Large Hadron Collider (LHC) เป็นเครื่องเร่งความเร็วอนุภาค ของศูนย์วิจัย CERN ในสวิตเซอร์แลนด์
มีลักษณะเป็นท่อใต้ดินวนเป็นวงกลมยาว 27 กิโลเมตร เป้าหมายของ LHC คือใช้ทดลองเร่งความเร็วอนุภาคแล้วเอามาวิ่งชนกัน เพื่อตรวจสอบทฤษฎีทางฟิสิกส์อนุภาคว่าเป็นไปได้จริงหรือไม่ โดยเฉพาะ ซึ่งถ้าสร้างขึ้นมาได้จริงตามทฤษฎี วงการฟิสิกส์จะก้าวหน้าขึ้นไปอีกมาก LHC ตอนนี้กำลังสร้างอยู่และมีกำหนดเปิดใช้งานเดือนพฤษภาคมนี้(2008)
อย่างไรก็ตาม มีกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่คาใจเรื่องความปลอดภัยของ LHC ในหลายประเด็น
เช่นว่า การใช้งาน LHC อาจก่อให้เกิดแบล็คโฮล (หลุมดำ)ขนาดเล็กขึ้นมาทำลายล้างโลก หรือเปลี่ยนขั้วแม่เหล็กโลกให้เหลือข้างเดียวได้ ล่าสุดได้มีคนยื่นฟ้องต่อศาลสหรัฐ ให้กระทรวงพลังงานสหรัฐและห้องทดลอง Fermilab ซึ่งเป็นภาคีสมาชิกของ LHC ชะลอการใช้งานไปอีก 4 เดือนเพื่อตรวจสอบความปลอดภัย ซึ่งทางฝ่ายสนับสนุน LHC เองก็ออกมาโต้แย้งว่าไม่มีหลักฐานใดๆ ว่าจะเกิดอันตรายขึ้นแต่อย่างใด ส่วนศาลจะรับฟ้องหรือไม่นั้นอยู่ระหว่างกระบวนการด้านเอกสาร "
แม้นักฟิสิกส์ทั่วโลกจะใช้เวลาถึง 14 ปีและลงทุนไปกว่า 8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อสร้างเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี (Large Hadron Collider: LHC) ที่ใหญ่สุดในโลก
ภายใต้ความร่วมมือขององค์การศึกษาวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป "เซิร์น" (Cern) เพื่อเร่งให้อนุภาคโปรตอนชนกัน แล้วสร้างพลังงานและเงื่อนไขที่เหมือนกับเสี้ยววินาทีที่ 1 ในล้านล้านล้านหลังเกิดบิกแบง (Big Bang) โดยนักวิทยาศาสตร์จะวิเคราะห์เศษซากที่เกิดขึ้น เพื่อไขปริศนาธรรมชาติของมวลและแรงใหม่ๆ รวมถึงความสมมาตรของธรรมชาติด้วย
LHC ไขความลับจักรวาลหรือหายนะของมวลมนุษย์
หากแต่วอลเตอร์ แอล.วากเนอร์ (Walter L.Wagner) ผู้อาศัยอยู่ในมลรัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา
และศึกษาวิจัยฟิสิกส์และรังสีคอสมิกที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ (University of California, Berkeley) ทั้งยังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยนอร์เธิร์นแคลิฟอร์เนียในซาคราเมนโต (University of Northern California in Sacramento) และลูอิส ซานโช (Luis Sancho) ซึ่งระบุว่าทำวิจัยเกี่ยวกับทฤษฎีเวลาและอาศัยอยู่ในสเปน ได้ฟ้องต่อศาลฮาวายเพื่อเรียกร้องสิทธิให้ระงับการทดลองของเซิร์น เนื่องจากอาจทำให้เกิดหลุมดำขนาดเล็กที่อาจ "กินโลก" หรือทำให้เกิดอนุภาคแปลกๆ ที่เปลี่ยนโลกให้หดกลายเป็นก้อนที่มีความหนาแน่นสูง
ทั้งนี้แม้จะฟังดูประหลาด แต่กรณีนี้ก็เป็นประเด็นเคร่งเครียดที่สร้างความวิตกให้กับนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ในช่วงเวลาไม่กี่ปีมานี้ กล่าวคือพวกเขาจะประมาณความเสี่ยงจากการทดลองใต้ดินที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนนี้ได้อย่างไร และใครที่จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะหยุดหรือเดินหน้าการทดลอง
