ร่มแผ่นดิน ...80 พรรษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์

ร่มแผ่นดิน ...80 พรรษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์

*** เนื้อหาอาจจะยาวสักนิด แต่ยังเทียบไม่ได้เลยกับพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจทีองค์่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีให้ต่อปวงชนชาวไทย ค่อยๆ อ่าน ค่อยๆ ซึมซาบไปเรื่อยๆ ที่ละนิดกับความเหน็ดเหนื่อยของกษัตริย์พระองค์หนึ่้ง ที่ได้ชื่อว่า เป็นพระมหากษัตริยื์ที่ทรงงานหนักที่สุดในโลก "ร่มแผ่นดิน"

เฉลิมพระชนมพรรษา ..... ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ข้อมูลจาก ..... เจ้านายเล็กๆ - ยุวกษัตรย์
บทพระนิพนธ์ ..... สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณีวัฒนาฯ
ภาพจาก ..... ปฏิทินปี พุทธศักราช ๒๕๔๒ ของ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.)

ร่มแผ่นดิน

นับแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๗๐ ..... เจ้านายพระองค์น้อยเจริญชนม์เป็นกษัตริย์ผู้ทรงดำรงอยู่ในทศพิธราชธรรมทรงอุทิศพระองค์ บำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการน้อยใหญ่ครบถ้วนสมบูรณ์ ด้วยพระวิริยะอุตสาหะ และ พระปรีชาญาณอันสูงส่ง ยังให้พสกนิกรภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารต่างอยู่เย็นเป็นสุข จวบจนทุกวันนี้ และ เมื่อกาลเวลานับเนื่องมาจนถึงวโรกาสอันเป็นอภิลักขิตมหามงคลสมัย ที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๗๖ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๖ นี้

เว็บไซต์น้ำตาล และ เพื่อนๆ ..... ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ร่วมเทิดพระเกียรติในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ด้วยการบันทึกและรำลึกภาพเหตุการณ์ พระราชประวัติ และ พระจริยาวัตรอันงดงาม ตั้งแต่พระชนมายุ ๑ ชันษา จวบจนถึงปัจจุบัน

ด้วยความปลาบปลื้มซาบซึ้ง ..... และ ภาคภูมิใจอย่างสูงสุด ที่ได้เกิดเป็นข้าแผ่นดินอยู่ใต้ "ร่มแผ่นดิน" ร่มพระบรมโพธิสมภาร และ ด้วยพลังแห่งความจงรักภักดี และ ความกตัญญูกตเวทีต่อองค์ในหลวง และ แผ่นดินแห่งมาตุภูมิ เว็บไซต์น้ำตาล และ เพื่อนๆ ขอยืนยันในปณิธานที่จะมุ่งมั่นกระทำความดี พร้อมเชิญชวนเพื่อนๆ ร่วมใจร่วมพลังร่วมสร้างแผ่นดินนี้ ให้ผาสุกร่มเย็น ดังเช่นในหลวงทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ทุกประการ

วันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๐ .....
เด็กชายคนหนึ่งถือกำเนิดขึ้น ต่อมาโลกได้จารึกพระนามของพระองค์ไว้
ในฐานะพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่รักของปวงชนชาวไทย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาล เมานท์ออเบอร์น เป็นเคมบริดจ์ รัฐแมสสาชูเชตต์ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีเถาะ นพศกจุลศักราช ๑๒๘๙ ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๐

มีพระนามเดิมว่า ..... พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี และ สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นาง เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประสูติเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคมพุทธศักราช ๒๔๖๖ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลแบร์ก ประเทศเยอรมนี

เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๑ ..... ได้โดยเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนก ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา กลับประเทศไทย ประทับ ณ วังสระปทุม ต่อมาในวันที่ ๑๔ กันยายนพุทธศักราช ๒๔๗๒ สมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคต ขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงเจริญพระชนมายุได้ไม่ถึงสองพรรษา และเมื่อมีพระชนมายุได้ ๕ พรรษา ได้ทรงเข้ารับการศึกษาชั้นต้น ณ โรงเรียนมาแตร์ เดอี กรุงเทพมหานครฯ

