หลายจังหวัดในภาคกลางและอาจจะกรุงเทพมหานคร กำลังอยู่ในภาวะสำลักน้ำที่ท่วมเรื้อรังมานานเกือบเดือนแล้วแน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของผู้ที่ประสบภัยทั้งร่างกายและจิตใจโรงพยาบาลสมิติเวชห่วงใย
และอยากให้คนไทยทุกคนเตรียมพร้อมรับมือและป้องกันตัวเองจากวิกฤตการณ์น้ำท่วม ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบมากที่สุดในตอนนี้ นำความรู้เรื่องการดูแลป้องกันสุขภาพทั้งกายและจิตใจมาฝาก เพราะอาจจะทำให้มีความเครียดขึ้นมาจากสาเหตุต่างๆ เช่น ทรัพย์สินเสียหาย การเจ็บป่วยการสูญเสียคนในครอบครัว ซึ่งความเครียดที่เกิดขึ้นนี้อาจมีผลต่อสุขภาพของเราได้หากเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวและไม่ได้จัดการอย่างถูกวิธี
ถ้ารับมืออย่างถูกวิธีจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินกลับมาได้ อย่าลืมว่า คุณไม่ได้โดดเดี่ยว การพูดคุยแบ่งปันวิธีการจัดการกับความคิด และอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับคนอื่นๆจะสามารถช่วยคุณได้ ยังมีกำลังใจและคนที่พร้อมจะส่งความช่วยเหลือไปให้คุณอยู่ตลอด อย่าเพิกเฉยต่อความเครียดที่เกิดขึ้นและสามารถร้องขอความช่วยเหลือจากคนใกล้ชิดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เสมอ
การตอบสนองที่พบได้เป็นปกติในเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ ขั้นแรกในการจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกที่เป็นผลตามมาจากภัยธรรมชาติ คือการรู้จักว่าการตอบสนองแบบไหน ระดับไหน ที่เกิดขึ้นได้ในคนทั่วไปเมื่อมีสถานการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ความวิตกกังวลเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา แต่ถ้ามันมากเกินไปอาจบอกถึงความผิดปกติที่ควรจัดการแก้ไขเช่นกัน ความเครียดที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเกิดเพียงชั่วคราวและหายไปเองเมื่อเวลาผ่านไป การย้ำคิดถึงเหตุการณ์อุทกภัยหรือพายุที่เกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว อาจจะเกิดขึ้นได้ในหลายๆ คน ความคิดเหล่านี้ถ้ามีมากเกินไปหรือนานเกินไปบ่งบอกว่าคุณควรจะพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับความช่วยเหลือ
การดูว่าความเครียดที่เคยเกิดขึ้นในอดีตได้รับการแก้ไขจัดการด้วยวิธีใด แต่แน่นอนว่าคุณควรจะเลือกวิธีการที่สร้างสรรค์ในการจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นเตรียมพร้อมรับมืออารมณ์ที่จะเกิดขึ้น เมื่ออยู่ในภาวะอุทกภัยที่ทำให้บ้านเรือนทรัพย์สินเสียหายอย่างที่ไม่คาดคิดมาก่อนการแสดงออกทางอารมณ์ที่อาจจะพบได้ อย่างเช่น...
- มีอาการฝันร้าย หรือฝันซ้ำๆ เกี่ยวกับเรื่องน้ำท่วม
-ไม่สามารถมีสมาธิ หรือจดจำสิ่งต่างๆ-รู้สึกเฉยชา เบื่อ เหนื่อย แยกตัวออกจากสังคม หรือคนรอบข้าง
-มีอารมณ์ฉุนเฉียว โกรธ แสดงออกอย่างรุนแรง
-มีอาการไม่สบายทางกาย เช่น ปวดหัว อาหารไม่ย่อย ปวดเมื่อยตามตัว
-มีลักษณะที่แสดงออกถึงการระวังความปลอดภัยของคนในครอบครัวอย่างเกินเลย
-หลีกเลี่ยงที่จะจดจำเรื่องน้ำท่วม-ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ
เทคนิคจัดการกับความเครียด
-จำกัดการได้รับข่าวสารที่เกี่ยวกับอุทกภัย หรือภัยธรรมชาติต่างๆ แต่พอควร
-รับข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ไม่เชื่อข่าวลือ
-เรียนรู้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและความปลอดภัย
-พยายามกลับไปใช้ชีวิตปกติให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็ก
-ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอ
-หากิจกรรมทำเพื่อไม่ปล่อยให้มีเวลาว่างมากเกินไป
-พยายามติดต่อสื่อสารกับเพื่อนครอบครัว หรือผู้ที่คอยให้ความช่วยเหลือ
-อาศัยหลักศาสนาเข้ามาช่วย-พยายามสร้างอารมณ์ขันอยู่เรื่อยๆ-แสดงความคิดของตัวเองออกมา ไม่ว่าจะเป็นทางการพูดคุย การเขียน หรือการวาดรูป
-พูดคุยและแบ่งปันความรู้สึกของตัวเองกับคนอื่นๆ
โรคกลุ่มเสี่ยงภาวะน้ำท่วม
-โรคติดต่อเนื่องจากน้ำไม่สะอาดได้แก่ ไทฟอยด์ อหิวาต์ โรคฉี่หนู และไวรัสตับอักเสบเอ
-โรคติดต่อเนื่องจากมีแมลงเป็นพาหะได้แก่ ไข้มาลาเรีย ไข้เลือดออก
-รวมถึงอุบัติเหตุและการบาดเจ็บต่างๆ เช่น การจมน้ำ
โรคติดต่อจากน้ำไม่สะอาด
เพราะภาวะน้ำท่วมจะสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น ยิ่งถ้าเกิดขึ้นในชุมชนใหญ่ หรือขาดแคลนน้ำสะอาด เนื่องจากน้ำดื่มที่ไม่สะอาดและติดเชื้อ น้ำที่ไม่สะอาดอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ไม่ว่าจะเป็นผิวหนังอักเสบ แผลติดเชื้อ ตาอักเสบ หรือการติดเชื้อทางเดินอาหาร ซึ่งเชื้อโรคที่สามารถติดต่อทางน้ำ ได้แก่
1.เชื้อไวรัส เช่น เชื้อไวรัสตับอักเสบ เอหรือเชื้อโปลิโอ
2.เชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้ออหิวาต์ไทฟอยด์ เชื้อที่ทำให้มีอาการท้องเสีย
3.เชื้อโปรโตซัว
ป้องกันโรคติดเชื้อที่มาจากน้ำ
ส่วนใหญ่แล้วโรคกลุ่มนี้จะมาจาการปนเปื้อนของอาหารและน้ำ ดังนั้นการป้องกันคือการพยายามดื่มน้ำที่สะอาด และต้องพยายามดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ ใช้น้ำที่ต้มสุก หรือผ่านคลอรีน ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาด ทำความสะอาดอาหารและปรุงอาหารให้สุกทุกครั้ง ถ้ามีอาการท้องเสียขาดน้ำ ควรดื่มน้ำเกลือแร่เสริม หากมีอาการไข้ หรืออาการผิดปกติควรพบแพทย์ แต่สามารถใช้ยาลดไข้บรรเทาอาการได้