ย่ำถิ่นมนุษย์ถ้ำอุดรฯ ดูภาพเขียนสีก่อนประวัติศาตร์

แม้พบหลักฐานเด่นชัด อุดรธานีเคยเป็นถิ่นที่อยู่มนุษย์โบราณก่อนประวัติศาสตร์

ย่ำถิ่นมนุษย์ถ้ำอุดรฯ ดูภาพเขียนสีก่อนประวัติศาตร์

โดยเฉพาะถิ่นฐานมนุษย์โบราณที่บ้านเชียงพบพร้อมเครื่องปั้นดินเผาลายเชือก ทำให้ตำรามานุษยวิทยาในโลกนี้ต้องขึ้นบทใหม่อีกบทหนึ่งเกี่ยวกับบ้านเชียงในไทยไว้ แต่ก็ ไม่เคยปรากฏว่า อุดรฯเคยมีมนุษย์ถ้ำอยู่กันอย่างเป็นประชาคมบนเขาสูง มีวิวัฒนาการก้าวหน้า ขนาดเขียนภาพสีไว้ตามหน้าผาหรือผนังถ้ำ แสดงสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนในยุคโน้น ทั้งการล่าสัตว์และการทำการเกษตร เพิ่งไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เองที่พบว่า อุดรฯมีมนุษย์ถ้ำมีภาพเขียนสีมนุษย์โบราณแบบเดียวกับภาพเขียนสีที่ “ผาแต้ม” อุบลราชธานี

ใครๆก็รู้ว่าอุดรธานีเป็นจังหวัดใหญ่ ในอีสานเหนือ แน่นอนหมู่บ้านเล็กๆ อย่าง บ้านหนองเจริญ ต.ขอนยูง อ.กุดจับ
ย่อมไม่เป็นที่รู้จักกันมากมาย ทั้งที่อยู่ห่าง จากตัวเมืองอุดรฯ ไปทางตะวันตก 40 กม.เท่านั้น ที่โน่นยังเป็นป่าในเทือกเขา ภูพานอันกว้างใหญ่ โดยเขตนั้นเรียกว่าเทือกเขาภูพานน้อย ขุนเขาป่าดงกลางจังหวัด ที่ไม่น่าสนใจนี่เอง

เริ่มมีความสำคัญขึ้นเมื่อปี 2545 เมื่อกลุ่มอาสาสมัครป้องกันไฟป่า หมู่ 7 บ้านหนองเจริญ
มีนายสุวิทย์ พนมกุล เป็นประธาน นายสิทธิ พนมกุล และนายคำ ทิตะพันธ์ เป็นรองฯ
พร้อมพรรคพวกอีกหลายคนดาหน้ากันขึ้นเทือกเขา ภูพานน้อย เพื่อหาทำเลกำหนดแนวป้องกันไฟป่ามหาภัยน่ากลัวของชาวบ้าน
คนกลุ่มนี้สะดุดใจเมื่อไปพบ กลุ่มภาพเขียนสีโบราณสีแดงบนหน้าผาใต้ชะโงกหินใกล้ปากถ้ำที่ชาวบ้านเรียกว่าถ้ำสิงห์เข้า

ความจริงภาพเขียนสี มนุษย์โบราณ ก่อนประวัติศาสตร์ใกล้ถ้ำสิงห์ ชาวบ้านย่านนี้เคยเห็นมา หลายชั่วคนเป็นร้อยๆ ปีแล้ว


เมื่อนำปศุสัตว์ขึ้นไปเลี้ยงบนเขา แต่ไม่มีใครเอะใจในความสำคัญยิ่งใหญ่ ของชุดภาพเขียนสีโบราณบนผนัง ชะโงกผาหินความยาวราว 5-6 เมตร ที่อยู่สูงกว่าระดับ พื้นที่ยืนราว 2 เมตรเศษ กันมาก่อนเลย ความสงสัย ในความยิ่งใหญ่ครั้งนั้น ทำให้ภาพเขียนสีทรงคุณค่า ของมนุษย์โบราณ ไม่เป็นที่รู้กันในท้องถิ่นแคบๆ อีกต่อไป คราวนี้แพร่จาก อบต. ไปสู่อำเภอแล้วเข้าไปสู่ศาลากลางจังหวัด จากระบบการประชุม ประจำเดือนของจังหวัด ประกายแห่งความสนใจ ของจังหวัดเริ่มส่งผลทันที

เจ้าหน้าที่ของทางราชการทั้งฝ่ายอำเภอ วัฒน-ธรรมจังหวัดเริ่มส่งคนออกไปดู ที่จริงจังมาก
ได้แก่ การสำรวจของสำนักงานโบราณ คดีที่ 7 ขอนแก่น ระบุว่าเป็นภาพเขียนสี ยุคก่อนประวัติศาสตร์ 1,800-2,500 ปี

ปัจจุบัน ภาพเขียนสีถ้ำสิงห์ กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ ของอุดรธานีไปแล้ว แม้การไปดูค่อนข้างวิบาก จุดที่จอดรถที่ใกล้ที่สุดต้อง เดินลุยขึ้นเขาไปอีกราว 500 เมตร แต่ก็จะเพลิดเพลินเพราะต้องเดินผ่านป่าเขา บริสุทธิ์ไปตลอดทาง อาทิ ซำต้นหมาก ทับควาย หมู่หินน้อยใหญ่ ถ้ำฤาษี ถ้ำเห็ดคอกม้า หอนางอุษา แล้วจึงจะไปถึงถ้ำสิงห์


สภาพภาพเขียนสีในขณะนี้ หลายส่วนเสียหายไปมาก

โดยเฉพาะส่วนที่อยู่ใกล้ ปากถ้ำ เกิดจากนักขุดหาสมบัติพากันขุดทลายหินบริเวณปากถ้ำ
และตามผนังถ้ำที่เป็นหลืบหลายแห่ง เพราะคิดว่ามีมหาสมบัติมนุษย์โบราณฝังหรือซุกซ่อนอยู่

ทำให้ หินถล่มลงมามากจนปิดปากถ้ำ เหลือนิดเดียว บรรดาภาพเขียนสีตามผนังบริเวณนั้น ต้องถล่มทลายลงมาด้วย กระนั้นภาพที่เหลืออยู่ก็ฉายสภาพความเป็นอยู่มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ยุคนั้นได้ดีพอสมควร ภาพที่วาดใช้สีแดงจากธรรมชาติวาด แม้บางส่วนสีแดงที่ใช้วาดระบายซีดลงไปมาก ภาพที่ปรากฏก็ยังเด่นชัดพอสมควรเป็นภาพมนุษย์ล่าสัตว์โดยใช้ หอกหรือแหลนหลาว เห็นการเข้าล้อมล่าสัตว์ใหญ่อย่าง สิงโต เสือ กระทิงป่า และหมูป่า

อีกหลายภาพเป็นภาพเกี่ยวกับไร่นาและรูปเรขาคณิตที่ไม่รู้ว่าเป็นอะไรอย่างแน่ชัด หลายภาพเป็นรูปปลาใหญ่ที่จับได้ ภาพเกือบทั้งหมดเป็นภาพลายเส้น 2 มิติกว้างยาวเท่านั้น บางส่วนระบายสีแดงทึบเอาไว้ สัตว์บางอย่างคิดว่าอีสานเหนือในปัจจุบันไม่มี คงจะสูญพันธุ์ไปแล้วเป็นภาพสัตว์ตัวโต เขายาวมีขนรุงรังกำลังถูกล้อมกรอบ


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์