ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อานาปานสติ อันบุคคล เจริญ กระทำให้ มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ก็อานาปานสติ
อัน บุคคล เจริญแล้ว อย่างไร กระทำ ให้มากแล้ว อย่างไร
จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือ โคนไม้ หรือ เรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามา โดยรอบ
ตั้งกายตรง ดำรงสติ เฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติ หายใจเข้า มีสติ หายใจออก :
เมื่อหายใจ เข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจ เข้ายาว,
เมื่อหายใจ ออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจ ออกยาว;
เมื่อหายใจ เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจ เข้าสั้น,
เมื่อหายใจ ออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจ ออกสั้น;
เธอย่อมทำ การฝึกหัด ศึกษาว่า "เราเป็น ผู้รู้ พร้อมเฉพาะ ซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า", ว่า "เราเป็น ผู้รู้ พร้อมเฉพาะ ซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก";
เธอย่อมทำการ ฝึกหัดศึกษาว่า "เราเป็น ผู้ทำกาย สังขารให้ รำงับอยู่ หายใจเข้า", ว่า "เราเป็น ผู้ทำ กายสังขารให้ รำงับอยู่ หายใจออก";
เธอย่อมทำ การฝึกหัด ศึกษาว่า "เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่ง ปีติ หายใจเข้า",
ว่า "เราเป็น ผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งปีติ หายใจออก";
เธอย่อมทำ การฝึกหัด ศึกษาว่า "เราเป็น ผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า",
ว่า "เราเป็นผู้รู้ พร้อมเฉพาะ ซึ่งสุข หายใจออก";
เธอย่อมทำ การฝึกหัด ศึกษาว่า "เราเป็น ผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า", ว่า "เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่ง จิตตสังขาร หายใจออก";
เธอย่อมทำ การฝึกหัด ศึกษาว่า "เราเป็น ผู้ทำ จิตตสังขารให้ รำงับอยู่ หายใจเข้า", ว่า "เราเป็น ผู้ทำจิตต สังขารให้ รำงับอยู่ หายใจออก";
เธอย่อมทำ การฝึกหัด ศึกษาว่า "เราเป็น ผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า",
ว่า "เราเป็นผู้รู้ พร้อมเฉพาะ ซึ่งจิต หายใจออก";
เธอย่อมทำ การฝึกหัด ศึกษาว่า "เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า", ว่า "เราเป็นผู้ ทำจิตให้ ปราโมทย์ ยิ่งอยู่ หายใจออก";
เธอย่อม ทำการฝึกหัด ศึกษาว่า "เราเป็นผู้ทำจิต
ให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจ เข้า", ว่า "เราเป็นผู้ ทำจิตให้ ตั้งมั่นอยู่ หายใจออก";
เธอย่อม ทำการฝึกหัด ศึกษาว่า "เราเป็นผู้ทำจิตให้ ปล่อยอยู่ หายใจเข้า",
ว่า "เราเป็น ผู้ทำจิต ให้ปล่อย อยู่หายใจออก";
เธอย่อม ทำการฝึกหัด ศึกษาว่า "เราเป็น ผู้เห็นซึ่ง ความไม่เที่ยง อยู่เป็นประจำ หายใจเข้า", ว่า "เราเป็น ผู้เห็นซึ่ง ความไม่เที่ยง อยู่เป็นประจำ หายใจออก"; เธอย่อมทำ การฝึกหัด ศึกษาว่า "เราเป็น ผู้เห็นซึ่ง ความจางคลาย อยู่เป็น ประจำ หายใจเข้า",
ว่า "เราเป็นผู้เห็น ซึ่งความจาง คลายอยู่ เป็นประจำ หายใจออก";
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า "เราเป็น ผู้เห็นซึ่ง ความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า",
ว่า "เราเป็นผู้เห็น ซึ่งความดับ ไม่เหลืออยู่เป็น ประจำ หายใจออก";
เธอย่อมทำการ ฝึกหัด ศึกษาว่า "เราเป็น ผู้เห็นซึ่ง ความสลัดคืน อยู่เป็นประจำ หายใจเข้า",
ว่า "เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความสลัดคืนอยู่ เป็นประจำ หายใจออก";
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อานาปานสติ อันบุคคล เจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว อย่างนี้แล
ย่อมมี ผลใหญ่ มีอานิสงส์ ใหญ่.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญ แล้ว กระทำให้ มากแล้ว
อยู่อย่างนี้ ผลอานิสงส์ ๗ ประการ
ย่อมเป็น สิ่งที่หวังได้.
ผลอานิสงส์ ๗ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ?
ผลอานิสงส์ ๗ ประการ คือ :-
๑. การบรรลุ อรหัตตผล ทันทีใน ปัจจุบันนี้.
๒. ถ้าไม่เช่นนั้น ย่อม บรรลุอรหัตตผล ในกาลแห่งมรณะ.
๓. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะ สิ้นโอรัมภาคิย สัญโญชน์ ๕
ย่อมเป็น อันตราปรินิพพายี (ผู้จะปรินิพพาน ในระหว่าง อายุยังไม่ถึงกึ่ง).
๔. ถ้าไม่ เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิย สัญโญชน์ ๕
ย่อมเป็น อุปหัจจปรินิพพายี (ผู้จะปรินิพพาน เมื่อใกล้ จะสิ้นอายุ).
๕. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้น โอรัมภาคิย สัญโญชน์ ๕
ย่อมเป็น อสังขาร ปรินิพพายี (ผู้จะ ปรินิพพานโดย ไม่ต้องใช้ ความเพียรมากนัก).
๖. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้น โอรัมภาคิย สัญโญชน์ ๕
ย่อมเป็น สสังขาร ปรินิพพายี (ผู้จะปรินิพพาน โดยต้องใช้ ความเพียรมาก).
๗. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะ สิ้นโอรัมภาคิย สัญโญชน์ ๕
ย่อมเป็น อุทธังโสโตอก นิฏฐคามี (ผู้มี กระแสใน เบื้องบนไป สู่อกนิฏฐภพ).
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อานาปานสติ อันบุคคล เจริญแล้ว
กระทำให้ มากแล้ว อย่างนี้แล ผลอานิสงส์ ๗ ประการ
เหล่านี้ ย่อมหวัง ได้ ดังนี้