โหดเกิ๊น!! การรับน้องจากอินโดฯ คิดว่ามีแต่ไทย!!??


เห็นแล้วก็อึ๊งไปเลยคิดว่ามีแต่บ้านเราที่รับน้องแบบโหดๆ ที่ประเทศอินโดนีเซีย แรง และโหดม๊าก ก็ไม่เข้าใจนะว่าทำไมการรับน้องต้องรุนแรงและโหดขนาดนี้ จะมารับน้องหรือมาเป็นทหารกันแน่พี่ โหดเกิ๊น ก็อย่างที่รู้ๆกันอยู่กับการรับน้องของบ้านเราที่รุ่นพี่มักจะเล่นอะไรแผลงๆบางครั้งก็ออกแนวทะลึ่ง หรือบางครั้งก็ถึงขั้นมีการเสียชีวิตกันเลย แต่บรรดารุ่นพี่หาโหดก็ยังไม่เข็ดหลาบยังมีการจัดรับน้องแบบโหดๆกันอยู่ บางทีก็แอบคิดนะการรับน้องเกี่ยวอะไรกับการเรียนของเรา?

 


โหดเกิ๊น!! การรับน้องจากอินโดฯ คิดว่ามีแต่ไทย!!??


โหดเกิ๊น!! การรับน้องจากอินโดฯ คิดว่ามีแต่ไทย!!??


โหดเกิ๊น!! การรับน้องจากอินโดฯ คิดว่ามีแต่ไทย!!??


โหดเกิ๊น!! การรับน้องจากอินโดฯ คิดว่ามีแต่ไทย!!??


โหดเกิ๊น!! การรับน้องจากอินโดฯ คิดว่ามีแต่ไทย!!??

วันนี้ teenee.com ขอเสริมประวัติการรับน้องให้ได้ทราบกันเพื่อเป็นความรู้สักนิดนึงละกันเนอะ

ประเพณีการรับน้องเป็นประเพณีที่มีมานานแล้วทั่วโลก 

ทั้งในรูปแบบของแฟกกิง แรกกิง หรือ เฮซซิง ส่วนการรับน้องในสถาบันการศึกษานั้นเพิ่งจะเริ่มมีขึ้นประมาณ 700 ปีมาแล้วในทวีปยุโรป ต่อมาเมื่อชาวยุโรปไปตั้งถิ่นฐานในทวีปอเมริกาเหนือหรือเข้าไปยึดครองดินแดนต่างๆทั่วโลกเป็นอาณานิคม ก็นำเอาประเพณีการรับน้องเข้าสู่สถาบันการศึกษาติดตัวไปตามดินแดนต่างๆทั่วโลก เมื่อเวลาผ่านไปประเพณีรับน้องที่มาจากยุโรปนี้แม้ว่าจะเลือนหายไปจากทวีปยุโรปจนหมดสิ้นในยุคปัจจุบันแต่ประเพณีนี้กลับเบ่งบานในทวีปอเมริกาหนือและเอเชียจนสร้างปัญหาความรุนแรงให้เกิดขึ้นตามสถาบันการศึกษาจนเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ในประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐ แคนาดา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย ศรีลังกา รวมทั้งประเทศไทยด้วย จนกระทั่งสหประชาชาติเองต้องเอาประเด็นในเรื่องประเพณีรับน้องที่มีความรุนแรงมาใส่ในเรื่อง สิทธิมนุษยชนในเรื่องการศึกษาด้วย ผู้เขียนบทความ History of Greek Hazing ซึ่งเป็นชาวอเมริกันเชื่อว่าประเพณีการรับน้องมีรากเหง้ามาจากทวีปยุโรปโดยมาจากระบบ Penalism ในภาคพื้นยุโรป และระบบแฟกกิงในอังกฤษ ระบบ Penalism เกิดขึ้นในสมัยกลางประมาณ 700 ปีก่อน เนื่องจากเชื่อว่าน้องใหม่ที่เข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยยังขาดการศึกษาไม่เป็นอารยชนต้องผ่านการขัดเกลาด้วยความลำบากก่อนที่จะได้รับชีวิตใหม่ที่ดีในมหาวิทยาลัย เพื่อให้รู้จักประพฤติตัวให้เหมาะสมก็จะถูกบังคับให้ใส่ชุดแปลกๆ ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกเล่นตลกที่หยาบคายหรือถูกพวกว๊ากเกอร์รีดไถเงินหรืออาหารมื้อเย็น สองร้อยปีต่อมาระบบนี้ก็ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการตามมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วยุโรป แต่ว่าเป็นระบบที่อันตราย มีการบันทึกในเรื่องคนเจ็บและคนตายจนผู้ปกครองนักศึกษาหวาดกลัวประเพณีนี้ เมื่อสิ้นสุดสมัยกลางใน 100 ปีถัดมาระบบนี้จึงถูกยกเลิกไป

 

