวเคราะห์หินขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ และเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ยืนยันได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ดาวเคราะห์โลกถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,570 ล้าน (4.57×109) ปีก่อน และหลังจากนั้นไม่นานนัก ดวงจันทร์ซึ่งเป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวของโลกก็ถือกำเนิดตามมา สิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาที่ครองโลกในปัจจุบันนี้คือมนุษย์
โลก มีลักษณะเป็นทรงวงรี โดย ในแนวดิ่งเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 12,711 กม. ในแนวนอน ยาว 12,755 กม. ต่างกัน 44 กม. มีพื้นน้ำ 3 ส่วน หรือ 71% และมีพื้นดิน 1 ส่วน หรือ 29 % แกนโลกจะเอียง 23.5 องศา


ดาวอังคารดาวอังคาร

ดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 4  เป็นเพราะดาวอังคารปรากฏเป็นสีแดงคล้ายสีโลหิต บางครั้งจึงเรียกว่า "ดาวแดง" หรือ "Red Planet" (ความจริงมีสีค่อนไปทางสีส้มอมชมพูมากกว่า) ดาวอังคารมีดาวบริวารหรือดวงจันทร์ขนาดเล็ก 2 ดวง คือ โฟบอสและดีมอส โดยทั้งสองดวงมีรูปร่างบิดเบี้ยวไม่เป็นรูปกลม ซึ่งคาดกันว่าอาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่หลงเข้ามาแล้วดาวอังคารคว้าดึงเอาไว้ให้อยู่ในเขตแรงดึงดูดของตน
ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หิน (terrestrial planet) มีชั้นบรรยากาศเบาบาง พื้นผิวมีลักษณะคล้ายคลึงทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย และบริเวณน้ำแข็งขั้วโลก บนโลก ดาวอังคารมีภูเขาที่สูงที่สุดในระบบสุริยะคือ ภูเขาไฟโอลิมปัส (Olympus Mons) และหุบเขาลึกที่มีชื่อว่า มาริเนริส (Marineris) ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ


ดาวพฤหัส ดาวพฤหัส


ดาวพฤหัส เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 5 แห่งระบบสุริยะ และเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ใหญ่ที่สุดมีมวลเป็นลำดับที่ 2 รองจากดวงอาทิตย์ และมีมวลมากกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นรวมกัน มีขนาดใหญ่กว่าโลก 318 เท่า
ยานไพโอเนีย 10 (Pioneer 10) เป็นยานลำแรกที่เดินทางเข้าใกล้กับดาวพฤหัสในปี ค.ศ.1973 หลังจากนั้นก็มียานอีกหลายลำเดินทางตามไป เช่น Pioneer 11,Voyager 1,Voyager 2 และ Ulysses นอกจากนี้ยังมียาน Galileo ได้โคจรอยู่รอบดาวพฤหัสและถ่ายภาพกลับสู่โลก


ดาวพฤหัสมีไฮโดรเจน 90% อีก 10% เป็นฮีเลียม มีเทน น้ำ แอมโมเนียและหินปะปนกัน สัดส่วนโครงสร้างของธาตุที่ก่อตัวเป็นดาวพฤหัสนี้ มีค่าใกล้เคียงกับโครงสร้างของเนบิวลา ที่ก่อตัวกำเนิดเป็นระบบสุริยะในช่วงแรก ๆ ดาวที่มีส่วนประกอบโครงสร้างของธาตุใกล้เคียงลงมาอีกคือ ดาวเสาร์ ส่วนดาวยูเรนัสและเนปจูน มีฮีเลียมและไฮโดรเจนน้อยลงไปอีก


ดาวเสาร์ดาวเสาร์


ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 นับจากดวงอาทิตย์ และเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นลำดับ 2


ยานอวกาศลำแรกที่เดินทางไปยังดาวเสาร์คือยาน Pioneer 11 ในปี ค.ศ. 1979 หลังจากนั้นก็มียานตามไปอีกคือ Voyager 1 และ Voyager 2 นอกจากนี้ยังมียาน Cassini ที่กำลังเดินทางไปมีกำหนดถึงในปี ค.ศ. 2004 นี้


เมื่อมองดูดาวเสาร์ผ่านกล้องดูดาวขนาดเล็ก จะเห็นดาวเสาร์มีลักษณะแป้น จากข้อเท็จจริงแล้ว ขนาดเส้นศูนย์สูตรเมื่อเทียบกับเส้นละติจูด จากขั้วเหนือถึงขั้วใต้จะมีความแตกต่างกันถึง 10% (ศูนย์สูตร : 120,536 km. เส้นละติจูดจากขั้วเหนือถึงขั้วใต้ : 108,728 km) เหตุผลที่ทำให้ดาวเสาร์มีลักษณะแป้น เพราะหมุนรอบตัวเองเร็วและสภาพส่วนใหญ่เป็นก๊าซเหลว ดาวเคราะห์ก๊าซอื่น ๆ ก็มีลักษณะแป้นแต่ไม่มากเท่าดาวเสาร์


ดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ ในชั้นบรรยากาศมี ไฮโดรเจน 75% อีก 25% เป็นฮีเลียม,น้ำ,มีเทน,แอมโมเนียและหิน ส่วนประกอบของชั้นบรรยากาศนี้ เหมือนกับส่วนประกอบของเนบิวลาสุริยะช่างแรก ๆ ที่ก่อตัวจนเป็นระบบสุริยะของเรา แกนภายในของดาวเสาร์เป็นหินแข็งเหมือนกับดาวพฤหัส ถัดออกมาเป็นชั้นโลหะของไฮโดรเจนเหลว และชั้นโมเลกุลของไฮโดรเจนตามลำดับ นอกนี้ยังมีน้ำปะปนบ้างเล็กน้อย


แกนภายในของดาวเสาร์มีความร้อนประมาณ 12,000 K. และแผ่รังสีพลังงานสู่อวกาศมากกว่าที่รับจากดวงอาทิตย์ พลังงานของดาวเสาร์ทั่งหมดเกิดจากกระบวนการ Kelvin-Helmholtz mechanism เหมือนในดาวพฤหัส แถบเมฆที่เกิดบนดาวเสาร์จะมีลักษณะราบเรียบ ไม่เด่นสะดุดตาเหมือนบนดาวพฤหัส แถบเมฆที่ราบเรียบจะขนานไปกับแนวเส้นศูนย์สูตร รายละเอียดของเมฆด้านบนไม่สามารถเห็นได้จากโลก จนกระทั่งเราได้รับภาพถ่ายจากยาน Voyager ถึงได้ทราบรายละเอียดของแถบเมฆนั้น


ดาวยูเรนัส ดาวยูเรนัส

ดาวยูเรนัส หรือ มฤตยู เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 ในระบบสุริยะ จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ตั้งชื่อตามเทพเจ้า Ouranos ของกรีก
ผู้ค้นพบดาวยูเรนัส คือ เซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล(Sir William Herschel) พบในปี พ.ศ. 2324 (ค.ศ. 1781)
ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) นักดาราศาสตร์จากหอดูดาวไคเปอร์แอร์บอร์น (James L. Elliot, Edward W. Dunham, and Douglas J. Mink using the Kuiper Airborne Observatory) ค้นพบว่า ดาวยูเรนัสมี วงแหวนจางๆโดยรอบ
และเราก็ได้เห็นรายละเอียด ของดาวยูเรนัสพร้อมทั้งวงแหวน และดวงจันทร์บริวารในปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) เมื่อยานวอยเอเจอร์ 2 (Voyager 2) เคลื่อนผ่าน


ดาวเนปจูนดาวเนปจูน

ดาวเนปจูน หรือชื่อไทยว่า ดาวเกตุ คือดาวเคราะห์ในระบบสุริยะลำดับที่ 8 หรือลำดับสุดท้ายที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์  ตัวดาวมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจากดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และมีมวลเป็นลำดับที่ 3 รองจากดาวพฤหัสและดาวเสาร์  ดาวเนปจูนมีสีน้ำเงิน เนื่องจากองค์ประกอบหลักของบรรยากาศผิวนอกเป็น ไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน บรรยากาศของดาวเนปจูน มีกระแสลมที่รุนแรง (2500 กม/ชม.) อุณหภูมิพื้นผิวอยู่ที่ประมาณ -220° (-364°F) ซึ่งหนาวเย็นมากๆ เนื่องจาก ดาวเนปจูนอยู่ไกลดวงอาทิตย์มาก แต่แกนกลางภายในของดาวเนปจูน ประกอบด้วยหินและก๊าซร้อน อุณหภูมิประมาณ 7,000° (12,632°F) ซึ่งร้อนกว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์เสียอีก  ยานวอยเอเจอร์ 2 เป็นยานอวกาศจากโลกเพียงลำเดียวเท่านั้น ที่เคยเดินทางไปถึงดาวเนปจูนเมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) ภาพของดาวเนปจูนซึ่งได้ถ่ายลักษณะของดาวมาแสดงให้เราเห็นจุดดำใหญ่ (คล้ายจุดแดงใหญ่ ของดาวพฤหัส) อยู่ค่อนมาทางซีกใต้ของดาว มีวงแหวนบางๆสีเข้มอยู่โดยรอบ (วงแหวนของดาวเนปจูน ค้นพบก่อนหน้านั้น โดย เอ็ดเวิร์ด กิแนน (Edward Guinan)
ดาวเนปจูนมีดวงจันทร์บริวาร 13 ดวง และดวงใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า ไทรทัน

ดาวเคราะห์ดาวเคราะห์


อุกกาบาตอุกกาบาต


ดาวฤกษ์ดาวฤกษ์


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์