แพนิค - ซึมเศร้า โรคของแตงโม คืออะไร ? มาเจาะลึกกันให้มากขึ้น

เรียกได้ว่าเป็นข่าวดังมาแรงแซงทางโค้งกลบกระแสข่าวอื่นไปหมด สำหรับดาราสาว ‘แตงโม ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์' ที่กินยานอนหลับเกินขนาดหวังจบชีวิตลง หลังจากมีปัญหารุมเร้ามากมาย ซึ่งหลังจากออกมา นักแสดงสาวออกมาแถลงข่าวเปิดเผยถึงสาเหตุของการตัดสินใจชั่ววูบดังกล่าว ว่าเป็นเพรา อาการของโรค ที่เรียกว่า แพนิกและโรคซึมเศร้า จึงทำให้เธอรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่าเหมือนอยู่คนเดียวในโลก เกิดความเครียดสูง และอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เธอคิดสั้นขึ้นมา

กรณีดังกล่าวนี้ ทำให้ใครหลายคนต่างสงสัยว่าโรคแพนิก โรคซึมเศร้า คืออะไร แล้วทำไมถึงเกิดกับดาราสาวได้ วันนี้ ‘TEENEE.COM' จะพาไปเรียนรู้ และ ทำความเข้าใจกับเจ้าโรคดังกล่าวนี้ ว่า คือ อะไร และ มีสาเหตุมาจากไหน รวมทั้ง จะมีวิธีดูแลและรักษาอย่างไร ....

โรคแพนิค

เป็นโรคที่พบได้บ่อยในห้องฉุกเฉิน ชื่อโรคยังไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย เนื่องจากลักษณะอาการของโรคเป็นแบบจู่โจมบางคนเรียก"โรคตื่นตระหนก"บางคนอาจ เรียกโรคนี้ว่า "หัวใจอ่อน" หรือ "ประสาทลงหัวใจ" ผู้เขียนขอเรียกว่า "โรคแพนิค"ไปเลย เพราะเป็นศัพท์ที่สื่อถึงโรคที่มีอาการเฉพาะอยู่แล้ว ผู้ที่ประสบกับอาการแพนิคนั้นจะเป็นแบบทันที เกิดที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ อาการมักเป็นที่ระบบหัวใจและระบบทางเดินหายใจ เช่น รู้สึกใจสั่นหัวใจเต้นเร็วแรง อึดอัด แน่นหน้าอก หายใจไม่ทันหรือหายใจไม่เต็มอิ่ม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆร่วม เช่น ขาสั่น มือสั่น มือเย็น เวียนศีรษะ ท้องไส้ปั่นป่วน อาการเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นทำให้ผู้ประสบอาการเกิดความกลัวว่าตนเองจะตาย กลัวเป็นโรคหัวใจ บางคนกลัวว่าตนเองจะเป็นบ้าหรือเสียสติ อาการต่างๆมักเกิดขึ้นทันทีและค่อยๆรุนแรงขึ้นเรื่อยๆจนเต็มที่ประมาณ 10 นาที และคงอยู่ระยะหนึ่งแล้วค่อยๆทุเลาลง อาการมักจะหายภายในครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง หลังจากอาการแพนิคหายมักรู้สึกอ่อนเพลียและในช่วงไม่มีอาการมักเกิดความ กังวลว่าจะเป็นอีก

การดำเนินโรคหากไม่ได้รับการรักษาอาการแพนิคจะดำเนินโรคเป็นระยะต่างๆ ตามลำดับดังนี้

• ระยะที่ 1 เกิดอาการแพนิคขึ้น

• ระยะ ที่ 2 เกิดอาการแพนิค เมื่อหายมักกลัวกังวลว่าจะเป็นซ้ำ ผู้ป่วยไม่สามารถคาดล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดแพนิคขึ้นอีกครั้งเมื่อใด (unexpected)

• ระยะที่ 3 เชื่อว่าตนเองมีโรคร้ายแรงบางอย่างแต่แพทย์ตรวจไม่พบอาการ เช่น โรคปอด โรคหัวใจ หรืออัมพาต ทำให้ไม่กล้าทำงานตามปกติและมักวนเวียนไปให้แพทย์ตรวจเพื่อยืนยัน

• ระยะ ที่ 4 เริ่มกลัวและหลีกเลี่ยงต่อสถานที่หรือสถานการณ์ซึ่งผู้ป่วยรู้สึกว่าอาจทำ ให้เกิดอาการแพนิค เช่น ไม่กล้าไปไหนคนเดียว(Agoraphobia)

