กรณีจากรายการไทยแลนด์ ก็อต ทาเลนท์ในการแสดงใช้หน้าอกวาดรูปที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆนานา ทั้งเห็นว่าไม่เหมาะสมและนี้ไม่ใช่การแสดงงานศิลปะแต่เป็นอนาจาร โดยอีกฝ่ายมีความเห็นแย้งว่านี้คือการแสดงที่เป็นศิลปะ ทำให้หลายคนตั้งคำถามว่าศิลปะและอนาจารต่างกันตรงไหน ทำไมงานบางงานเราถึงเรียกว่าศิลปะหรือบางงานเรียกว่าอนาจาร
ศิลปะไม่ใช่เพียงความสวยงามเท่านั้นมันรวมไปถึงการตีความ เป็นการสื่อสารผ่านผลงานศิลปะจากศิลปิน การชมงานศิลปะบางครั้งจึงต้องใช้ประสบการณ์ในการตีความเพื่อให้เข้าใจผลงานชิ้นนั้นเช่นเดียวกันเจตนาของศิลปินก็เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารออกมา
สำหรับคำวิจารณ์ของศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ กล่าวว่า สังคมไทยยังยอมรับบอดีเพนต์ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องใหม่แต่สำหรับต่างประเทศเป็นศิลปะที่เกิดขึ้นมานานแล้วซึ่งตนเห็นว่า การที่ผู้หญิงคนนี้ออกมานำเสนอตัวเองไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดและไม่อุจาด แต่การนำเสนอเนื้อหาของภาพออกมาไม่สวยงาม ไม่น่าสนใจ ใครๆก็ทำได้
แต่ข้อดีอย่างหนึ่งที่สังคมวิพากษ์วิจารณ์ถึงเรื่องดังกล่าวเป็นการจุดประกายให้คนไทยรู้ว่าศิลปะไม่ได้มีแค่เพียงวาดเส้นวาดภาพด้วยมืออย่างเดียวต้องปรากฏคุณค่าของความงามในภาพศิลปะ
ในขณะเดียวกันตนก็มองว่า ผู้หญิงคนนี้เลียนแบบแต่เปลือกของศิลปะต่างชาติ ที่ไม่ได้รู้ถึงแก่นแท้ตามแบบที่มีเน้นโชว์เพียงเรือนร่างเท่านั้น โดยไม่ได้นำเสนอภาพรวมของผลงานที่ต้องคำนึงถึงการผสมผสานของสี เส้น น้ำหนัก พื้นผิวของภาพ
อย่างไรก็ตามในบริบทของคนไทย มองว่า บอดีเพนต์เป็นเรื่องไม่เหมาะสม เพราะมีการมองเพียงแค่นมและอวัยวะเพศเท่านั้น
"ประชาชาติออนไลน์" จึงได้นำผลงานที่ใช้อวัยวะในการทำงานศิลปะมาให้ชมกัน