จนถึงพุทธศักราช ๒๔๗๖ ..... จึงเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี พระเชษฐภคินี และสมเด็จ พระบรมเชษฐาธิราช เพื่อทรงศึกษาต่อในชั้นประถมศึกษาในโรงเรียน Miremont ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาอังกฤษ จากนั้น ทรงเข้าศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียน Ecole Nouvelle de la Suisse Romande, Chailly-sur Lausanne เมื่อทรงรับ ประกาศนียบัตร Bachelier es Letters จาก Gymnase Classique Cantonal แห่งเมืองโลซานน์แล้ว ทรงเข้า ศึกษาในมหาวิทยาลัยโลซานน์ โดยทรงเลือกศึกษาในแขนงวิชาวิทยาศาสตร์

พุทธศักราช ๒๔๗๗ .....
รัฐบาลกราบบังคมทูลเชิญ พระวงวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระเชษฐา
เสด็จขึ้นสืบราชสมบัติครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๘ แห่งบรมราชจักรีวงศ์

พุทธศักราช ๒๔๗๘ .....
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช พระอนุชา จึงทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช

ุพุทธศักราช ๒๔๘๙ ...
ทรงเป็นกำลังใจซึ่งกันและกัน ในวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตโดย กระทันหัน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง รัฐสภาได้มีมติเอกฉันท์เห็นชอบให้อัญเชิญ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันตวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๙ ในวันเดียวกัน แต่เนื่องจากยังมีพระราชกิจด้านการศึกษา จึงต้องเสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่ง ในเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙ เพื่อทรงศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัย แห่งเดิม ในครั้งนี้ทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมาย และ วิชารัฐศาสตร์ แทนวิชาวิทยาศาสตร์ที่ทรงศึกษาอยู่เดิม

พุทธศักราช ๒๔๙๑ ..... ระหว่างประทับอยู่ ณ สวิสเซอร์แลนด์ ทรงโปรดการขับรถยนต์ไปในที่ต่างๆ ทั่วยุโรป แล้ววันหนึ่งก็มีข่าวร้ายแก่ชาวไทย ข่าวด่วนจากวิทยุ บีบีซี ๑๓.๐๐ น. วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แห่งประเทศไทย ประสบอุบัติเหตุเนื่องด้วยรถยนต์ ณ ที่แห่งหนึ่งใกล้ๆ เมืองโลซานน์ เมื่อค่ำวันที่ ๔ พระอาการค่อนข้างสาหัส สำนักข่าวรอยเตอร์ ก็ได้กระจายข่าวทั่วโลกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช กษัตริย์พระองค์ปัจจุบัน ผู้มีชันษาครบ ๒๐ แห่งประเทศไทย ซึ่งทรงได้รับบาดเจ็บอย่างสาหัส เนื่องจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เมื่อคืนวันที่ ๔ นั้น ในตอนบ่ายวันที่ ๕ นี้ มีข่าวว่า ทรงมีพระอาการดีขึ้น และ พ้นขีดอันตรายแล้ว

ข่าวจากโรงพยาบาลมอร์เซส แจ้งว่า ..... พระมหากษัตริย์ไทย ทรงได้รับบาดเจ็บสาหัสแถบพระพักตร์และพระเศียร แต่ไม่มีพระอัฐิส่วนใดแตกหรือเดาะเลย พระโลหิตตกมาก พระเนตรข้างขวาเศษกระจกเข้า แต่พระสติดีสามารถแจ้งนามพระองค์ได้ ทั้งนี้ รถยนต์พระที่นั่งชนกับรถยนต์บรรทุกคันหนึ่ง ข้างทะเลสาบเจนีวา เมืองมอนเน

ตามรายงาน ..... ของหลวงดิฐการภักดี อุปฑูตไทย ประจำสวิตเซอร์แลนด์ ในขณะนั้น กล่าวว่า ในคืนที่ทรงประสบอุบัติเหตุนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงขับรถพระที่นั่งไปถึงสี่แยกที่มีป้อมจราจรแห่งหนึ่ง และ พอดีกับตำรวจจราจรให้สัญญาณหยุด เพื่อให้ทางแก่จักรยานอีก ๒ คัน รถบรรทุกคันหน้าจึงหยุดกึกลงทันที ที่ได้รับสัญญาณจากตำรวจจราจร ขณะนั้นประจวบกับมีรถยนต์อีกคันหนึ่งขับสวนขึ้นมา และ เปิดไฟหน้าสว่างจ้า จึงทำให้พระเนตรพร่า มองไม่เห็นรถบรรทุกคันนั้น รถพระที่นั่งจึงชนเอาท้ายรถบรรทุกโครมใหญ่

สำหรับประเทศไทยนั้น ..... หนังสือพิมพ์รายวันได้ตีพิมพ์ข่าวร้ายนี้ทั่วถึงทุกฉบับ ชาวไทยทุกคนยามนั้น ต่างโศกเศร้า และ ทุกข์ร้อนกันทั่วหน้า และ ในวันที่ ๗ ตุลาคม เวลา ๑๖.๐๐ น. เศษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้มีพระราชดำรัสโทรศัพท์ทางไกลตอบประธานคณะอภิรัฐมนตรี กรมขุนชัยนาทนเรนทร จากโรงพยาบาลที่ประทับว่า .....

