Yo-Yo Effect โยโย่เอฟเฟค คือ อะไร ??
โย-โย่ เอฟเฟค คือ การเรียกขานที่เปรียบเทียบปรากฏการณ์ที่เกิดหลังการลดน้ำหนักกับการเล่นลูกดิ่งโย-โย่เมื่อคนอ้วนที่พยายามลดความอ้วนจนกลายเป็นคนผอมแต่ผอมอยู่ได้ไม่นานก็กลับไปอ้วนอีกครั้ง ต้องเพียร พยายามลดกันให้ผอมลงใหม่และพบว่าครั้งนี้ต้อง ใช้ความพยายามมากกว่าครั้งก่อน ๆ เพราะว่าอ้วน เร็วขึ้นมิหนำซ้ำยังอ้วนมากกว่าเก่า เป็นอย่างนี้อยู่ครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนกับลูกดิ่งที่เมื่อปล่อยจากมือลงสู่พื้นแล้วก็จะม้วนตัวกลับมาสู่มือของเราอีกยิ่งปล่อยลูกดิ่งออกไปแรงและไกลเท่าไร ลูกดิ่งก็จะกลับคืนสู่มือเร็วเท่านั้น
โย-โย่ เอฟเฟค เกิดขึ้นได้อย่างไร
ความจริงข้อหนึ่งที่เกิดในคนที่ตั้งใจจะลดความอ้วนคือแทบไม่มีใคร เลยที่คิดจะค่อย ๆ ลดน้ำหนักลงทีละน้อย ๆ มีแต่คนใจร้อน อยากลดได้มาก ๆเร็ว ๆ ทั้ง ๆ ที่การสะสมไขมันจนอ้วนนั้นต้องใช้เวลาแรมปี
สปีดที่เหมาะสม ที่สุดในการลดน้ำหนักคือ ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงามตัวเลขมาตรฐานที่ สวยและเหมาะสมที่สุด เพราะไม่เป็นการทรมานหรือหักโหมร่างกายมากเกินไป คือ 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ถ้าหวังมากกว่านั้นต้องระวังว่าโย-โย่เอฟเฟ็กต์ จะเกิดขึ้น
การหักดิบด้วยการลดน้ำหนักให้ได้มากๆ ในช่วงเวลาสั้นๆอย่างเช่น 1-2 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ทำให้เกิดกลไกป้องกันการอดตายตามธรรมชาติ เนื่องจากการอดอาหารทำให้ร่างกายขาดอาหารร่างกายจึงปรับการใช้พลังงานเสียใหม่โดยสงวนพลังงานไว้มากที่สุด(เพราะไม่รู้ว่าจะต้องอดอีกนานไหม)
เมื่อใดก็ตามที่เราเลิกอด แล้วเริ่มกลับมากินใหม่ร่างกายก็จะเร่งสะสมพลังงานไปเก็บไว้ในรูปของไขมัน จนอ้วนเด้งขึ้นเหมือนลูกดิ่งทั้งนี้เป็นความรอบคอบและวางแผนล่วงหน้าเพื่อจะได้ไม่ขาดอาหารจนตายของร่างกายนั่นเอง
การเกิด โยโย่ เอฟเฟค ต้องเกิดจากการที่เราทานยาลดความอ้วนเท่านั้นมั้ย??