สรุปคือเครื่องเร่งอนุภาค เพื่อจะทำให้ตัว LHC ทำความเร็วไปแตะระดับความเร็วแสง เพื่อทำให้เกิดปรากฎการใหม่ที่มนุษยชาติไม่เคยมีไครทำและทำได้ ถ้าทำได้สำเร็จจริงจะเป็นผลแห่งความรู้ใหม่อันมหาศาลทางวิทยาศาสตร์ของมนุษย์โลก เอาแบบง่ายๆ ถ้าทำสำเร็จจะเป็นพื้นฐานของการทำเครื่อง Time Machine แต่ถ้าสำเร็จจริงผลเสียที่ตามมา ที่มีกลุ่มคนต่อต้านกันอยู่คือ มันเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่มาก การประเมินผลเสียที่เกิดขึ้นเป็นแค่การสมมุติฐานและคำนวนตามทฤษฎีเท่านั้น จึงเป็นไปได้ทั้งสองทางคือ อาจจะเป็นผลที่ดีมาก หรือผลเสียมากต่อมนุษยชาติก็ได้ ดีก็ดีไปแต่ข้อเสียก็คือ การทำให้อะไรสักอย่างบนโลกใบนี้เร็วในระดับไปแตะก้นความเร็วแสงได้จริงมันอาจทำให้เกิดหลุมดำขนาดหนึ่งขึ้นมาได้ และอาจจะดูดกลืนทุกสิ่งบนโลกใบนี้ให้หายไปเลยก็ได้ครับ ทั้งผลร้ายและผลดีนั้น คำนวนตามทฤษฎีของนักวิทยาศาสตร์ทั้งนั้นครับ ซึ่งไม่เคยมีใครมีประสบการณ์ในการทดลองจริงได้สำเร็จ
ไม่ควรมองเป็นเรื่องไกลตัวนะครับ เพราะเรื่องนี้บอกว่าเรามาจากที่ไหนแล้วจะสิ้นสุดตรงไหนอีกอย่างการทดลองจะมีขึ้นเร็วๆนี้
ไม่แน่นะครับถ้าเกิดความผิดพลาดในการทดลองขึ้นจริงๆ เช่นทำให้แม่เหล็กของโลกเหลือขั้วเดียว รึอะไรก็แล้วแต่ที่อยู่นอกเหนือการคำนวณ เราคงได้สนุกกันแน่ ตอนนี้ชะลอการใช้งานไปอีก 4 เดือนเพื่อตรวจสอบความปลอดภัย เดือนกันยาก็ได้มีลุ้นครับ
มีความกลัวไปต่างๆนานา ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
ที่น่ากลัวคือมันจะสร้าง black hole ขึ้นบนโลก.... ดูดจ๊วบ...
ถึงตอนนั้นไม่รู้ว่าจะเจออะไร หรือไม่เจออะไรเลย
เราอาจจะตายกันหมด หรือตายกันซักค่อนโลก
ยุโรปอาจจะหายไปจากแผนที่โลกเลยก็ได้
อยากทำอะไรก็ทำซะ จะบอกรักใครก็บอกซะ โชคดีคับ
เพิ่มเติม......
CERN ได้ประกาศเมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมาว่าจะเดินเครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider (LHC) ในวันที่ 10 สิงหาคมนี้ ข่าวนี้มาพร้อมกับระยะทำเครื่องให้เย็นหลังจาก CERN ได้ประสบความสำเร็จในการข้อสรุปในการเดินเครื่องเร่งอนุภาคตัวใหม่ สถานีโทรทัศน์ได้ทำรายงานครอบคลุมตั้งแต่เการเริ่มเดินเครื่องผ่านทางสถานี Eurovision LHC เป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่มีกำลังมากสุดในโลก สร้างลำแสงอิเล็กตรอนที่มีพลังงานมากกว่า 7 เท่าของเครื่องเก่า และมีความเข้มมากกว่า 30 เท่าเมื่อไปถึงประสิทธิภาพที่คาดหวังไว้ในปี 2010 อุโมงค์ขนาด 27 กิโลเมตรที่เป็นท่อลำแสง LHC อิงเทคโนโลยีที่ไม่คิดว่าจะเป็นไปได้เมื่อ 30 ปีที่แล้ว เครื่อง LHC ในปัจจุบันจึงเปรียบเสมือนเครื่องต้นแบบในตัวมันเอง
สิ้นเดือนกรกฎาคม งานทั้งหมดใกล้จะเสร็จสมบรูณ์แล้ว กับเครื่องยิงอนุภาค 8 ส่วนที่มีอุณหภูมิในการทำงานอยู่ที่ 1.9 องศาเหนือจุดเยือกแข็งสมบูรณ์ (-271°C)
