ปวดส้นเท้า เอาไงดี?

ปวดส้นเท้า เอาไงดี?


ท่านผู้อ่านหลายๆท่านอาจจะกำลังประสบปัญหาเดียวกัน นั่นก็คือปวดส้นเท้าไม่ทราบสาเหตุ ปวดแบบเรื้อรังมานานรบกวนการยืน เดิน ในชีวิตประจำวัน วันนี้ ไคโรเมด คลินิก มีวิธีการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่มีอาการปวดส้นเท้าอย่างง่ายๆ มาฝากท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ


อาการปวดส้นเท้าเกิดจากอะไร?

ก่อนที่จะทราบวิธีการรักษาเบื้องต้น เราควรรู้ถึงสาเหตุหลักๆของอาการปวดส้นเท้ากันก่อน สาเหตุของอาการปวดส้นเท้าเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การเสื่อมสภาพของพังผืดตามการใช้งาน การเดินและรับน้ำหนักมากเกินไป หรือการมีกระดูกงอกบริเวณส้นเท้า แต่สาเหตุของอาการปวดส้นเท้าที่พบได้บ่อย ได้แก่ เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ (Plantar fasciitis) หรือที่เรียกภาษาชาวบ้านว่า "โรครองช้ำ" นั่นเอง ซึ่งอาการดังกล่าวพบได้บ่อย ในผู้หญิงวัยกลางคน ผู้ที่อ้วน หรือ มีรูปเท้าผิดปกติ เช่น เท้าแบน เท้าบิด ส่วนสาเหตุของการเกิดโรคที่แท้จริงยังไม่ทราบ แต่เชื่อว่าเป็นเพราะความเสื่อมในจุดที่เส้นเอ็นฝ่าเท้าเกาะกับกระดูกเส้น เอ็นฝ่าเท้าจะเกาะอยู่ระหว่างส้นเท้ากับนิ้วเท้า เมื่อเส้นเอ็นหรือกระดูกบริเวณส้นเท้า ได้รับแรงที่มากเกินไป เช่น การยืนหรือเดินนาน ๆ น้ำหนักตัวมาก อุบัติเหตุ หรือ ใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น ทำให้เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบได้ ลักษณะของอาการปวดที่พบได้บ่อย คือ หลังจากนอนหรือนั่งพักเป็นเวลานานๆ แล้วลุกขึ้นเริ่มเดินลงน้ำหนักในช่วงแรก ๆ จะรู้สึกปวดมาก แปล๊บๆที่ส้นเท้า แต่หลังจากที่เดินไปได้สักพัก อาการปวดก็จะทุเลาลง


อาการปวดส้นเท้ารักษาอย่างไรให้หายขาด?

ผู้ป่วยเส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบส่วนใหญ่อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นโดยไม่ต้องผ่าตัด แต่อาจจะต้องใช้เวลารักษานานหลายเดือน หรืออาจจะเร่งกระบวนการในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ โดยใช้วิธีการทำกายภาพบำบัด และการรักษาทางการแพทย์โดยการทานยาลดปวดลดอักเสบ ส่วนวิธีการผ่าตัดนั้นไม่ค่อยเป็นที่นิยมนำมาใช้ในการรักษา แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือวิธีการดูแลตัวเอง ดังนี้

1.  ลดกิจกรรมที่ทำให้ปวด หรือ กิจกรรมที่ต้องลงน้ำหนัก เช่น การยืนหรือ เดินนาน ๆ เป็นต้น และควรออกกำลังที่ไม่ต้องมีการลงน้ำหนัก เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เป็นต้น

2. บริหารเพื่อยืดกล้ามเนื้อน่อง และ เส้นเอ็นฝ่าเท้า เป็นประจำ

3. นวดฝ่าเท้าเบาๆเพิ่อเป็นการผ่อนคลาย หรือ ใช้ผ้าพันที่ฝ่าเท้าและส้นเท้าเพื่อลดการบาดเจ็บต่อเอ็นฝ่าเท้า

4. ใส่รองเท้าที่มีขนาดพอดีไม่หลวมหรือคับจนเกินไป สำหรับผู้ที่เท้าแบนควรเสริมพื้นรองเท้าด้วยแผ่นรอง เพื่อรับอุ้งเท้าให้นูนขึ้น อาจใช้แผ่นนุ่ม ๆ รองอีกทีที่ส้นเท้าเพื่อลดอาการปวดจากแรงกดเวลาลงน้ำหนัก หลีกเลี่ยงการเดินด้วยเท้าเปล่า

5.  ประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำอุ่น อาจใช้น้ำแข็งทุบใส่ในถุงพลาสติกแล้วห่อด้วยผ้าขนหนู หรือ ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น ประคบบริเวณที่ปวดประมาณ 10 - 15 นาที หรือ ประคบด้วยความร้อน 4 นาที สลับกับความเย็น 1 นาที หรือใช้ครีมนวดแก้ปวด ก็ได้แต่ต้องระวังอย่านวดแรงเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อฟกช้ำมากขึ้นไป ถ้าปวดมากอาจรับประทานหรือทายาแก้ปวด

6. ลดน้ำหนัก เพื่อลดแรงกดเมื่อเดินลงน้ำหนัก


ถ้าดูแลตัวเองได้ดีเช่นนี้ รับรองอาการปวดส้นเท้าของท่านจะต้องลดลงอย่างแน่นอนค่ะ!!!





ที่มา chiromedbangkok

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์