เช็คความพร้อม กทม.สู้ศึกน้ำเข้ากรุง
สถานการณ์น้ำที่ขณะนี้ไหลมาจ่อเคาะประตูเข้ากรุงเทพฯ ประชิดติดชายแดนอยู่ตอนนี้ ซึ่งผู้บริหารกรุงเทพมหานคร (กทม.)
.
ก็ยอมรับว่ายังไม่ปลอดภัย แต่ก็ยังมั่นใจว่าจะคนกรุงจะไม่ผจญน้ำท่วมวิกฤตหนักเหมือนต่างจังหวัด เพราะยังมีวิธีบริหารจัดการน้ำ ซึ่งหากจะได้รับผลกระทบคงกรุงก็คงไม่ถึงขั้นอยู่ในบ้านไม่ได้ต้องกินนอนบนหลังคา มาดูว่าระบบป้องกันน้ำท่วม ที่กทม.ดำเนินการอยู่ในขณะนี้มีอะไรบ้าง
ระบบป้องกันน้ำเข้า
น้ำที่ไหลบ่ามาจากทางด้านเหนือของกรุงเทพมหานครที่สร้างความกังวลให้กับคนกรุงเทพฯขณะนี้ กทม. มีระบบป้องกันน้ำที่มาตามเส้นทางน้ำสายหลัก คือ แม่น้ำเจ้าพระยาและตามคลองต่าง ๆ เส้นทางหลัก คือแม่น้ำเจ้าพระยา กทม. มีการก่อสร้างแนวป้องกันที่เป็น เขื่อนหรือคันกั้นน้ำตลอดแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อยและคลองมหาสวัสดิ์ รวม 77 กิโลเมตร ซึ่งแล้วเสร็จไปแล้ว 75.7 กิโลเมตร เหลือที่ยังไม่แล้วเสร็จ 1.2 กิโลเมตร ซึ่งใช้กระสอบทรายกันในระดับเดียวกันแนวเขื่อน ป้องกันน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้ที่ระดับความสูง 2.50 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งยังต่ำกว่าเขื่อนที่สร้างไว้
นอกจากนี้การป้องกันน้ำเหนือที่ไหลบ่าจากด้านเหนือลงมายังที่ลุ่มต่ำฝั่งตะวันนออกยังมีคันกั้นน้ำฝั่งตะวันออก อันเนื่องมาจากพระราชดำริเดิมเป็นคันดินยกสูง 2 เมตร
ที่ป้องกันน้ำท่วมจากทุ่งฝั่งตะวันออกเข้าพื้นที่ชั้นในกรุงเทพฯ ปัจจุบันได้ปรับเป็นแนวถนน โดยเริ่มจากซอยแอนเนกซ์ เขตบางเขน ยาวไปทางด้านตะวันออกตามแนวถนนสายไหม และวิ่งลงด้านใต้ตาม แนวถนนหทัยราษฎร์ ถนนร่มเกล้า และถนนกิ่งแก้ว จนสุดเขตพื้นดินที่ตำบลตำหรุ จังหวัดสมุทรปราการ ระยะทาง 72 กิโลเมตร ป้องกันน้ำได้ที่ระดับ 2.00 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และกทม.ได้สร้างทำนบป้องกันตามแนวคลองแยก คลองหกวาสายล่าง คลอง แสนแสบ คลองนครเนื่องเขต คลองหลวงแพ่ง โดยในแนวคลองหกวาสายล่าง พื้นที่เขตสายไหม ที่เป็นชายขอบของกรุงเทพฯขณะนี้ได้เสริมแนวกระสอบทราย ให้สูงขึ้นอีก เพื่อให้ป้องกัน ระดับน้ำได้ที่ 3 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตลอดระยะทาง 6 กิโลเมตร พร้อมทั้งยกระดับถนนริมคลองสอง ซึ่งเป็นคลองตัดเชื่อมจากคลองระพีพัฒน์ ที่จะมีปริมาณน้ำจากที่คันกั้นริมคลองแตกหลายจุด ไหลลงมามากขึ้น กทม.ก็ได้ยกระดับถนนให้สูงขึ้นกว่าเดิมอีก 30 เซนติเมตร ป้องกันน้ำได้ที่ระดับ 2.5 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