การเกิด *YOYO EFFECT* นั้นสามารถเกิดจากการที่เราพยายามควบคุมอาหาร เปลี่ยนชนิดอาหารได้ด้วย ไม่ได้เกิดจากการทานยาลดความอ้วนได้เพียงอย่างเดียว
อันที่จริงแล้วมันคือสภาวะการขาดความสมดุลของร่างกายนั่นเองร่างกายของคนเรามีความสลับ ซับซ้อนมากกว่า คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งซะอีกระบบการทำงานสามารถสั่งได้ ด้วยกิจวัตรประจำวัน สมดุลเคมี ฮอร์โมนจาก ต่อมไร้ท่อระบบประสาทส่วนกลาง และอื่นๆอีกมากมาย ร่างกายคนเราอาศัยความเคยชินกับปริมาณอาหารและปริมาณแคลลอรี่ ที่ได้รับในแต่ละวันรวมทั้งกิจกรรมที่เกิดขึ้นกับตัวเราเองในแต่ละวัน กำหนดขนาดการเมตาบอลิซึ่ม(การเผาผลาญพลังงาน)
ซึ่งจะต้องทำงานควบคุมกับการผลิต ฮอร์โมนบางตัวจากต่อมไร้ท่ออย่างไทรอยด์ฮอร์โมนเพื่อควบคุมการเผาผลาญพลังงาน ความสมดุลของการกิน การใช้พลังงานและระดับไทรอยด์ฮอร์โมนในคนปกติจะแตกต่างจากผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ (มี 2แบบ คือทำงานมากไปกับน้อยไป ถ้ามากไปจะกระตุ้นให้เมตาบอลิซึ่มมากเกินไปจะผอม ใจสั่น เหนื่อยง่าย ถ้าน้อยไปจะอ้วนง่าย เฉื่อยชา หนาวง่ายเพราะเมตาบอลิซึ่มน้อยเกินไป)
การลดน้ำหนักโดยการลดปริมาณอาหารที่ ทานหรือเปลี่ยนชนิดอาหาร เพื่อควบคุมแคลลอรี่ที่ได้รับให้แต่ละวันเป็นวิธีที่นิยมและน่าจะไม่เป็นอันตราย อย่างสูตร สามวันเจ็ดวันที่เห็นๆกันอยู่
มันก็เป็นวิธีที่ดีและถูกต้อง เช่น ปกติเราใช้พลังงานวันละ 800-1200kcal ถ้าเราทานอาหารวันละ 400 kcal เราก็จะสามารถดึงเราของเก่าที่สะสมในร่างกายเราออกมาใช้ได้วันละ 400-600 kcal
แต่.. เมื่อเราลดปริมาณอาหารลงอย่างรวดเร็วอย่างนี้ติดต่อกันสัก3 วัน ร่างกาย จะรับรู้ไปว่า ชั้น…กำลังจะอดตาย ช่วยด้วย !!!จะลดการเผาผลาญ พลังงานลง จากวันละ 800-1200 kcal เป็น 400-600 kcal เพื่อกักเก็บไอ้ที่เราสะสมไว้ให้มากที่สุด
แล้วน้ำหนักก็จะลดลงในระยะแรกเร็วมาก แต่พอซักระยะมันก็ไม่ลงซักขีด ก็จะท้อ พอดีกว่า กลับมากินอย่างเดิม อาหารแบบเดิมยัดเข้าไปวันละ 1200 kcal
แต่… ร่างกายที่กำลังจะอดตายของเรากลับยังเผาผลาญวันละ 400kcal เท่านั้นเอง หมายความว่าเราเหลือวันละ 800 kcal ที่เปลี่ยนเป็นไขมันไปกักเก็บตามส่วนต่าง ๆ จากที่ลดไป 9 กิโล ก็สามารถกลับมาเพิ่มอีก 15 กิโลได้อย่างง่ายดาย
ดังนั้น วิธีการลดน้ำหนักที่ได้ผลในระยะยาวคือการควบคุมอาหารอย่างต่อเนื่องพร้อมกับออกกำลังกายค่ะ เพื่อคงระดับการเมตาบอลิซึ่มให้พอดี กับอาหารที่ทานและกิจกรรมที่ทำ
อย่าง สูตรต่าง ๆ 3 วันบ้าง 7 วันบ้าง 15 วันบ้าง ไม่ใช่ไม่ดี ทำได้ แถมลดเร็วด้วยเป็นกำลังใจให้คนลดความอ้วนอย่างมากเลยแต่หลังจากสูตรนั้นแล้วก็ขอให้ยังคงควบคุมปริมาณ อาหารอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ร่างกายชินกับปริมาณอาหารที่ได้รับ จนไม่เกิดอาการคิดว่าจะอดตายแล้วจึงค่อย ๆ ปรับมากินเท่าคนปกติ แต่จะให้ดีนี่ต้องเปลี่ยน อุปนิสัยในการกินเลยเพราะถ้าลดได้ 10 กิโล แต่ยังกลับมาทานขาหมู พิซซ่าขอบชีสจังก์ฟู๊ดต่าง ๆ มันก็ไม่มีประโยชน์ อีกอย่างที่ห้ามลืม คือ ระดับการเมตาบอลิซึ่มยิ่งอายุมากก็จะยิ่งน้อยลง
สรุปว่า ยิ่งเรามีอายุเพิ่มขึ้นเราก็ยิ่งต้องหาทางเพิ่มกระบวนการนี้เพื่อให้เกิดความสมดุลในร่างกาย