ดื่มสุราเมื่อเดือนที่แล้วก็ยังตรวจพบ!!

ดื่มสุราเมื่อเดือนที่แล้วก็ยังตรวจพบ!!


 ใครที่ดื่มแอลกฮอล์แล้วมาโกหกกันว่าไม่ได้ดื่มมีสิทธิ์ถูกจับได้ชนิดไม่มีทางปฏิเสธแล้ว เพราะกำลังจะมีการทดสอบในห้องปฏิบัติการแบบใหม่ที่ตรวจได้แม้กระทั่งดื่มสุรามานานถึง 1 เดือนก็ตาม

โดยธรรมชาติแล้ว แอลกฮอล์ถูกทำลายและขับถ่ายจากร่างกายค่อนข้างเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าดื่มในปริมาณทั่วๆ ไปในสังคม เช่น การสังสรรค์ แอลกอฮอล์จะหมดจากร่างกายโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง พอหลังจากนี้การจะตรวจว่าใครดื่มไปแล้วบ้าง ทำไม่ได้ง่ายๆ นอกจากจะตรวจทางอ้อม อย่างเช่น การตรวจหาเอนไซม์บางตัวของตับ แต่วิธีนี้ไม่ชี้ชัด เพราะไม่เจาะจงลง มีหลายภาวะที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเอนไซม์ดังกล่าวได้ ไม่ว่าจะเป็นสารพิษ(toxin) การตั้งครรภ์ ฯลฯ สามารถทำให้ค่าที่ได้ผิดปกติได้ทั้งสิ้น. มาถึงปัจจุบัน นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัย Basel ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้คิดค้นการตรวจสารจำเพาะบางตัวที่เกิดขึ้นขณะแอลกฮอล์ถูกทำลาย อย่างเช่น ethyl glucoronide (EtG) สารตัวนี้จะเริ่มสะสมในเลือดเมื่อระดับแอลกอฮอล์ในเลือดเริ่มลด และสาร EtG ตัวนี้จะคงอยู่ให้ตรวจพบในปัสสาวะได้นานถึง 5 วัน ดังนั้นเราสามารถตรวจได้ว่า ใครคนนั้นมีแอลกอฮอล์อยู่ในร่างกายหรือไม่ขณะเกิดเหตุเมื่อ 2- 3วันก่อนได้

สารอื่นอีกตัวหนึ่งที่ช่วยในกรณีนี้คือ phosphatidyl ethanol( Peth) สารตัวนี้ สามารถอยู่ให้ตรวจได้เป็นเวลานานถึง 3 สัปดาห์ แต่มีข้อแม้ว่า คนๆ นั้นต้องดื่มแอลกอฮอล์เท่ากับปริมาณเบียร์ 3 ขวดต่อวันเป็นอย่างน้อย. ข้อดีของการตรวจสารนี้ นอกจากเรื่องเวลาที่มีโอกาสให้ตรวจได้ยาวนานแล้วก็คือ ไม่พบว่ามีผลลบลวง.

นอกเหนือจากนี้ การตรวจหาระดับกรดไขมัน fatty acid ethyl esters ( FAEEs) ในเส้นผม ก็สามารถบอกได้ว่าคนๆ นั้นดื่มแอลกอฮอล์ เพราะสารเหล่านี้จะฝังตัวอยู่ในเส้นผมหลังดื่ม 12-16 ชั่วโมง ทำให้สามารถตรวจหาหลักฐานการดื่มแอลกฮอล์ได้นานนับเดือนเลยที่เดียว.นอกจากนี้มันยังช่วยแยกผู้ดื่มแต่น้อยกับผู้ที่ดื่มหนักๆได้เป็นอย่างดีด้วย.

เราจะมีการตรวจหาหลักฐานยืนยันการดื่มแอลกอฮอล์ แม้ว่าจะดื่มมานานถึงเดือนได้แล้ว การตรวจเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากกับวงการนิติเวชและผู้เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างเช่น สามารถบอกได้ว่าในกรณีเกิดอุบัติเหตุแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุหรือไม่. นอกจากนี้การตรวจยังช่วยบ่งบอกนิสัยการดื่มได้ด้วย

ดังนั้น ใครที่มาสมัครเป็นพนักงานบริษัทจะปกปิดนิสัยการดื่มไม่ได้แล้ว.




ขอบคุณ : วารสารคลินิก และ กรมสุขภาพจิต

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์