• ระยะที่ 5 มีความกลัวและหลีกเลี่ยงมากขึ้น

• ระยะ ที่ 6 เกิดอารมณ์เศร้า อาจถึงขั้นโรคซึมเศร้า เป็นผลจากมีอาการแพนิค มานาน แต่ผู้ป่วยยังไม่ทราบสาเหตุ ไม่หาย ไม่สามารถช่วยตนเองได้ทั้งๆที่ ร่างกายแข็งแรง เกิดความรู้สึกผิดหวังและละอายต่อครอบครัว บางรายอาจพบว่าหันไปพึ่งเหล้าหรือพยายามฆ่าตัวตาย

อาการแพนิคจะเกิด ที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้และคาดเดาได้ยาก ผู้ป่วยส่วนมากมักพยายาม หาสาเหตุและเชื่อมโยงกับเหตุการณ์แวดล้อมขณะเกิดอาการ เช่น เกิดอาการแพนิคขณะเดิน ห้างสรรพสินค้า ผู้ป่วยก็จะเชื่อมโยงอาการที่เกิดกับสถานที่และพยายามหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ เกิดอาการเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอาการและรู้สึกมั่นใจว่าตนสามารถควบคุม อาการได้ บางคนกลัวมากจนไม่กล้าออกไปไหนคนเดียวและไม่กล้าอยู่คนเดียวเพราะกลัวว่าถ้า เกิดอาการขึ้นอีกจะไม่มีใครช่วยทัน เรียกอาการกลัวนี้ว่า Agoraphobia

ใน บางรายอาจมีสาเหตุกระตุ้นจริง เช่น การออกกำลังกายหนัก ๆ หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน (ชา กาแฟ น้ำอัดลม ยารักษาโรคปวดศีรษะไมเกรน) สารเสพติด รวมถึงเหล้า ในกรณีแบบนี้ควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ นอกจากนี้โรคทางกาย เช่น โรคหัวใจ ภาวะต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ อาการก็คล้ายแพนิค ดังนั้นอย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าเป็นโรคแพนิคเลยทีเดียว กรณีนี้ควรได้รับการตรวจโดยแพทย์เพื่อแยกสาเหตุทางกายหรือสารกระตุ้นต่างๆ ก่อน เพราะการรักษาจะต่างจากโรคแพนิค

ขณะเกิดอาการผู้ป่วยส่วนมาก มักกลัวและรีบไปโรงพยาบาลในแผนกฉุกเฉินหรือแผนกเฉพาะโรคหัวใจหรือโรคทางเดิน หายใจ ตามอาการแสดงที่ประสบ แพทย์มักตรวจพบว่าร่างกายปกติดี รวมถึงการตรวจพิเศษเฉพาะ เช่น ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ(EKG) ตรวจอัลตร้าซาวน์หัวใจ (Echocardiogram) หรือตรวจเอ็กซเรย์ปอด มักพบว่าการทำงานของหัวใจและปอดยังปกติดี สร้างความไม่พอใจให้กับผู้ป่วยเพราะไม่ได้คำตอบของอาการที่ประสบ เมื่อเกิดอาการอีกก็จะไปโรงพยาบาลอื่นและมักได้คำตอบเดียวกัน ดังนั้นหากเกิดอาการแพนิคแล้วได้รับการตรวจร่างกายหรือตรวจพิเศษเฉพาะตาม สมควรแล้วยังไม่พบสิ่งผิดปกติทางร่างกายแล้ว โรคแพนิคน่าจะเป็นโรคที่ผู้ประสบอาการต้องพิจารณาและปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อได้รับการรักษาที่เหมาะสม

โรคแพนิคพบได้บ่อยในช่วงอายุวัยรุ่น ตอนปลายประมาณ 15-24 ปี และอีกช่วงในวัยผู้ใหญ่ประมาณ 30 ปี 

สาเหตุของโรคแพนิคเป็นผลทั้งปัจจัยทางชีวภาพ จิตใจและพฤติกรรมการเรียนรู้

• สาเหตุ ทางชีวภาพ โรคแพนิคถือเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม โดยเฉพาะ ผู้ป่วยที่มีอาการแพนิคตั้งแต่อายุน้อยๆ มักมีแนวโน้มมีญาติป่วยเป็นโรค แพนิคมากกว่าคนปกติ 2-4 เท่า การศึกษาระบบประสาทสารสื่อนำประสาท พบว่า ผู้ป่วยโรคแพนิคมีการทำงานของสารสื่อประเภท norepinephrine(NE) จากสมองส่วน locus ceruleus nucleus บริเวณ floor ของ 4th ventricle สูงขึ้น ซึ่งสาร NE ปกติจะมีผลกระตุ้นให้ระบบต่างๆของร่างกายทำงานมากขึ้น เช่น หัวใจเต้นเร็วขึ้น เหงื่อออกมากขึ้น เป็นต้น

• สาเหตุด้านจิตใจ พบว่าผู้ป่วยมักกำลังเผชิญกับความกังวล

• สาเหตุ ทางพฤติกรรมการเรียนรู้ ผู้ป่วยเชื่อมโยงเหตุการณ์และอาการแพนิค และเกิดพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ และเกิดอาการAgoraphobia

