ใครรู้ตัวว่า ‘สายตาเอียง’ ยกมือขึ้น! หากไม่แน่ใจ ลองดูสิว่าเคยปวดหัวเรื้อรังแบบไม่รู้สาเหตุหรือไม่ ยิ่งวัยทำงานที่ต้องเจอกับเรื่องเครียด ๆ จนพลันคิดไปว่า อาการปวดหัวดังกล่าว อาจมาจากความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน แต่รู้หรือไม่ อีกสาเหตุหนึ่งที่มักถูกมองข้ามคือ การแก้ปัญหาค่าสายตาไม่ถูกวิธี โดยเฉพาะในคนที่มีค่าสายตาผิดปกติร่วมด้วย
นพ.สิทธิโชค นาคะพงศ์ จักษุแพทย์ กล่าวว่า สายตาเอียง คือภาวะการมองเห็นภาพไม่ชัด เกิดจากรูปร่างของกระจกตาผิดปกติตั้งแต่กำเนิด ซึ่งเบี่ยงเบนการหักเหของแสง ไม่ให้ตกกระทบตรงจุดโฟกัสของกระจกตา ส่งผลให้ภาพที่มองเห็นนั้นไม่ชัดหรือเบลอ ทั้งในระยะใกล้และไกล บางคนจะเห็นชัดในแนวนอน บางคนจะเห็นชัดในแนวตั้ง หรือบางครั้งอาจก่อให้เกิดอาการปวดหัว เวียนศีรษะ เมื่อต้องอ่านหนังสือหรือใช้สายตาเป็นเวลานาน ๆ ทำให้สายตาล้าง่ายกว่าปกติ และที่อันตรายกว่านั้นคือ อาจเกิดปัญหาจากแสงรบกวน เมื่อขับรถในเวลากลางคืน
สำหรับวิธีสังเกตตัวเองว่ามีสายตาเอียงหรือไม่ บริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (ประเทศไทย) จำกัด แนะนำเบื้องต้น ดังนี้
บททดสอบที่ 1 : คุณมัก “หรี่ตา” เป็นประจำหรือไม่ ? เพราะการหรี่ตา อาจเป็นสัญญาณของปัญหาหลายอย่าง นอกจากจะทำให้เสียบุคลิกและอาจก่อเกิดปัญหาริ้วรอยก่อนวัยแล้ว การหรี่ตาเป็นประจำเพื่อพยายามปรับความคมชัดในการมองเห็นยังอาจเป็นสัญญาณเล็ก ๆ ที่บ่งบอกว่าคุณกำลังประสบปัญหาสายตาเอียง
บททดสอบที่ 2 : คุณมัก “มึนหัวง่าย” เมื่อใช้สายตาเป็นเวลานาน ? ใช่หรือไม่ หากคุณมักมีอาการปวดหัวและวิงเวียนเมื่ออ่านหนังสือ ทำงาน หรือแม้กระทั่งดูโทรทัศน์อย่างต่อเนื่อง อาจเข้าข่าย เนื่องจากโดยปกติแล้ว ผู้ที่มีปัญหาสายตาเอียงจะไม่สามารถจับภาพที่มีลักษณะเบลอ รวมถึงภาพที่มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วได้อย่างชัดเจนนัก (เช่น ภาพยนตร์ไซไฟ หรือ 3 มิติ) ดังนั้นการใช้สายตาหลาย ๆ ชั่วโมง มักจะทำให้ผู้มีค่าสายตาเอียงมึนหัวได้ง่าย
บททดสอบที่ 3 : ภาพที่คุณเห็น “ชัด” หรือไม่ ? นั่นเพราะ สายตาเอียง แตกต่างจากสายตาสั้นหรือสายตายาว วิธีสังเกตง่าย ๆ คือ ผู้ที่มีสายตาสั้นหรือสายตายาว จะมองเห็นตัวเลขตัวอักษรชัดเท่ากันทุกตัว หรือมัวเท่ากันทุกตัว แต่ผู้ที่มีสายตาเอียงจะมองเห็นตัวเลขหรือตัวอักษรบางตัวชัด บางตัวไม่ชัด ลองทดสอบด้วยตัวเองจากภาพประกอบที่ 1 ถ้าคำตอบคือ “ใช่” อย่างน้อย 1 ข้อจาก 3 ข้อ คุณอาจมีค่าสายตาเอียง
วิธีการรักษา นพ.สิทธิโชค แนะนำว่า หากเอียงน้อย ๆ สามารถตัดแว่นสายตาเพื่อทดค่าสายตาได้ เพราะผู้ที่สายตาเอียงส่วนใหญ่จะมีปัญหาสายตาสั้นหรือยาวร่วมด้วย ในกรณีที่ไม่ชอบสวมแว่นก็สามารถเลือกคอนแทคเลนส์ได้เช่นกัน ในผู้ที่ค่าสายตาเอียงมากกว่า 200 แนะนำให้พบแพทย์
ด้าน ดร.มายูมิ ฟาง ผู้จัดการฝ่ายวิชาการและหัวหน้าสถาบันวิชั่นแคร์ (ประเทศไทย) กล่าวเพิ่มเติมว่า จากสถิติในประเทศไทยพบว่ากว่า 30% ของผู้มีปัญหาสายตา มักมีค่าสายตาเอียงร่วมอยู่ด้วย โดยทั่วไปผู้มีปัญหาสายตาเอียงมักแก้ไขด้วยการใช้แว่นสายตา หรือไม่ก็ใช้การทดค่าสายตาในกรณีผู้ใช้คอนแทคเลนส์ โดยเลือกเลนส์ที่มีค่าเพิ่มขึ้นกว่าค่าสายตาจริง ซึ่งไม่สามารถชดเชยภาวะสายตาเอียงได้ และมีเพียง 7% ของผู้ใช้คอนแทคเลนส์เท่านั้น ที่เลือกใช้คอนแทคเลนส์สำหรับสายตาเอียงโดยเฉพาะ ในส่วนของจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันมีการผลิตคอนแทคเลนส์สำหรับสายตาเอียงโดยเฉพาะออกมา ซึ่งใช้เทคโนโลยีการออกแบบใหม่ ASD (Accelerated Stabilization Design) ที่ช่วยรักษาสภาวะการหมุนของเลนส์ให้อยู่ในองศาที่ถูกต้อง ทำให้มองเห็นภาพคมชัดทุกการเคลื่อนไหว รวมทั้งใช้เทคโนโลยี Lacreon ช่วยล็อคความชุ่มชื่นในคอนแทคเลนส์ จึงให้ความรู้สึกสบายตาตลอดทั้งวัน
ส่วนวิธีการดูแลรักษาดวงตาและสายตานั้น นพ.สิทธิโชค กล่าวว่า ดูแลเหมือนผู้มีปัญหาสายตาทั่วไป ในกรณีต้องการป้องกันการหักเหของแสงก็ให้สวมแว่นตากันแดด และรับประทานอาหารบำรุงสายตา เน้นจำพวกวิตามินเอ เช่น ผักใบเขียวและผลไม้สีส้ม แครอท ฟักทอง มะละกอ เป็นต้น เพราะช่วยทำให้มองเห็นในที่มืดได้ดี