ที่ป้องกันน้ำท่วมจากทุ่งฝั่งตะวันออกเข้าพื้นที่ชั้นในกรุงเทพฯ ปัจจุบันได้ปรับเป็นแนวถนน โดยเริ่มจากซอยแอนเนกซ์ เขตบางเขน ยาวไปทางด้านตะวันออกตามแนวถนนสายไหม และวิ่งลงด้านใต้ตาม แนวถนนหทัยราษฎร์ ถนนร่มเกล้า และถนนกิ่งแก้ว จนสุดเขตพื้นดินที่ตำบลตำหรุ จังหวัดสมุทรปราการ ระยะทาง 72 กิโลเมตร ป้องกันน้ำได้ที่ระดับ 2.00 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และกทม.ได้สร้างทำนบป้องกันตามแนวคลองแยก คลองหกวาสายล่าง คลอง แสนแสบ คลองนครเนื่องเขต คลองหลวงแพ่ง โดยในแนวคลองหกวาสายล่าง พื้นที่เขตสายไหม ที่เป็นชายขอบของกรุงเทพฯขณะนี้ได้เสริมแนวกระสอบทราย ให้สูงขึ้นอีก เพื่อให้ป้องกัน ระดับน้ำได้ที่ 3 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตลอดระยะทาง 6 กิโลเมตร พร้อมทั้งยกระดับถนนริมคลองสอง ซึ่งเป็นคลองตัดเชื่อมจากคลองระพีพัฒน์ ที่จะมีปริมาณน้ำจากที่คันกั้นริมคลองแตกหลายจุด ไหลลงมามากขึ้น กทม.ก็ได้ยกระดับถนนให้สูงขึ้นกว่าเดิมอีก 30 เซนติเมตร ป้องกันน้ำได้ที่ระดับ 2.5 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
การพักน้ำชั่วคราว
การพักน้ำชั่วคราว กทม.มีพื้นที่แก้มลิง เป็นที่เก็บกักน้ำไว้ชั่วคราวเพื่อรอให้ระดับน้ำในทางระบายน้ำลดแล้วจึงค่อยระบายน้ำจากแก้มลิง ออกไปภายนอก ซึ่งการทำให้แก้มลิงมีประสิทธิภาพ คือการขุดลอก คูคลองต่าง ๆ ซึ่งกทม.มีคลองประมาณ 1,165 คลอง ความยาวรวม 2,284 กิโลเมตร เป็นคลองหลักเพื่อการระบายน้ำ ประมาณ 912 กิโลเมตร ซึ่งนอกจากการขุดลอกประจำปีแล้ว ยังต้องดูแลวัชพืชและขยะที่เป็นอุปสรรคในการระบายน้ำ รวมทั้งยังมีพื้นที่แก้มลิง 21 แห่ง เช่น บึงหนองบอน บึงมักกะสัน บึงพระราม9 บึงพิบูลวัฒนา บึงลำพังพวย บึงทรงกระเทียม บึงตากุ่ม บึงปูนซีเมนต์ไทย บึงสวนสยาม บึงเอกมัย สามารถเก็บกักน้ำได้รวม 12 ล้านลูกบาศ์กเมตร โดยแก้มลิงแห่งล่าสุดคือ โครงการแก้มลิง คลองมหาชัย-คลองสนามชัย ซึ่งกทม.ร่วมกับกรมชลประทานดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อกลางปีที่ผ่านมา สามารถเก็บน้ำได้ถึง 6 ล้านลูกบาศ์กเมตร ทั้งนื้พื้นที่แก้มลิง จะช่วยลดปริมาณเครื่องสูบน้ำและขนาดทางระบายน้ำได้ เช่น ในพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร ในกรณีที่ฝนตกหนักประมาณ 100 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง หากมีแก้มลิงเก็บกักน้ำความจุด 100,000 ลูกบาศ์กเมตร สามารถใช้เครื่องสูบน้ำขนาดเล็ก 1–5 ลูกบาศ์กเมตรต่อวินาที แทนที่จะต้องใช้เครื่องสูบน้ำใหญ่ถึง 30 ลูกบาศ์กเมตรต่อวินาที และการเก็บน้ำเพื่อชะลอการไหลของน้ำนั้น ทำให้เครื่องสูบขนาดเล็กมีเวลาพอที่จะสูบน้ำออกจากพื้นที่โดยน้ำไม่เอ่อท่วมขัง