ระยะต่อไปขอการทำงานคือการทำเชื่อมต่อ LHC กับเครื่องเร่ง Super Proton Synchrotron (SPS) ที่จะมารวมเป็นส่วนเชื่อมต่อสุดท้ายของห่วงโซ่การยิงของ LHC เวลาระหว่างเครื่องทั้ง 2 ต้องมีความแม่นยำในระดับส่วนเสี้ยวของนาโนวินาที การทดสอบการเชื่อมต่อจะเริ่มในวันที่ 9 สิงหาคมนี้ และการยิงลำแสงอิเล็กตรอนที่สองแบบหมุนตามเข็มนาฬิกาจะเริ่มในสัปดาห์ถัดไป การทดสอบจะทำเรื่อยจนถึง 9 กันยายน เพื่อแน่ใจว่าเครื่องพร้อมที่จะเร่งและทำให้เกิดการชนของแสงอิเล็กตรอนที่ยิงไปที่มีระดับพลังงาน 5 TeV ต่อลำแสง ซึ่งเป็นพลังงานเป้าหมายในปี 2008 นี้ และลำแสงที่จะวิ่งวนภายใน LHc อย่างเป็นทางการนี้คือวันที่ 10 กันยายน 2008 ซึ่งจะใช้พลังงาน 450 GeV (0.45 TeV)
เมื่อการโคจรของลำแสงอิเล็กตรอนสเถียรแล้ว นักวจัยก็จะนำเข้าสู่ระยะการชนและสุดท้ายก็จะเร่งระบบ LHC ให้เร่งพลังงานไปถึง 5 TeV เพราะฉะนั้นติดตามการทดลองที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 10 กันยายนนี้ให้ดี ว่าจะเป็นวันประวัติศาสตร์ของโลก หรือจุบจดของโลก ถ่ายทอดสดทั่วโลกทาง CNN ฯลฯ
ลุ้นระทึก! การทดลอง\'บิ๊กแบง\'
ลุ้นระทึก! การทดลองสร้างปรากฏการณ์บิ๊กแบงขนาดจิ๋ว นักวิชาการชี้โอกาสเกิดหลุมดำมีน้อย เชื่อถึงเกิดก็ไม่เป็นอันตราย วันนี้ (10ก.ย.) นับเป็นวันที่เหล่านักฟิสิกส์ที่ห้องปฏิบัติการศูนย์วิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป หรือ “เซิร์น” (CERN: เป็นตัวย่อจากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งแปลว่า Center of European Nuclear Research) รวมถึงประชาชนทั่วโลก ต่างกำลังเฝ้ารอและลุ้นระทึกถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการทดลองจำลองการเกิดปรากฏการณ์บิ๊กแบงโดยใช้เครื่องเร่งอนุภาคความเร็วสูงเกือบเท่าแสงหรือ Large Hadron Collider (LHC) ซึ่งในมุมมองของฟิสิกส์ต่างหวังว่าการทดลองครั้งนี้จะเป็นบันไดอีกขั้นหนึ่งที่จะช่วยไขปริศนาปัญหาพื้นฐานที่เกิดขึ้นในเอกภพ ขณะที่สาธารณชนและนักฟิสิกส์บางคนกลับกังวลว่าการทดลองนี้จะทำให้เกิดหลุมดำซึ่งจะกลืนทุกสิ่งทุกอย่าง หรือส่งผลต่อการเปลี่ยนขั้วแม่เหล็กโลก และอาจนำมาซึ่งความหายนะของโลกก็เป็นได้ ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน นักทฤษฎีฟิสิกส์ ที่ปรึกษาด้านวิชาการศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. ได้แสดงความคิดเห็นว่า โอกาสการเกิดหลุมดำจากการทดลองมีเพียง 1 ใน 50 ล้านเท่านั้น และหากเกิดหลุมดำจริงจะเป็นหลุมดำที่จะมีขนาดเล็กได้ถึงระดับพิโคเมตร หรือ 10-15 เมตรเท่านั้น (เล็กกว่าระดับนาโนเมตร คือ 10-9 เมตร) ทั้งนี้เพราะตามทฤษฎีการเกิดหลุมดำขนาดใหญ่ในเอกภพโดยทั่วไป เกิดจากการยุบตัวด้วยแรงโน้มถ่วงของดาวฤกษ์ กล่าวคือ โดยปกติดาวฤกษ์ในเอกภพจะอยู่ในสภาพสมดุล คือต้องมีแรงผลักออกซึ่งเกิดจากการปล่อยแสงสว่างหรือรังสีที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ และแรงดึงดูดที่เกิดจากแรงโน้มถ่วง