ฉันปลอดภัยแล้ว ขอฝากความขอบใจมายังคณะผู้สำเร็จราชการ คณะอภิรัฐมนตรี
คณะรัฐบาล และ ประชาชนของฉัน ที่มีความห่วงใยในอาการป่วยของฉัน

เสด็จออกจากโรงพยาบาล ..... เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ แพทย์ผู้ถวายการรักษา แถลงว่าจะต้องใช้เวลาจนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ จึงจะรู้ผลเกี่ยวกับพระเนตร แพทย์ขอให้ทรงหยุดการศึกษาชั่วคราว จะทรงพระอักษรไม่ได้ ขอให้ทรงดำรัสแต่น้อย ไม่ควรเสด็จไปไหนในระยะนี้ เพื้อป้องกันพระเนตรที่ประชวรได้รับความกระทบกระเทือน

พุทธศักราช ๒๔๙๒ ..... วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ รัฐบาลได้แถลงต่อสภาฯ ว่า เมื่อต้นเดือนมกราคม นี้ แพทย์ได้ถอดผ้าปิดพระเนตรข้างขวาออก และ ได้ใช้ฉลองพระเนตรสีมัวๆ เพื่อให้ค่อยๆ ชินขึ้นเป็นลำดับ ต่อมาในปลายเดือนจึงใช้ฉลองพระเนตรปกติ ทอดพระเนตรเห็นชัดขึ้น ทรงเล่นดนตรีได้พอสมควร เวลาอากาศดีๆ เสด็จประพาสโดยรถยนต์ หรือ ดำเนินเล่นช้าๆ ได้ ระวังไม่ให้ออกพระกำลังมากเกินไป พระอาการประชวรที่พระเนตร เนิ่นนานมาจนถึงต้นเดือนตุลาคม จึงมีข่าวยืนยันว่า พระเนตรที่มีพระประชวรหายแล้ว และ ทอดพระเนตรได้ทั้งสองข้างด้วย

ข่าวเกี่ยวกับพระอาการพระประชวรของ ..... พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ดีขึ้นเรื่อยจนเป็นปกติ ยังความชื่นชมโสมนัสแก่พสกนิกรเป็นที่ยิ่ง และ โดยเฉพาะพระธิดาของท่านทูตนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงประสบอุบัติเหตุ และ มีอาการรู้สึกพระองค์แล้ว ได้มีพระราชกระแสรับสั่งให้โทรเลขขออนุญาต ม.จ.นักขัตรมงคล กิติยากร ให้ส่ง ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร เข้าเฝ้าถวายการอภิบาลรักษา ณ พระตำหนักวิลล่าวัฒนา เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ม.ล.บัว กิติยากร ผู้เป็นพระชนนี ได้นำธิดาทั้งสองเข้าเฝ้า แล้วถวายบังคมกลับกรุงลอนดอน โดยให้ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร ประทับอยู่กับสมเด็จพระราชชนนีที่เมืองโลซานน์ และ ได้ศึกษาต่อที่นั่น นอกจากถวายการอภิบาลรักษาแล้ว เป็นที่ทราบกันว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพอพระราชหฤทัยในฝีมือเปียโนของ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร และ ทรงฟังอยู่เสมอๆ หลังจาก เฝ้าถวายอภิบาลจน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีพระอาการทั่วไปคืนสู่ปกติแล้ว ม.ร.ว.สิริกิติ์ ได้กราบถวายบังคมลากลับไปพำนักกับพระบิดาที่ประเทศอังกฤษ

ฟ้าสดใสหลังพายุก็มาถึง ..... พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ สมเด็จพระราชชนนี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปพบ หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร และ หม่อมหลวงบัว (สนิทวงศ์) กิติยากร ได้รับสั่งเรื่องการหมั้น หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ในวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นการหมั้นอย่างส่วนพระองค์จริงๆ ทำกันเฉพาะในครอบครัวเท่านั้น ไม่มีผู้ใดระแคะระคายเลย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นำแหวนเพชรทำเป็นหนามเตยรูปหัวใจ ของสมเด็จพระราชบิดา ที่เคยประมานแด่สมเด็จพระราชชนนี มอบแก่ หม่อมเจ้านักขัตรมงคล เพื่อให้เป็นพระธำมรงค์หมั้น หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร

หมายเหตุ ::: หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร ภายหลังได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอิสริยยศ หม่อมเจ้านักขัตรมงคลฯ เป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล และ พระวงวงศ์เธอกรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ ตามลำดับ

พุทธศักราช ๒๔๙๓ ..... แม้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ยังทรงมีพระสุขภาพอนามัยไม่ปกตินัก และ แพทย์ผู้ถวายการรักษามิใคร่ยอมให้เสด็จพระราชดำเนินหนทางไกลๆ แต่ก็ได้ตัดสินพระทัยเสด็จพระราชดำเนินนิวัติประเทศไทย เนื่องจากมีพระราชกรณียกิจสำคัญๆ ถึง ๓ ประการ คือ

- พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช
- พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส
- พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

และ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปวงชนชาวไทย ต่างร่ำร้องให้พระองค์คืนสู่ประเทศ

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ..... ให้ตั้งการ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ในเดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓

ต่อมาในวันที่ ๒๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ ..... ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ พระตำหนัก สมเด็จพระศรีสวริน ทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยิกาเจ้า ในวังสระปทุม ซึ่งในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสนี้ มีพระบรม ราชโองการ โปรดเกล้าฯให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์

ในวันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ..... โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง เฉลิมพระบรมนามาภิไธย ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

พร้อมทั้งพระราชทานพระปฐม บรมราชโองการว่า .....
เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม

และ ในโอกาสนี้ ..... ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี

พุทธศักราช ๒๔๙๔ ..... หลังจากเสร็จการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงรักษาพระสุขภาพ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตามที่คณะแพทย์ได้ถวายคำแนะนำ และ ระหว่างที่ประทับในเมือง โลซานน์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี มีพระประสูติกาลพระราชธิดาพระองค์แรกคือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี ซึ่งประสูติ ณ โรงพยาบาลมองซัวซีส์ เมืองโลซานน์ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๔

เมื่อ ..... สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์แรกเจริญพระชันษาได้ ๗ เดือน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินนิวัตพระนคร ประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จากนั้นทรงย้ายที่ประทับไปประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เนื่องจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงพระตำหนักจิตรลดารโหฐานสำหรับเป็นที่ประทับแทนการ ที่รัฐบาลจะจัดสร้างพระตำหนักขึ้นใหม่ และ ที่พระที่นั่งอัมพรสถานนี้เอง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีมีพระประสูติกาลพระราชโอรสและพระราชธิดาอีกสามพระองค์

พุทธศักราช ๒๔๙๕ ..... สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงมีพระประสูติกาล สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ประสูติ เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์สยามมกุฎราชกุมาร และ ในวันนั้นประชาชนชาวไทยทั้งชาติ ต่างใจจดใจจ่อต่อข่าวที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี จะมีประสูติกาล ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ต่างเฝ้าหวังและภาวนาขอให้เจ้าฟ้าพระองค์นี้เป็นชาย ต่างสมหวัง และ ชื่นชมกันทั่วหน้า

พุทธศักราช ๒๔๙๘ ..... ทูลกระหม่อมน้อย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ประสูติเมื่อวันเสาร์ที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๘ ต่อมาในพุทธศักราช ๒๕๒๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรรัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี

และจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ..... ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆ เป็นประจำ ได้ทรงพบเห็นท้องถิ่นหลายๆ แห่ง ประสบปัญหาความแห้งแล้งหรือขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการทำเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรจะประสบความเดือดร้อน ทุกข์ยากมาก เนื่องจากบางครั้งฝนได้ทิ้งช่วงนาน หรือภาวะฝนทิ้งช่วงเกิดในระยะวิกฤติของพืชผล คือพืชอยู่ในระยะที่กำลังให้ผลผลิตต่ำ หรืออาจจะไม่มีผลผลิตให้เลย ดังนั้นภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงในแต่ละครั้ง แต่ละปี จึงสร้างความเดือดร้อนและความสูญเสียทางเศรษฐกิจแก่เกษตรกรเป็นอย่างสูง นอกจากนี้ ภาวะความต้องการใช้น้ำนับวันจะทวีปริมาณความต้องการเพิ่มสูงขึ้น ตามอัตราการเพิ่มของประชากร การขยายพื้นที่เกษตรกรรมและการเจริญเติบโตของกลุ่มอุตสาหกรรม

ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล ..... และทรงความอัจฉริยะในพระองค์ท่าน ดังนั้นในปีพุทธศักราช ๒๔๙๘ จึงได้มีพระราชดำริค้นหาวิธีการที่จะทำให้เกิดฝนตกนอกเหนือจากที่จะได้รับจากธรรมชาติ โดยนำเทคโนโลยีนำสมัยและทรัพยากรที่มีอยู่ประยุกต์กับศักยภาพของการเกิดฝนในเขตร้อนเช่นประเทศไทย มุ่งขจัดปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าว และทรงมีพระราชหฤทัยเชื่อมั่นว่าวิธีการดังกล่าวนี้ จะทำให้การพัฒนาระบบการจัดทรัพยากรน้ำของชาติ เกิดความพร้อมและครบบริบูรณ์ตามวัฏจักรของน้ำ คือ

๑. การพัฒนาระบบการจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำใต้ดิน
๒. การพัฒนาระบบการจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำผิวดิน
๓. การพัฒนาการจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำในบรรยากาศ ..... ฯลฯ

พุทธศักราช ๒๔๙๙ ..... ครั้งหนึ่งที่อยู่ในความทรงจำของพุทธศาสนิกชน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงผนวชเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง และ ประทับ ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการทรงปฏิบัติราชการแผ่นดินแทนพระองค์ตลอดเวลา ๑๕ วันที่ทรงผนวชอยู่ และ จากการที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้อย่างเรียบร้อย เป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในปีเดียวกันนั้นเอง

พระบรมราชินีนาถ ..... มีความหมายว่า กษัตริย์ผู้หญิง นับเป็นพระบรมราชินีองค์ที่สอง แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ได้รับสถาปนาเป็น พระบรมราชินีนาถ องค์แรกคือ สมเด็จพระนางเจ้าเสวภาผ่องศรี หรือในกาลต่อมาคือ สมเด็จพระศรีพัชรินทร์ทราพระบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง ซึ่งทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ตลอดระยะเวลาที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสทวีปยุโรปครั้งแรก

และในปีนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ..... ก็ยังทรงเชื่อมั่นในพระราชหฤทัยว่า ด้วยลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศของประเทศ จะสามารถดำเนินการให้บังเกิดฝนตกนอกเหนือจากที่จะได้รับจากธรรมชาติ และ จะต้องมีผลสำเร็จได้อย่างแน่นอน ดังนั้นในปีพุทธศักราช ๒๔๙๙ จึงได้ทรงพระมหากรุณาพระราชทาน โครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง" ให้หม่อมราชวงศ์ เทพฤทธิ์ เทวกุล รับไปดำเนินการศึกษาวิจัยและการพัฒนากรรมวิธีการทำฝนให้บังเกิดผลโดยเร็ว

พุทธศักราช ๒๕๐๐ .....
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงฉายพระรูปนี้ เมื่อแรกประสูติ ของ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐ และ ในวันที่ ๓๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐ หลังจากทรงประกอบพิธี เฉลิมพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ซึ่งได้ต่อเติมขึ้นใหม่แล้ว ได้ทรงย้ายที่ประทับจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต กลับไปประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จนถึงปัจจุบัน

พุทธศักราช ๒๕๐๑ .....
รถไฟพระที่นั่งไปถึงแห่งหนไหน ก็นำความปลาบปลื้มใจไปสู่แห่งหนนั้น

พุทธศักราช ๒๕๐๒ .....
สมเด็จพระชนนีฯ ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ในวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จเยือนต่างประเทศ

พุทธศักราช ๒๕๐๓ .....
ทรงดนตรีร่วมกับนักดนตรีระดับโลก มิสเตอร์เบนนี่ กู๊ดแมน เมื่อเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเริกา ผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท และ ผู้ที่เคยได้ร่วมเล่นดนตรีกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เล่าถึงพระราชอัจฉยริภาพในการพระราชนิพนธ์เพลงว่า ทรงแต่งเพลงได้ทุกแห่ง บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีช่วย ครั้งหนึ่งทรงเกิดแรงบันดาลพระทัยหยิบฉวยซองจดหมายได้ก็ทรงตีเส้น ๕ เส้น แล้วทรงเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นโดยฉับพลัน จึงได้เพลง "เราสู้" มา