ระบบการระบายน้ำออก
กทม. มี ระบบระบายน้ำ ที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ผ่านระบบท่อ คลองและอุโมงค์ โดยอุโมงค์ ระบายน้ำ ขณะนี้มี 7 แห่ง เช่น อุโมงค์ระบายน้ำซอยสุขุมวิท 26 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร ระบบผันน้ำคลองเปรมประชากร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.4 เมตร อุโมงค์ระบายน้ำสุขุมวิท 36 เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 เมตร อุโมงค์ระบายน้ำ สุขุมวิท 42 เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 เมตร อุโมงค์ระบายน้ำบึงมักกะสัน เส้นผ่าศูนย์กลาง 4.6 เมตร เป็นต้น ซึ่งเป็นอุโมงค์ขนา ด เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-3 เมตร ซึ่งอุโมงค์พระราม 9 –รามคำแหง เป็นอุโมงค์ล่าสุดที่เปิดเดินเครื่อง เมื่อปี 53 และมีขนาดใหญ่สุด คือเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เมตรความยาว 5.1 กิโลเมตร ระบบท่อระบายน้ำ ในพื้นที่กรุงเทพฯมีระยะทางรวม 6,138 กิโลเมตรเชื่อมโยงเป็นโครงข่าย เป็นเส้นทางลำเลียงน้ำออกจากพื้นที่ พร้อมทั้งมีสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ ในพื้นที่ฝั่งพระนคร 102 แห่ง ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 420 เครื่อง กำลังสูบ 1,057 ลูกบาศ์กเมตรต่อวินาที ฝั่งธนบุรี มีสถานีสูบ 48 แห่ง เครื่องสูบน้ำ 265 เครื่อง กำลังสูบ 474 ลูกบาศ์กเมตรต่อวินาที
นอกจากนี้ในพื้นที่ชั้นในซึ่งเป็นศูนย์กลางเมือง กทม.ยังมีระบบพื้นที่ปิดล้อมย่อย ในการบริหารจัดการการระบายน้ำ ใช้คันกั้นน้ำ แนวคลอง และะแนวป้องกันน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา บล็อกพื้นที่เป็นส่วน ๆ เพื่อควบคุมน้ำในพื้นที่ป้องกันน้ำจากภายนอกและใช้เครื่องมือ ทั้งประตูระบายน้ำ สถานีสูบน้ำ เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ ซึ่งทั่วกรุงเทพฯมี ทั้งหมด 18 แห่ง ที่ใช้ระบบพื้นที่ปิดล้อมย่อย คิดเป็นพื้นที่ 168.06 ตารางกิโลเมตร เช่น พื้นที่ปิดล้อมหมู่บ้านเมืองทองธานี พื้นที่ปิดล้อมถนนรัชดาภิเษก พื้นที่ปิดล้อมบางกะปิ พื้นที่ปิดล้อมรามคำแหง พื้นที่ปิดล้อมปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร มีระบบป้องกันปัญหาน้ำท่วมที่ซับซ้อนมากกว่าในต่างจังหวัด ซึ่งคงเห็นว่าระบบบริหารจัดการ น้ำแตกต่างจากกต่างจังหวัด แน่นอนว่า แม้จะมีระบบมากแต่ก็ยังมีน้ำท่วมขังอยู่ในบางพื้นที่บางจุดแต่ก็ระบายไปได้ภายในเวลาที่ควบคุม...ระบบต่าง ๆ มากขนาดนี้ ก็ไม่รู้ จะต้านทานมหัตภัยน้ำได้แค่ไหน