ประวัติการรับน้องในประเทศไทย


เริ่มจากในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลระหว่างคณะแพทยศาสตร์กับคณะวิทยาศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2474 ได้มีเหตุการณ์ไม่งามเกิดขึ้น คือ แบ็คของคณะแพทยศาสตร์ได้ถูกผู้เล่นในทีมตรงข้ามวิ่งเข้าต่อย ซึ่งสโมสรสาขาศิริราชสืบทราบว่าได้มีการตระเตรียมวางแผนการไว้ก่อนแล้ว จึงได้ส่งหลักฐานฟ้องร้องไปทางสโมสรกลางให้จัดการลงโทษ แก่ผู้กระทำผิดนั้น ต่อมา ได้มีการพิจารณาและไต่สวนกันหลายครั้ง แต่ในที่สุดบรรยเวกษ์ก็ได้อะลุ่มอล่วยให้เลิกแล้วกันไป นิสิตแพทย์ส่วนมากไม่พอใจ เนื่องด้วยนิสสิตคณะวิทยาศาสตร์บางส่วนจะต้องข้ามมาเรียนปีสองที่คณะแพทยศาสตร์ จึงได้มีเสียงหมายมั่นจะแก้มือด้วยประการต่าง ๆ ซึ่งไม่ต้องสงสัยว่าจะต้องรู้ไปถึงหูพวกที่เป็นต้นเหตุนั้น แต่ครั้นใกล้เวลาที่พวกใหม่จะต้องมาเรียนที่ศิริราช คณะกรรมการสโมสรสาขาศิริราชได้มีความเห็นว่า การแก้แค้นจะทำให้แตกความสามัคคี ดังนั้นชาวศิริราชจึงได้ตกลงเลือกทางกุศล คือ แทนที่จะใช้วิธีการบีบบังคับให้ขอขมา กลับจัดการเลี้ยงต้อนรับเป็นการแสดงการให้อภัยและเชื่อมความสามัคคีแทน

พิธียกโทษกลายมาเป็นประเพณีประจำคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งต่อมาคือประเพณีรับน้องข้ามฟากของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และได้ขยายวงกว้างออกไปยังหมู่คณะอื่น ๆ อีกด้วย

อย่างไรก็ดี ความเจริญมีมากขึ้นตามจำนวนปีที่ผ่านไป การต้องรับนิสสิตใหม่ได้แปรรูปตามไปด้วย ทำให้งานนี้ได้กลายเป็นโอกาสสำหรับโอ่อ่าและประกวดประขันกันต่าง ๆ

ส่วนกำเนิดการรับน้องแบบรุนแรงหรือระบบว๊ากสำหรับประเทศไทยซึ่งคนไทยทั่วไปเข้าใจว่าเป็น "ระบบโซตัส" มาจากโรงเรียนป่าไม้ภาคเหนือหรือวิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งกลายเป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปัจจุบัน รับระบบนี้มาใช้เป็นแห่งแรก โดยอาจารย์ในยุคบุกเบิกส่วนใหญ่ที่จบจากวิทยาลัยเกษตรกรรมลอสบานยอส (Los Baños)ที่เป็นส่วนหนึ่งของ มหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ ได้นำระบบว๊ากถ่ายทอดให้กับนิสิตนักศึกษา นอกจากนี้อาจารย์บางท่านก็ถูกส่งไปถึงมหาวิทยาลัยออริกอนสเตต (Oregon State University) และมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (Cornell University ) ที่สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นต้นฉบับของระบบว๊าก ประเพณีที่ว่านี้ก็คงติดตัวท่านเหล่านั้นเข้ามาเช่นกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2486 เมื่อมีการตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยในช่วงแรกนั้นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับนิสิตจากวิทยาลัยเกษตรกรรมเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ระบบว๊ากจึงถูกใช้ในการรับน้องด้วย

ผู้ที่นำระบบการกดดันรุ่นน้องเข้ามาคิดว่าเทคนิคกดดันกลั่นแกล้งเหล่านี้เป็นการละลายพฤติกรรม ลดทอนความต่างของฐานะให้นิสิตใหม่รู้สึกเท่าเทียม มีความรักสามัคคี ซึ่ง ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ได้พูดถึงที่มาของระบบว๊ากในหนังสือ "หนุ่มหน่ายคัมภีร์" ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ โดยให้ภาพการถ่ายทอดประเพณีการรับน้องจากสหรัฐอเมริกาสู่ไทยโดยผ่านมาทางฟิลิปปินส์ว่า "ตัวอย่างของการที่ประเพณีประเภทนี้แผ่ขยายเข้ามาในเมืองไทยจะเห็นได้ชัดในกรณีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คือประเพณีการคลุกโคลนปีนเสา...เห็นได้ชัดในอดีตอันแสนไกลของมหาวิทยาลัยคอร์แนล...ภาพเก่าๆ เกี่ยวกับอดีตของคอร์แนลมักจะมีรูปการปีนเสาทรมานแบบนี้ แต่นั่นก็ได้กลายเป็นอดีตไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ประเพณีการปีนเสานี้ก็ได้แผ่ขยายไปยังฟิลิปปินส์ ในสมัยนั้นฟิลิปปินส์เป็นเมืองขึ้นของสหรัฐอเมริกาอยู่ และคอร์แนลก็ได้มีส่วนร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ คอร์แนลมีคณะเกษตรที่ค่อนข้างมีชื่อเสียง ดังนั้นจึงได้เข้ามามีส่วนช่วยสร้างวิทยาลัยเกษตรที่ลอสบันยอส ประเพณีการปีนเสาก็ถูกถ่ายเทจากมหาวิทยาลัยเมืองแม่มายังมหาวิทยาลัยอาณานิคม"[5] จะเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยในประเทศไทยรับระบบการรับน้องแบบว๊ากในช่วงที่การรับน้องแบบนี้ยังเป็นที่นิยมในสหรัฐและฟิลิปปินส์อยู่



ขอบคุณที่มา :::: ettoday.net :: wikipedia


เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์