คลื่นการเดินของกิ้งกือ

คลื่นการเดินของกิ้งกือ


 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ได้จัดให้มีการเสวนาเรื่อง คลื่นการเดินของกิ้งกือ ซึ่งเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษา ซึ่งจัดทำโดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 3 คน คือ นายจารุพล สถิรพงษะสุทธิ, นายณัฐดนัย ปุณณะนิธิ และนายภูมิยศ วิมลกิตติวัฒน์ โดยมีอาจารย์นิพนธ์ ศรีนฤมล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

และโครงการนี้ยังได้รับคำแนะนำจาก ดร.สมฤทธิ์ วงศ์มณีโชติ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านชีวฟิสิกส์ (biophysics)

และ ดร.ไพศาล นาคมหาชลาสินธุ์ ผู้เชี่ยวชาญทางคณิตศาสตร์ ที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ นอกจากนี้ยังเชิญ ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ จาก MTEC มาช่วยให้คำแนะนำในเรื่องกระบวนการทดลองอีกด้วย โดยที่โครงงานนี้ได้รับรางวัล SIGMA SCIENCE จากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากที่เด็กไทยสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติ

คลื่นการเดินของกิ้งกือ


โครงงานนี้เกิดจากการสังเกตสิ่งรอบตัวที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวัน

ซึ่งเด็กทั้ง 3 ก็ไปพบเห็นกิ้งกือ (millipede) ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีขามากที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง โดยพวกเขาเห็นมันเดินอยู่ในสนามหญ้าของโรงเรียน แล้วก็สังเกตเห็นการเดินของกิ้งกือที่มีขามาก แต่ก็สามารถเดินได้ดี โดยที่ขาไม่ขัดกันล้ม ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการทดลองสังเกตการเดินของกิ้งกือทั้งจากภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว การวัดค่าต่าง ๆ โดยนักเรียนกลุ่มนี้ได้ออกแบบการทดลองให้กิ้งกือเดินในท่อพลาสติกใสแล้วจับเวลา และนำไปเปรียบเทียบกับทฤษฎีทางคณิตศาสตร์

น้องๆทั้งสามคนตั้งความหวังไว้ว่า โครงงานที่คิดขึ้นนี้ถ้าหากสามารถพัฒนาต่อไป

เราอาจจะสามารถสร้างยานพาหนะขนส่งที่มีขนาดยาว บรรทุกสินค้าที่มีน้ำหนักมาก ๆ ได้ หรือสามารถนำไปสร้างหุ่นยนต์ที่สามารถเดินทางบนพื้นที่ขรุขระได้อีกด้วย ซึ่งการทดลองทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาในข้างต้น


ถ้าน้องนักเรียนมัธยมฯ คนไหนมีความคิดสร้างสรรค์เหมือนอย่างเด็ก ๆ ทั้ง 3 คนนี้
ก็อย่านิ่งเฉย ลองเริ่มค้นคว้าหาคำตอบ ลองคุยกับเพื่อนๆ หรือเอาความคิดริเริ่มเหล่านั้นไปปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาในโรงเรียนของน้องๆ การเริ่มต้นคิดโครงงานวิทยาศาสตร์อาจจะมีปัญหาบ้าง แต่อย่าพึ่งยอมแพ้นะคะ ยังมีอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญในสถาบันต่าง ๆ ที่พร้อมจะสนับสนุนน้องๆ เหมือนอย่างที่สนับสนุนพี่ๆ ทั้ง 3 คนนี้ วันหนึ่งความคิดของน้องๆอาจจะประสบความสำเร็จจนเป็นที่น่าภาคภูมิใจแก่พ่อแม่ ครูอาจารย์ก็ได้นะคะ

ขอขอบคุณสาระดีดีจาก
วิชาการ.คอม

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์