พุทธศักราช ๒๕๐๔ ..... โครงการส่วนพระองค์ในสวนจิตรลดา เริ่มขึ้นมากมาย โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ และ ได้ทราบถึงปัญหาต่างๆที่สร้างความเดือดร้อนให้กับพสกนิกรของพระองค์ โดยเฉพาะทางด้านการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ และอื่นๆ จึงมีพระราชดำริที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านั้น โดยใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐานเป็นที่ตั้งของโครงการส่วนพระองค์เกี่ยวกับการเกษตร คล้ายกับจำลองความเป็นอยู่ และ การประกอบอาชีพของราษฎรจากภาคต่างๆ ทั่วประเทศมาอยู่ในบริเวณที่ประทับ เพื่อจะได้ทดลองหาวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ถูกต้องและตรงจุดด้วยพระองค์เอง

โครงการส่วนพระองค์ฯแบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ
๑. โครงการแบบไม่ใช่ธุรกิจ
๒. โครงการแบบกึ่งธุรกิจ

วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน
๑. เป็นโครงการทดลอง
๒. เป็นโครงการตัวอย่าง
๓. เป็นโครงการซึ่งไม่หวังผลกำไรตอบแทน

ในการดำเนินงานของโครงการส่วนพระองค์ฯนั้น ..... ได้เน้นหนักให้เห็นถึงการใช้ในด้านทรัพยากรธรรมชาติ และปัจจัยทางการเกษตรที่ประเทศไทยเรามีอยู่ นำมาใช้สอยอย่างประหยัด และให้ได้ประโยชน์สูงสุด ด้วยขั้นตอนการผลิตที่สามารถทำได้ไม่ยากนัก โดยคำนึงถึงการใช้ปัจจัยทางการเกษตรและวัสดุเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นการประหยัดทั้งงบประมาณและเวลา อีกทั้งอาศัยความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการศึกษาค้นคว้าและทดลอง เพื่อรวบรวมข้อมูลและผลที่ได้จากการทดลองนำไปเผยแพร่เพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับการเกษตร และประชาชนทั่วไปที่สนใจในโครงการส่วนพระองค์ฯ นี้

พุทธศักราช ๒๕๐๕ ..... ทรงดนตรีร่วมกับวง อส.วันศุกร์ เพื่อหารายได้ช่วยเหลือผู้ประสบวาตภัยแหลมตะลุมพุก มีผู้ใกล้ชิดพระองค์เล่าว่า พระองค์ทรงดนตรีได้ทุกแห่ง ครั้งหนึ่งทรงล่องเรือแบบเรือแจว และนั่งเล่นดนตรีไปกับข้าราชบริพารบนเรือลำเล็กๆ บริเวณทุ่งนารังสิตคลอง ๓ คราวเสด็จพระราชดำเนินประพาสบ้านนาของ ตระกูลสนิทวงศ์

แล้วพระองค์ยังปลูกฝัง ..... ให้พระราชโอรส และ พระราชธิดา รักการดนตรีและเสียงเพลงอีกด้วย ยังปรากฏให้พวกเราพสกนิกรได้เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงดนตรีร่วมกับ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ในช่วงเวลาหนึ่งนั้นเสมอๆ และในปัจจุบันเราก็ยังได้เห็นสมเด็จพระเทพฯ ทรงดนตรีไทยแสดงร่วมกับวงนาฏศิลป์อยู่เป็นประจำทุกๆปี และที่ปรากฎในจอทีวี ก็มีทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาฯ ได้ขับร้อง "เพลงกษัตริยา" ได้ไพเราะ พร้อมด้วยพระอัจฉริยภาพด้านการแสดงละคร ให้พวกเราได้ชื่นชมในความสามารถของทูลกระหม่อมฯ อีกแขนงหนึ่ง

พุทธศักราช ๒๕๐๖ .....
เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค

พยุหยาตราสถลมารค .....
เมื่อครั้งอดีตเราจะเห็นภาพ ริ้วกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค
ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อเสด็จไปนมัสการปูชนียวัตถุ
ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และวัดบวรนิเวศวิหาร

พยุหยาตราสถลมารค .....
ก็คือการเสด็จพระราชดำเนินของพระมหากษัตริย์ทางบก นั่นเอง

พุทธศักราช ๒๕๐๗ .....
สถาบันดนตรี และ ศิลปะ แห่งกรุงเวียนนา ถวายปริญญากิตติมศักดิ์
ในฐานะที่ทรงเป็นนักดนตรีแจ๊ส และ คีตกวี

