ทำไมมดถึงต้องเดินแล้วเอาหนวดแตะกัน

ทำไมมดถึงต้องเดินแล้วเอาหนวดแตะกัน


ที่มดเดินแล้วเอาหนวดแตะกัน นั้นเป็นเพราะว่ามดต้องการสื่อสารกัน

มดสื่อสารกันได้อย่างไร??


   เป็นเวลากว่า 30 ปีมาแล้ว ที่นักกีฏวิทยาและนักมดวิทยาได้ศึกษาแมลงสังคมและมด และก็ได้ลงความเห็นว่ามดมีรูปแบบการสื่อสารระหว่างกันทั้งหมด 12 แบบด้วยกันได้แก่

   1. การเตือนภัย หรือบอกเหตุอันตราย
   2. การดึงดูดความสนใจทั่วไป
   3. การบอกตำแหน่งแหล่งอาหารและรัง
   4. การช่วยเหลือตัวอ่อนเวลาลอกคราบ
   5. การแลกเปลี่ยนหรือแบ่งปันอาหารเหลว
   6. การแลกเปลี่ยนอาหารที่เป็นของแข็ง
   7. อิทธิพลของกลุ่มที่มีทั้งการสนับสนุนและยับยั้งกิจกรรมที่ให้กระทำ
   8. การยอมรับวรรณะของมดร่วมรัง และแบ่งแยกมดพวกที่บาดเจ็บหรือตาย
   9. การกำหนดวรรณะโดยมดราชินี
   10. การควบคุมการแข่งขันการสืบพันธุ์ของกลุ่ม
   11. การกำหนดอาณาเขตของรังและตำแหน่งของรัง
   12. การสื่อสารเรื่องเพศ

   รูปแบบการสื่อสารเหล่านี้ก็โดยใช้ “สารเคมีในร่างกาย” (หรือที่เราเรียกว่า “ฟีโรโมน”) ที่มีกลิ่นแตกต่างกันไปเป็นหลัก โดยอวัยวะส่วนที่สัมผัสและรับรู้กลิ่นนี้ได้ดีก็คือ “หนวด” นั่นเอง มดจะใช้หนวดในการสื่อสารกัน เราคงคุ้นเคยที่เห็นมดเวลาเจอกัน จะใช้หนวดแตะกัน นั่นคือการสื่อสารกัน พฤติกรรมที่เราเห็นนั้นคือ มันกำลังถ่ายเทอาหารหรือของเหลวให้แก่กัน อาจเป็นตัวหนึ่งให้อีกตัวหนึ่งรับหรือการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน

   สารเคมีเปรียบเสมือนกลิ่นประจำตัวที่ทำให้มดสามารถแยกแยะตัวอื่นได้ว่า เป็นมดกลุ่มเดียวกันหรือมาจากต่างกลุ่มกัน กลิ่นของสารเคมียังช่วยให้มันแยกแยะวรรณะได้ คือทำให้มันรู้ว่าพี่น้องมันตัวไหนเป็นมดงาน ตัวไหนเป็นมดเพศผู้ ตัวไหนเป็นมดเพศเมีย หรือตัวไหนเป็นมดราชินี อีกทั้งยังรู้ด้วยว่าตัวอ่อนที่เป็นน้องของมันนั้นอยู่ในระยะไหนแล้ว เพราะถ้าใกล้ลอกคราบมันก็จะมาช่วยด้วย เพราะปกติในรังนั้นก็มืดอยู่แล้ว และการมองเห็นของมดก็ไม่ค่อยดี การสัมผัสโดยรับรู้จากกลิ่นทำให้เป็นการกำหนดพฤติกรรมของมันไปด้วยในตัว

   เมื่อมดออกนอกรัง โลกใบใหญ่อันกว้างขวางของมันนั้น มันรับรู้ได้โดยใช้สารเคมีนี้ช่วย ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจสิ่งรอบตัว หรือแหล่งอาหาร เมื่อมันพบแล้วมันก็ยังต้องพึ่งเส้นทางจากสารเคมีนั่นเองเพื่อใช้เป็นเส้น ทางกลับรังไปบอกพรรคพวกและเดินเส้นทางเดิมโดยไม่หลงทางเพื่อไปลากอาหารกลับ รัง เราอาจเรียกทางนี้ว่า “เส้นทางมด” ซึ่งก็เป็นเส้นทางของสารเคมีจากตัวมันนั่นเอง

   อีกทั้งเมื่อรังของมันถูกคุกคามจากศัตรูภายนอก ก็เป็นสารเคมีนี้อีกนั่นแหละที่มีบทบาท โดยมดราชินีจะเป็นผู้ส่งสัญญาณเตือนภัยออกไปเพื่อให้มดงานทั้งหลายมาปกป้อง เธอและไข่

   จะเห็นได้ว่า สารเคมีจากตัวมดนี้ มีบทบาทต่อวิถีชีวิตพวกมันมากทีเดียว

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์