การรักษาโรคแพนิคจิตแพทย์จะใช้ยาที่มีผลกับสารสื่อ NE เพื่อลดอาการแพนิค ร่วมกับการดูแลทางด้านจิตใจ เพื่อรักษาอาการAgoraphobia

• การ ดูแลด้านจิตใจ สำหรับผู้ที่เกิดอาการ agoraphobia ต้องนำพฤติกรรมบำบัดมาช่วยฝึกผู้ป่วยให้สามารถออกจากบ้านด้วยตนเองคนเดียว ได้ ควบคู่ไปกับการรักษาด้วยยา โดยผู้ป่วยจะได้รับการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อหรือให้รับประทานยาคลายกังวล ก่อนเริ่มฝึกประมาณ 15-30 นาที และให้ผู้ป่วยออกจากบ้านคนเดียวหรือมีผู้อื่นออกไปด้วยจนถึงระยะทางไกลสุด เท่าที่ทนได้แล้วพัก เพิ่มระยะทางขึ้นทีละน้อยทุกวัน จนสามารถออกจากบ้านคนเดียวได้ตามปกติเหมือนผู้อื่น

• การให้ยา เพื่อปรับสมดุลของสารสื่อ NE ในการรักษาระยะเริ่มแรกจิตแพทย์จะให้ยาในกลุ่มbenzodiazepine เช่น Alprazolam, Clonazepam ปรับขนาดตามอาการแพนิคและอาการข้างเคียงทุกสัปดาห์จนสามารถควบคุมอาการได้ ปกติใช้เวลาปรับยาประมาณ 4-6 สัปดาห์ และจิตแพทย์จะคงยาในขนาดสูงสุดนั้นต่ออีก 4-8 สัปดาห์ แล้วจึงค่อยๆ ลดยาลงจนถึงขนาดต่ำสุดที่สามารถควบคุมอาการได้จนครบ 6 เดือน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการกำเริบซ้ำ จากนั้นเป็นช่วงลดยาจนหมดภายใน 4-8สัปดาห์ อาจให้ยาเฉพาะเมื่อเกิดอาการ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมั่นใจมากขึ้นว่าสามารถดูแลตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งห้องฉุก เฉินเพื่อฉีดยาทุกครั้ง การให้ยา benzodiazepine เพียงอย่างเดียวในระยะเวลานานในผู้ป่วยโรค แพนิคไม่ทำให้เกิดการติดยาหรือดื้อยา

การให้ยาต้านเศร้ามีหลักการ ปรับเพิ่มและลดขนาดยาคล้ายกับการใช้ยากลุ่ม benzodiazepine แต่ขนาดเริ่มต้นในการรักษาโรคแพนิคนั้นจะน้อยกว่าโรคซึมเศร้า อาจใช้ยากลุ่ม Tricyclic antidepressants เช่น Amitriptyline, Nortriptyline, Imipramine พึงระวังในช่วงการลดยากลุ่มนี้หากลดยาอย่างรวดเร็วอาจเกิดอาการกังวล กระวนกระวาย หรือนอนไม่หลับได้ หรืออาจใช้ยาต้านเศร้ากลุ่มใหม่ เช่น SSRIs( เช่น Sertraline,Citralopam, Paroxetine, Fluoxetine ) ยากลุ่มนี้อาจทำให้เกิดอาการของโรคเลวลงในช่วงต้นสัปดาห์แรกโดยเฉพาะ Fluoxetine แต่ผลระยะยาวดีเหมือนยากลุ่ม Tricyclic Antidepressants

กล่าว โดยสรุปโรคแพนิคเกิดอาการแพนิคขึ้นมาเอง โดยไม่มีสาเหตุกระตุ้น และ คาดเดาไม่ถูก ว่าเมื่อไหร่จะเกิดอาการ การไม่รู้ว่าตนเองกำลังเป็นอะไรจะยิ่งเพิ่มความตื่นตระหนกให้รุนแรงขึ้น อาการแพนิคนั้นไม่มีอันตราย แต่ทำให้เกิดอาการไม่สบายเท่านั้น หากได้รับการประเมินทางกายแล้วไม่พบความผิดปกติใดๆ โรคแพนิคเป็นอีกโรคที่ต้องนึกถึง

 และการรักษาโดยจิตแพทย์จะช่วยให้อาการดีขึ้นอย่างแน่นอน


แพนิค - ซึมเศร้า โรคของแตงโม คืออะไร ? มาเจาะลึกกันให้มากขึ้น

ขอบคุณข้อมุล พญ. มธุรดา สุวรรณโพธิ์
thaipsychiatry.wordpress.com
เรียบเรียงโดย teenee.com


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์