รู้ลึกรู้จริงเรื่องสารให้ความขาว ขาวโอโม่ กลูต้าไธโอน ที่หลายคนโดนหลอก
กลูตาไธโอนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เซลล์ในร่างกายมนุษย์สามารถสังเคราะห์ได้เอง มีคุณสมบัติเป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ในการปกป้องเนื้อเยื่อไม่ให้ถูกทำลายโดยสารอนุมูลอิสระที่สะสมอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกาย กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย และที่สำคัญยังช่วยตับในการทำลายและขจัดสารพิษออกจากร่างกายด้วย
2ร่างกายผลิต กลูตาไธโอนได้หรือไม่
เซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายสามารถผลิตกลูตาไธโอนได้เอง และถูกผลิตมากที่สุดที่ตับ ปอด ไต ม้าม ตับอ่อน และเลนส์แก้วตา สรุปร่างกายสามารถสร้างได้ แพทยืตรวจพบว่าคนที่สุขภาพดีมีกลูต้าไธโอนสูง กว่าคนป่วย
3. ค้นพบได้อย่างไร
ในทางการแพทย์พบว่ามีการนำกลูตาไธโอนมาทดลองใช้ในการรักษาโรคต่างๆ ซึ่งยังไม่ได้รับการอนุมัติข้อบ่งใช้จากองค์การอาหารและยา ผลข้างเคียงอย่างหนึ่งที่น่าแปลกใจ คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการฉีดกลูตาไธโอนนั้นมีสีผิวที่ขาวขึ้น จึงมีคนหัวใสนาำจุดนี้มาทำการตลาด
4.กินแล้วขาวช้าแต่ขาวชัวส์จริงหรือไม่
ไม่จริงค่ะ ผลิตภัณฑ์กลูตาไธโอนที่มีขายกันทั่วไป ในรูปแบบผงและเม็ด สามารถถูกทำลายได้ในทางเดินอาหารของมนุษย์ ดังนั้นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการรับประทานกลูตาไธโอนในรูปแบบของยารับประทานนั้นแทบจะไม่มีเลย เกือบเท่ากับ 0
5. ฉีดเลยดีกว่าขาวไว
เมื่อกินไม่ได้ผล หลายคนจึงหันไปฉีด การฉีดในปริมาณที่มาก ได้ผลขาวขึ้นจริง แต่ขาวเพียวชั่วครู่เท่านั้นค่ะ หากโชคร้ายอาจโดนยาปลอม!!! หมอปลอมอีก!!! การฉีดยาจำเป็นต้องกระทำโดยผู้ประกอบวิชาชีพที่เชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการให้ยา เช่น การฉีดยาในอัตราที่เร็วเกินไป การติดเชื้อในกระแสเลือดจากเครื่องมือที่ไม่สะอาดเกิดฟองอากาศอุดตันหลอดเลือด อาจทำให้เสียชิวิตได้ทันที
6.ทาทุกวันขาวชัวส์ จริงหรือไม่
สารกลูตาไธโอน เมื่อนำมาผสมในผลิตภัณฑ์ประเภทครีม หรือเจล สำหรับทาผิวหนัง เพื่อหวังให้ผิวขาวนั้น จะไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ เพราะโมเลกุลสารนี้ค่อนข้างใหญ่ ไม่สามารถซึมผ่านผิวหนังได้ สาวๆมักถูกหลอกจากผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
7. มีอย. ต้องปลอดภัยสิ!!!
หลายคนหลอกขายว่า กลูต้าไธโอนมี อย.แล้วนะ ไม่จริงค่ะ ปัจจุบันที่พบทั่วไปในท้องตลาดเป็นยาเม็ดที่ อย.อนุญาตให้ขายเป็นอาหารเสริมนั้น ที่จริงเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์กลูตาไธโอนคือ อมิโนแอซิด เอ็นอะซิทิลซิสเตอีน ซึ่งโมเลกุลชนิดนี้ จะสามารถถูกดูดซึมเข้าทางเดินอาหารได้ง่ายและรวดเร็ว และจะไปรวมตัวกับโปรตีนอีก 2 ชนิด คือ อมิโนแอซิด ไกลซิน และ กลูตาเมทที่มีอยู่มากมายในกระแสเลือดจากอาหารที่รับประทานเข้าไป การรวมตัวของอมิโนแอซิดทั้ง 3 ชนิด ก่อให้เกิดเป็นโมเลกุลกลูตาไธโอนในกระแสเลือด
9. ผลข้างเคียง ของกลูตาไธโอน
หากได้รับมากไป อาจทำให้ ผิวหนังแดงความดันโลหิตต่ำหอบหืดเฉียบพลันิ อาจเกิด anaphylactic reaction จากการปนเปื้อนหรือความไม่บริสุทธิ์ นอกจากนี้ยังเป้นอันตรายต่อเด็กและสตรีมีครรภ์
http://www.mamaexpert.com/topic/11535