ถือเป็นความสำเร็จอีกระดับหนึ่ง และเป็นความก้าวหน้าอย่างยิ่งสำหรับการศึกษาสัตว์ทะเลหายาก อย่างวาฬบรูด้า ซึ่งการติดเครื่องส่งสัญญาณดาวเทียม (Satellite tagging) ครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการเคลื่อนที่และอพยพของวาฬบรูด้าบริเวณอ่าวไทยตอนบน โดยใช้เครื่องส่งสัญญาณดาวเทียมของ WILD LIFE COMPUTER รวมทั้งหมด 5 ตัว โดยได้รับความอนุเคราะห์เครื่องมือจาก จาก ดร.อากามะสุ โทโมนาริ และ ดร.อิวาตะ ทากาชิ 2 นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญวาฬ จากประเทศญี่ปุ่น จำนวน 3 ตัว และจากนายชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์ จำนวน 2 ตัว โดยเครื่องส่งสัญญาณดาวเทียมนี้จะถูกรับส่งสัญญาณโดยดาวเทียม ARGOS ของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจะส่งข้อมูลพิกัดทางภูมิศาสตร์มายังผู้ใช้ และสามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.argos-system.cls.tr
ติดดาวเทียม ตามดู บรูด้า อ่าวไทย
ติดดาวเทียม ตามดู "บรูด้า" อ่าวไทย
ทันทีที่วัตถุสี่เหลี่ยมอันเล็กๆ ถูกยิงไปแปะอยู่บนผิวหนังเนียนนิ่ม ของเจ้าพัธยา ลูกวาฬบรูด้า จอมกระโดด แห่งทะลอ่าวตัว ก สำเร็จ ก็บังเกิดเสียงฮือฮา แสดงความดีอกดีใจพักใหญ่อย่างมากของคณะคนทำงานวิจัยศึกษาอนุรักษ์วาฬบรูด้า จากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ที่ลอยลำเรือยางลำน้อยอยู่กลางอ่าวไทย เพื่อปฏิบัติภารกิจ ติดเครื่องส่งสัญญาณดาวเทียมวาฬบรูด้า เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
นายเกษมสันต์ จิณณวาโส หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า
ถือเป็นความสำเร็จอีกระดับหนึ่ง และเป็นความก้าวหน้าอย่างยิ่งสำหรับการศึกษาสัตว์ทะเลหายาก อย่างวาฬบรูด้า ซึ่งการติดเครื่องส่งสัญญาณดาวเทียม (Satellite tagging) ครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการเคลื่อนที่และอพยพของวาฬบรูด้าบริเวณอ่าวไทยตอนบน โดยใช้เครื่องส่งสัญญาณดาวเทียมของ WILD LIFE COMPUTER รวมทั้งหมด 5 ตัว โดยได้รับความอนุเคราะห์เครื่องมือจาก จาก ดร.อากามะสุ โทโมนาริ และ ดร.อิวาตะ ทากาชิ 2 นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญวาฬ จากประเทศญี่ปุ่น จำนวน 3 ตัว และจากนายชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์ จำนวน 2 ตัว โดยเครื่องส่งสัญญาณดาวเทียมนี้จะถูกรับส่งสัญญาณโดยดาวเทียม ARGOS ของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจะส่งข้อมูลพิกัดทางภูมิศาสตร์มายังผู้ใช้ และสามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.argos-system.cls.tr
ถือเป็นความสำเร็จอีกระดับหนึ่ง และเป็นความก้าวหน้าอย่างยิ่งสำหรับการศึกษาสัตว์ทะเลหายาก อย่างวาฬบรูด้า ซึ่งการติดเครื่องส่งสัญญาณดาวเทียม (Satellite tagging) ครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการเคลื่อนที่และอพยพของวาฬบรูด้าบริเวณอ่าวไทยตอนบน โดยใช้เครื่องส่งสัญญาณดาวเทียมของ WILD LIFE COMPUTER รวมทั้งหมด 5 ตัว โดยได้รับความอนุเคราะห์เครื่องมือจาก จาก ดร.อากามะสุ โทโมนาริ และ ดร.อิวาตะ ทากาชิ 2 นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญวาฬ จากประเทศญี่ปุ่น จำนวน 3 ตัว และจากนายชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์ จำนวน 2 ตัว โดยเครื่องส่งสัญญาณดาวเทียมนี้จะถูกรับส่งสัญญาณโดยดาวเทียม ARGOS ของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจะส่งข้อมูลพิกัดทางภูมิศาสตร์มายังผู้ใช้ และสามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.argos-system.cls.tr