พุทธศักราช ๒๕๐๘ ..... ประทับแรมกลางป่า คราวเสด็จเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ทางภาคเหนือ ในหลวงเสด็จเยี่ยมชาวเขาในหมู่บ้านต่าง..ต่างของภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ทอดพระเนตรเห็นสภาพความเป็นอยู่อันยากลำบากของชาวเขา รวมทั้งสภาพป่าที่ถูกทำลาย อันจะส่งผลต่อไปยังสภาพต้นน้ำลำธารของประเทศ ในหลวงจึงสนับสนุนให้มีการวิจัยไม้เมืองหนาว เพื่อช่วยให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่น หันมาปลูกพืชที่ทำการวิจัยแทน ทั้งยังเป็นการเปลี่ยนวิธีการปลูกพืชที่ต้องถางป่าทำลายหน้าดิน ให้เป็นวิธีการปลูกที่ถูกต้องเหมาะสม โดยมีผู้เชียวชาญทางด้านเกษตรกรรมให้คำแนะนำแก่ชาวเขาอย่างใกล้ชิด

ปัจจุบันเวลาที่ผ่านมากว่า ๓๐ ปี ..... ของโครงการหลวงฯ ได้สร้างชีวิตใหม่และทำให้คนไทยกลุ่มหนึ่งมีอาชีพและมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าเดิม อย่างเห็นได้ชัด ทุกวันนี้ เด็ก..เด็ก ชาวเขาในบริเวณโครงการหลวงฯ ได้ไปโรงเรียน พวกผู้ใหญ่มีงานทำ สุขภาพอนามัยของพวกเค้าดีขึ้น เพราะมีแพทย์ พยาบาล จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขึ้นไปดูแลอยู่อย่างสม่ำเสมอ แล้วพวกเราชาวไทยทั้งประเทศ ก็พลอยได้รับของขวัญที่มีค่ามหาศาล นั่นคือเรามีป่าไม้ และ ต้นน้ำลำธารเป็นแหล่งชีวิตของพวกเราต่อไปอีกนานเท่านาน

พุทธศักราช ๒๕๐๙ .....
กีฬาเรือใบเป็นกีฬาที่ทรงโปรด พระปรีชาสามารถทางด้านการช่างของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ปรากฏอย่างเด่นชัดในการออกแบบ และ สร้างเรือใบด้วยพระองค์เอง ตั้งแต่เริ่มประกอบตัวเรือจนถึงการทาสี ได้แก่ เรือใบมด การต่อเรือใบมดนี้ ทรงใช้วัสดุภายในประเทศ และทรงทดสอบด้วยการนำไปแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งสามารถเอาชนะเรือใบประเทศอื่นได้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังทรงออกแบบและสร้างเรือใบอีกหลายประเภท คือ เรือใบซุปเปอร์มด เรือใบไมโครมด ซึ่งเป็นที่นิยมเช่นเดียวกับเรือใบมด

พุทธศักราช ๒๕๑๐ .....
นอกจากพระปรีชาสามารถทางด้านการออกแบบ และ สร้างเรือใบแล้ว พระองค์ยังทรงสนพระราชหฤทัยในกีฬาเรือใบ ทรงเป็นนักกีฬาเรือใบ ทรงร่วมการแข่งขันด้วยพระองค์เอง และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมด้วย เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ฯ ทรงชนะเลิศการแข่งขันกีฬาเรือใบ และ ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญทองในการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค ในกีฬาแหลมทองครั้งที่ ๔ ที่ประเทศไทย ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๐

