การท้าความสะอาด จัดเก็บบ้านและข้าวของเครื่องใช้ภายหลังน้ำท่วม อาจท้าให้เกิดอุบัติเหตุและบาดแผลได้ หากดูแลบาดแผลไม่ดี อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลเป็นหนองจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
หากเป็นแผลเรื้อรัง เนื้อเยื่อเกิดการเน่า ท้าให้อาจต้องตัดอวัยวะส่วนนั้นทิ้งไป หรือเสียชีวิตได้ และหากมีเชื้อโรคบาดทะยักเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล อาจท้าให้เสียชีวิตได้เช่นกัน ดังนั้น จึงควรได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นเพื่อป้องกันเชื้อโรคบาดทะยักทุก 10 ปี ต้องระลึกเสมอว่า ไม่ว่าแผลเล็กหรือแผลใหญ่ หากปนเปื้อนสิ่งสกปรก เชื้อโรค อาจเป็นบาดทะยักได้ ให้ขอค้าแนะน้าจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เรื่องวัคซีนบาดทะยักด้วย
การปฏิบัติเมื่อเกิดบาดแผล
แผลข่วน แผลถลอก หรือแผลแยกของผิวหนังที่ไม่ลึก จะมีเลือดออกเล็กน้อยและหยุดเองได้ แผลพวกนี้ไม่ค่อยมีอันตราย ให้ท้าความสะอาดบาดแผล โดยใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน ไม่จ้าเป็นต้องปิดแผล แผลจะหายเอง
แผลฉีกขาด เป็นแผลที่เกิดจากแรงกระแทก หากเป็นวัสดุที่ไม่มีคม แผลมักฉีกขาดขอบกระรุ่งกระริ่ง แผลชนิดนี้เนื้อเยื่อถูกท้าลายและมีโอกาสติดเชื้อมาก ควรท้าความสะอาดบาดแผลให้สะอาด ถ้าบาดแผลลึกมากควรน้าส่งโรงพยาบาล เพราะผู้ป่วยอาจได้รับอันตรายจากการติดเชื้อโรคได้
การท้าความสะอาดบาดแผล
ล้างมือให้สะอาดก่อนท้าแผล เพื่อช่วยลดจ้านวนเชื้อโรคที่มือ
ล้างบาดแผลด้วยน้ำสะอาด ซับให้แห้งด้วยผ้าสะอาด
ใช้ส้าลีสะอาดชุบน้ำยาแอลกอฮอล์เช็ดรอบๆ แผลโดยเช็ดจากข้างในวนมาข้างนอกทางเดียว ไม่ต้องเช็ดลงบนแผล
ใส่ยาฆ่าเชื้อโรค เช่น เบตาดีน ลงบนแผล เพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อ
ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ หรือผ้ากอซ ไม่ใช้ส้าลีปิดแผล เพราะเมื่อแผลแห้งแล้วจะติดกับส้าลี ท้าให้ดึงออกยาก เกิดความเจ็บปวดและอาจท้าให้เลือดไหลได้อีก
ทำความสะอาดแผลเป็นประจ้าทุกวัน
หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลสกปรก หรือเปียกน้ำ เพราะอาจท้าให้แผลเกิดการอักเสบ เป็นหนอง หรือหายช้า
สังเกตอาการอักเสบของบาดแผล เช่น บวม แดง ร้อน สีผิวของบาดแผลเปลี่ยนไป มีหนอง ควรรีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อรักษาต่อไป
ปรึกษาเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อประเมินว่า จ้าเป็นต้องรับวัคซีนป้องกันบาดทะยักหรือไม่
ดูแลอย่างไร ให้บาดแผลหายเร็ว
ขอบคุณ : หนังสือ ภัยสุขภาพ :ป้องกันอย่างไรในภาวะน้ำลด โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!