"เจ้าหน้าที่ของศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน นำโดย ดร.กาญจนา อดุลยานโกศล ผู้เชี่ยวชาญเรื่องวาฬและโลมาของ ทช. พร้อมด้วยนักวิจัยชาวญี่ปุ่นทั้งสองคน โดยใช้เรือยาง 2 ลำ ของศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 (สมุทรสาคร) ออกสำรวจวาฬบรูด้าในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน เมื่อพบก็ถ่ายภาพเพื่อระบุอัตลักษณ์ว่าเป็นวาฬบรูด้าตัวใด เมื่อระบุได้แล้ว เรือที่ติดอุปกรณ์เครื่องส่งสัญญาณดาวเทียมจะเข้าใกล้วาฬ แล้วใช้เสาคาร์บอนไฟเบอร์ความยาว 6 เมตร ที่ปลายมีเข็มสเเตนเลสความยาว 6 เซนติเมตร ซึ่งผูกกับเครื่องส่งสัญญาณดาวเทียมจะเข้าหาวาฬ แล้วแทงเข็มเหล็กเข้าที่บริเวณฐานครีบหลัง ซึ่งบริเวณที่มีชั้นไขมันหนาทำให้ลดการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นกับวาฬ นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือเก็บตัวอย่าง ดีเอ็นเอติดอยู่ที่ปลายเสาคาร์บอนไฟเบอร์ด้วย" นายเกษมสันต์กล่าว
นายเกษมสันต์กล่าวว่า เวลานี้ คณะนักวิจัยสามารถติดเครื่องส่งสัญญาณดาวเทียมกับวาฬบรูด้าได้แล้วถึง 4 ตัวด้วยกัน คือ เจ้าเมษา เจ้าสมหวัง เจ้าท่าจีน และเจ้าพัธยา โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ที่ออกปฏิบัติการนั้น สามารถติดเครื่องบันทึกเสียงใต้น้ำกับเจ้าพัธยาได้ด้วย
ทันทีที่ปฏิบัติการเสร็จ คณะนักวิจัยก็หันเรือกลับเข้าฝั่ง เพื่อตรวจสอบสัญญาณดาวเทียม ที่ติดตั้งไปกับวาฬบรูด้า ทั้ง 4 ตัว
พบว่าสามารถรับสัญญาณจากเจ้าเมษาได้เพียงตัวเดียว เนื่องจากการรับสัญญาณแต่ละครั้งต้องมีความสอดคล้องของช่วงเวลาที่วาฬขึ้นมาเหนือผิวน้ำร่วมกับเวลาที่ดาวเทียมของ ARGOS ผ่านบริเวณนั้นๆ และสภาพอากาศจะต้องมีความเหมาะสม เช่น ปริมาณเมฆน้อย ภาพประกอบการติดเครื่องส่งสัญญาณดาวเทียมวาฬบรูด้าบริเวณอ่าวไทยตอนบน
พบว่าสามารถรับสัญญาณจากเจ้าเมษาได้เพียงตัวเดียว เนื่องจากการรับสัญญาณแต่ละครั้งต้องมีความสอดคล้องของช่วงเวลาที่วาฬขึ้นมาเหนือผิวน้ำร่วมกับเวลาที่ดาวเทียมของ ARGOS ผ่านบริเวณนั้นๆ และสภาพอากาศจะต้องมีความเหมาะสม เช่น ปริมาณเมฆน้อย ภาพประกอบการติดเครื่องส่งสัญญาณดาวเทียมวาฬบรูด้าบริเวณอ่าวไทยตอนบน
"ตอนนี้เราก็พยายามจูนเครื่องมือเพื่อที่จะรับสัญญาณให้ได้ทั้งหมด สำหรับทิศทางการเคลื่อนที่เรามีแล้ว ตอนนี้กำลังรอตรวจสอบเรื่องสัญญาณเสียงอยู่ หากได้มา นักวิจัยก็จะนำไปแปรเปรียบเทียบกับการศึกษาเรื่องเสียงของวาฬที่เคยมีการศึกษามาแล้วในภูมิภาคอื่น ว่าลักษณะเสียงแบบนี้ แปลว่าอะไร เมื่อได้มาแล้ว เราจะรู้วิถีชีวิตของวาฬบรูด้าในอ่าวไทยมากขึ้น ถึงตอนนั้นจะถือเป็นความสำเร็จอย่างมากของนักวิจัยชาวไทย การดำเนินการครั้งนี้ ทช.ไม่ได้ใช้งบประมาณจากรัฐเลย แต่อาศัยความคุ้นเคยส่วนตัวกับนักวิจัยของ ทช.ภาคเอกชน สนับสนุนเครื่องส่งสัญญาณดาวเทียม ส่วนตัวนักวิจัยชาวญี่ปุ่นก็มาร่วมงานโดยเขาออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด" นายเกษมสันต์กล่าว
หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 หน้า 10