ซึ่งเมื่อดาวฤกษ์ได้เผาผลาญพลังงานนิวเคลียร์ภายในตัวจนหมดจะทำให้ไม่มีแรงผลักออกเหลือเพียงแรงดึงเข้าสู่จุดศูนย์กลางจนเกิดการยุบตัวกลายเป็นหลุมดำ ขณะที่การทดลองของเซิร์นเป็นการชนกันของอนุภาคโปรตอนที่มีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดของดาวฤกษ์ ดังนั้นหากเกิดหลุมดำก็จะมีขนาดที่เล็กจิ๋ว อีกทั้งตามทฤษฎีของฮอร์กิ้ง (Hawking) นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ได้มีการคำนวณไว้ว่า หลุมดำขนาดจิ๋วที่เกิดขึ้นจะมีการระเหิดหรือการสลายตัวภายในเสี้ยววินาที (10-15 วินาที)เท่านั้น ด้วยเหตุนี้อันตรายที่จะเกิดขึ้นจากหลุมดำถือว่าน้อยมากจนไม่น่ากังวลและไม่มีผลกระทบใดๆให้เห็นเป็นรูปธรรม ที่สำคัญการทดลองทุกรูปแบบของนักฟิสิกส์ได้มีการคำนวณและประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายแล้ว ดังนั้นเมื่อเกิดสิ่งผิดปกติจึงหยุดการทดลองได้ทันที “ สิ่งสำคัญที่ควรสนใจคือหากเกิดหลุมดำขนาดจิ๋วจริง ทุกคนจะเห็นว่าหลุมดำรูปร่างเป็นอย่างไร อีกทั้งทฤษฎีของฮอร์กิ้งยังค้นพบว่าหลุมดำไม่ได้เป็นสีดำ เพราะในช่วงการสลายตัวจะมีการปล่อยรังสีฮอร์กิ้ง(Hawking radiation)ออกมา จึงเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากหากได้เห็น” ศ.ดร.สุทัศน์ กล่าวว่า เป้าหมายสำคัญของการศึกษาครั้งนี้นักฟิสิกส์ต้องการดูสิ่งที่เกิดขึ้นจากการใช้เครื่องเร่งอนุภาคที่มีขนาดใหญ่และมีพลังงานสูงที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยสร้างมา ซึ่งลักษณะของอุปกรณ์เป็นท่ออุโมงค์ที่มีเส้นรอบวงยาว 27 กิโลเมตร สำหรับในการทดลองเครื่องเร่งอนุภาคจะเร่งให้ลำอนุภาคสองลำมีความเร็วใกล้ความเร็วแสงและเคลื่อนที่สวนทางกันเป็นวงรอบมาชนกัน ก่อให้เกิดพลังงานสูงในระดับ 14 ล้านล้านอิเล็กตรอนโวลต์ ทั้งนี้นักฟิสิกส์หวังว่าพลังงานระดับนี้จะทำให้ “อนุภาคฮิกก์” (Higgs boson) ซึ่งเป็นอนุภาคที่เกิดจากการชนกันของโปรตอนหลุดออกมา อันจะเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่ทำให้ทฤษฎีแบบจำลองมาตรฐาน (Standard Model) มีความสมบูรณ์ เนื่องจากทฤษฎีได้ทำนายไว้ว่าอนุภาคฮิกก์นี้มีจริง นอกจากนี้การชนกันของอนุภาคที่มีพลังงานระดับสูงมาก ก็มีโอกาสทำให้ได้เห็นอนุภาคแปลกและใหม่ๆอีกหลายชนิดที่มนุษย์ไม่เคยพบมาก่อน และอาจเป็นการค้นพบครั้งสำคัญที่จะช่วยอธิบายทฤษฎีฟิสิกส์ที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มีความชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพราะสามารถตอบคำถามฟิสิกส์ที่ยังตอบไม่ได้หลายคำถาม เช่น ทำไมโปรตอนจึงต้องหนักกว่าอิเล็กตรอน 1,836 เท่า ทำไมจึงต้องมีอะตอมในธรรมชาติ หรือมวลของสสารมาจากไหน เป็นต้น อย่างไรก็ดีในมุมมองของวงการวิทยาศาสตร์แล้ว การทดลองของนักฟิสิกส์ที่เซิร์นในครั้งนี้จึงถือได้ว่าเป็นบันไดอีกขั้นหนึ่งที่ท้าทายของมนุษย์ เพื่อบุกเบิกขอบเขตแห่งความรู้ของมนุษย์ ข้อมูลจาก ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) |