ไม่ใช่เรื่องยาก…ในการดูแลฟันให้เด็กๆ

ทำความรู้จักเพื่อรับมือและป้องกันสุขภาพช่องปากของลูกน้อย

เด็กๆ มักจะฟันผุ เพราะขนม นม เนย ที่พวกเขารับประทาน แต่บรรดาผู้ปกครองก็สามารถที่จะช่วยพวกเขาดูแลสุขภาพในช่องปากได้เช่นกัน ซึ่งวันนี้เราก็มีทันตแพทย์หญิงสิรินทร ธีรญานนท์ ทันตแพทย์ประจำศูนย์ทันตกรรมโรงพยาบาลมิชชั่น มาเผยเคล็ดลับที่จะทำให้คุณหนูๆ มีสุขภาพฟันที่ดีได้ไม่ยาก

ไม่ใช่เรื่องยาก…ในการดูแลฟันให้เด็กๆ

ผู้ปกครองควรเริ่มพาหนูๆ มาพบทันตแพทย์ครั้งแรกเมื่อไร

เด็กที่มารับการรักษาทันตกรรมโดยส่วนใหญ่ จะเป็นเด็กที่ให้ความร่วมมือดีและมีเด็กบางคนที่ไม่ให้ความร่วมมือในการรักษา เช่น ร้องไห้ ยืนเกาะผู้ปกครองเอะอะโวยวาย เป็นต้น พฤติกรรมที่ไม่ให้ความร่วมมือมีสาเหตุมาจากความกลัว ความวิตกกังวล หรือความไม่แน่ใจในสถานการณ์ ดังนั้น ผู้ปกครองควรพาเด็กมาพบทันตแพทย์ตั้งแต่ฟันยังไม่มีปัญหาเพื่อทันตแพทย์จะจัดการพฤติกรรมของเด็กเพื่อให้เด็กมีความร่วมมือในการรักษา สร้างและปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อการรักษาทางทันตกรรมให้เกิดและคงอยู่ต่อไปในอนาคต เวลาที่เหมาะสมที่จะพาเด็กมาพบทันตแพทย์ควรเริ่มตั้งแต่ 6 เดือน– 1 ปี หลังฟันซี่แรกขึ้น เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้แก่เด็กและผู้ปกครองมารับฟังคำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากแก่เด็ก รวมทั้งตรวจสอบรอยผุในระยะเริ่มแรกที่ผู้ปกครองอาจไม่ทราบ เพื่อป้องกันการลุกลามของรอยโรค นอกจากนี้ทันตแพทย์ก็จะมีการจ่ายฟลูออไรด์เสริมให้แก่เด็กด้วย

ไม่ใช่เรื่องยาก…ในการดูแลฟันให้เด็กๆ

ฟันน้ำนมมีความสำคัญอย่างไร แล้วถ้าสูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนเวลา จะทำให้ฟันแท้ขึ้นผิดปกติหรือเปล่า

ฟันน้ำนม นอกจากมีหน้าที่เป็นอวัยวะสำหรับบดเคี้ยวในเด็กแล้ว ยังทำหน้าที่คงช่องว่างสำหรับฟันแท้ เพื่อให้ฟันแท้ขึ้นถูกตำแหน่ง ทั้งยังช่วยคงสภาพการสบฟัน เพื่อให้ฟันคู่สบอยู่ในแนวการสบฟันที่ถูกต้อง ดังนั้น ฟันน้ำนมจะมีความสำคัญต่อการพัฒนาการและการเจริญเติบโตของขากรรไกร ถ้ามีการสูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนกำหนด จะมีผลต่อการสบฟัน ทำให้เกิดการสบฟันผิดปกติ

เมื่อมีการสูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนกำหนด จะทำให้เกิดการล้มเอียงของฟันข้างเคียงเป็นผลทำให้ฟันแท้ขึ้นผิดตำแหน่ง หรือฟันอาจขึ้นไม่ได้ทำให้ความยาวแนวโค้งของฟันลดลงมีการงอกยาวของฟันคู่สบ การสูญเสียฟันน้ำนมไปตั้งแต่อายุยังน้อยจะมีผลทำให้กระดูกเบ้าฟันหนาตัวขึ้นทำให้ฟันแท้ที่อยู่ข้างใต้ขึ้นช้ากว่าปกติ นอกจากนี้ ยังอาจมีผลต่อบุคลิกภาพของเด็ก ภาวะทุพโภชนา หรือแม้แต่ความบกพร่องในการออกเสียงด้วย แสดงให้เห็นว่าผู้ปกครองควรใส่ใจดูแลสุขภาพฟันของเด็กตั้งแต่ฟันน้ำนมขึ้น


ไม่ใช่เรื่องยาก…ในการดูแลฟันให้เด็กๆ

ควรให้เด็กเลิกนมขวดอายุเท่าใด และหลังจากเลิกแล้วจะต้องรับประทานอาหารอย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้ฟันผุ

โดยปกติทันตแพทย์จะแนะนำให้เริ่มเลิกนมขวดและเปลี่ยนมาดื่มนมจากแก้วเมื่อเด็กอายุประมาณ 1 ปี หรืออย่างช้าเมื่ออายุขวบครึ่ง เนื่องจากการดูดนมขวดเป็นระยะเวลานานโดยเฉพาะในขณะหลับจะทำให้เกิดฟันผุในเด็กเล็กเกิดอย่างรวดเร็ว

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าอาหารประเภทน้ำตาลและแป้งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดฟันผุ ดังนั้นความถี่ในการรับประทานอาหารจึงเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมาก ผู้ปกครองจึงควรเห็นความสำคัญของอาหารกับการเกิดฟันผุโดยควรจัดให้เด็กรับประทานอาหารเป็นเวลา มีอาหารมื้อหลัก 3 มื้อ และอาหารว่าง 2 มื้อ ไม่ควรรับประทานอาหารจุบจิบตลอดเวลา


ไม่ใช่เรื่องยาก…ในการดูแลฟันให้เด็กๆ

นอกจากอาหารจะทำให้เกิดฟันผุแล้วเราอาจมองข้ามไปว่ายาน้ำเชื่อม ซึ่งมีส่วนประกอบของน้ำตาลก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดฟันผุด้วยเช่นกัน ยาน้ำเชื่อมทั่วไปจะมีน้ำตาลเป็นส่วนผสมในปริมาณสูงเพื่อช่วยในการกลบรสขมของยา มีการศึกษาพบว่าเด็กที่มีโรคประจำตัวต้องรับประทานยาน้ำเชื่อมผสมน้ำตาลบ่อยๆ หรือเป็นระยะเวลานานจะพบความชุกของการเกิดฟันผุเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งวิตามินซีของโปรดของเด็กๆ ที่ถึงแม้ประโยชน์จะมีมาก แต่แป้งและน้ำตาลที่มีอยู่ในวิตามินซีก็สามารถทำให้เด็กฟันผุได้เหมือนกัน ทั้งยังสามารถทำลายผิวเคลือบฟันทำให้เสี่ยงต่อโรคฟันผุ

ไม่ใช่เรื่องยาก…ในการดูแลฟันให้เด็กๆ

ข้อมูลจาก emaginfo



เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์