พุทธศักราช ๒๕๑๒ ..... พ่อหลวงเสด็จมาแล้ว พระราชดำริด้านการป่าไม้ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเล่าถึงแรงบันดาลใจ ในความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง ป่า น้ำดิน ซึ่งโยงใยมีผลกระทบต่อกัน ตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ว่า ... อาจมีบางคนเข้าใจว่า ทำไมถึงสนใจเรื่องชลประทาน หรือ เรื่องป่าไม้ จำได้เมื่ออายุ ๑๐ ขวบ ที่โรงเรียนมีครูคนหนึ่ง ซึ่งเดี๋ยวนี้ตายไปแล้ว สอนเรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องการอนุรักษ์ดินแล้วให้เขียนว่า ภูเขาต้องมีป่า อย่างนั้น เม็ดฝนลงมาแล้วจะชะดินลงมาเร็ว ทำให้ไหลตามน้ำไป ไปทำความเสียหาย ดินหมดจากภูเขา เพราะไหลตามสายน้ำไป ก็เป็นหลักของป่าไม้ เรื่องการอนุรักษ์ ดิน และเป็นหลักของชลประทานที่ว่า ถ้าเราไม่รักษาป่าไม้ข้างบน จะทำให้เดือด ร้อนตลอด ตั้งแต่ดินภูเขาจะหมด ไปกระทั่งการที่จะมีตะกอนลงมาในเขื่อน มี ตะกอนลงมาในแม่น้ำทำให้น้ำท่วมนี่นะ เรียนมาตั้งแต่อายุ ๑๐ ขวบ ..... การที่ทรงเห็นความสำคัญของปัญหาป่าเสื่อมโทรม ซึ่งส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านอื่นๆ ไม่เฉพาะแต่ปัญหาเรื่องดิน เรื่องน้ำเท่านั้น หากโยงใยถึง ปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง คุณธรรมและระบบนิเวศน์ ด้วยเหตุดังกล่าว จึงทำให้แนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาป่า มิได้เป็นกิจกรรมที่ดำเนินไปอย่าง โดดๆ หากแต่รวมเอางานพัฒนาที่เกี่ยวเนื่องทั้งหมด เข้าไปทำงานในพื้นที่ อย่างประสานสัมพันธ์กัน แนวพระราชดำริด้านการป่าไม้ จำแนกออกเป็นหมวดหมู่ตามงาน ได้ดังนี้

1..... การอนุรักษ์ป่าและสิ่งแวดล้อม
2..... การฟื้นฟูสภาพป่าและการปลูกป่า
3..... การพัฒนาเพื่อให้ชุมชนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน

โครงการพัฒนาดอยตุง พื้นที่ทรงงาน ..... อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย ก็เป็นโครงการฯ หนึ่ง สภาพโดยทั่วไปตั้งอยู่ในเขตบางส่วนของอำเภอแม่สาย และอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ ประมาณ ๙๓,๕๑๕ ไร่ หรือ ๑๔๙,๖๕๒ ตารางกิโลเมตร มีสภาพหนาวเย็นตลอดปี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ เป็นภูเขาสูง ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารต่างๆ ในภาคเหนือ สภาพป่าบางส่วนเป็นป่าเสื่อมโทรมประกอบด้วย กลุ่มบ้านรวมทั้งสิ้น ๒๗ หมู่บ้าน/กลุ่มบ้าน ๑,๖๐๒ ครัวเรือน มีครัวเรือนขนาดใหญ่เล็กต่างๆ กัน โดยเฉลี่ยประมาณ ๕๙.๓๐ ครัวเรือนต่อกลุ่มบ้าน โดยกลุ่มบ้านที่ใหญ่ที่สุด ได้แก่ บ้านห้วยน้ำขุ่นมีจำนวน ๔๐๒ ครัวเรือน และครัวเรือนที่เล็กที่สุด ได้แก่ บ้านเล่าล่อโจ๋ มีจำนวน ๖ ครัวเรือน ประชากรทั้งหมดประกอบด้วยชาว ไทยภูเขา ได้แก่ อีก้อ มูเซอ ลีซอ เย้า ลั้วะ และชนกลุ่มน้อย มีไทยใหญ่ และ จีนฮ่อ ตลอดจนชาวไทย พื้นราบ โดยประชากรในพื้นที่มีรายได้ส่วนใหญ่จากการ ประกอบอาชีพรับจ้าง รองลงมาได้แก่ การเกษตรกรรม

โครงการพัฒนาดอยตุง ..... พื้นที่ทรงงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการพัฒนาที่สนองแนวพระราชดำริของ สมเด็จพระศรีนคริน ทราบรมราชชนนี ในอันที่จะพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เคยเสื่อมโทรมให้กลับมีสภาพที่อุดมสมบูรณ์ดังเดิม การแก้ไขปัญหา

ร่มแผ่นดิน ...80 พรรษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์


ร่มแผ่นดิน ...80 พรรษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์


ร่มแผ่นดิน ...80 พรรษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์


ร่มแผ่นดิน ...80 พรรษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์


ร่มแผ่นดิน ...80 พรรษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์


ร่มแผ่นดิน ...80 พรรษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์


ร่มแผ่นดิน ...80 พรรษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์