เจาะชีวิตแฝดสยามอิน-จัน กับความมหัศจรรย์ที่ต้อง พึ่งพากัน!
ปี พ.ศ. 2372 แฝดอิน-จัน มีอายุได้ประมาณ 18 ปี สยามเปิดประตูต้อนรับชาวต่างชาติจากทั่วโลก และได้มีเรือกำปั่นอเมริกันล าหนึ่งชื่อ "เดอะชาเคม" (The Sachem) เข้ามาเทียบท่าในกรุงเทพฯ มีนายเรือชื่อกัปตันคอฟฟิน ต่อมาเมื่อกัปตันชื่ออาเบล คอฟฟิน (Abel Coffin) และพ่อค้าชาวสก็อตชื่อโรเบิร์ต ฮันเตอร์ (Robert Hunter) ได้ตั้งห้างอยู่หน้าวัดประยูรวงศ์ ได้ทราบเรื่องฝาแฝดอิน-จันจึงเดินทางมาหา เมื่อเห็นแฝดอิน-จัน ว่ายน้ำไปขึ้นเรือและพายเรืออย่างคล่องแคล่ว ก็รู้สึกตื่นเต้นเป็นที่สุด พร้อมๆ วาดความคิดขึ้นมาทันทีว่า นี่แหละคือ "สินค้าตัวใหม่" จากแดนสยาม นายฮันเตอร์เข้ามาตีสนิทกับครอบครัวของอิน-จันอยู่ร่วมปี และได้ติดต่อกับแม่ของเด็กทั้งสองให้แฝดอิน-จันไปเปิดการแสดงที่โรง มหรสพ ของเขาในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างกับแม่ของอิน-จันว่าเพื่อแนะน าให้ชาวโลกได้รู้จัก ทางการสยามได้อนุญาตให้แฝดอิน-จัน เดินทางออกนอกราชอาณาจักรไปแสดงตามที่ต่างๆ ตามค าขอร้องของนายฮันเตอร์และกัปตันคอฟฟิน ซึ่งแม่ของแฝดอิน-จันก็ได้ตกลงและได้รับเงินจ านวน 1,600 บาท แฝดอิน-จันจึงได้ไปเปิดการแสดงที่สหรัฐอเมริกาโดยมีก าหนด 3 ปี จนกว่าทั้งคู่จะอายุครบ 21 ปี โดยอิน-จันได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน 50 เหรียญต่อเดือนหากแสดงในสหรัฐฯ ขณะที่เดินทางไปสหรัฐอเมริกานั้นแฝดอิน-จัน มีอายุได้ราว 18 ปี ซึ่งนับเป็นคนไทยคู่แรกที่ได้ไปถึงสหรัฐอเมริกา โดยได้เดินทางออกจากสยามเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2372 โดยมุ่งหน้าไปที่เมืองบอสตัน การเดินทางใช้เวลาถึง 138 วัน ในระหว่างนั้นก็ได้ฝึกภาษาอังกฤษกับพวกลูกเรือ เมื่อไปถึงสหรัฐฯ ค าว่า Siamese Twins จึงได้เกิดขึ้นแต่ครั้งนั้นมา แฝดอิน-จันเริ่มเปิดการแสดงที่เมืองบอสตันเป็นที่แรก ก่อนจะออกเดินทางแสดงทั่วอเมริกาอีกร่วม 10 ปี โดย สัญญาที่ท าไว้กับนายฮันเตอร์และกัปตันคอฟฟินจะสิ้นสุดลงเมื่อทั้งคู่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ โดยในช่วง 2 ปี แรก ทั้งคู่ก็ได้รับส่วนแบ่งค่าตอบแทน โดยมีกัปตันคอฟฟินเป็นผู้จัดการ แต่ดูเหมือนกัปตันเป็นผู้หาผลประโยชน์เสียมากกว่า แฝดอิน-จัน ถูกนำไปเปิดการแสดงโชว์ตัวตามประเทศต่างๆ ซึ่งท ารายได้ให้แก่กัปตันคอฟฟินและนายโรเบิร์ต ฮันเตอร์ เป็นอย่างมาก เมื่อแฝดอิน-จัน ไปแสดงที่ใดก็จะได้รับความสนใจ อย่างมาก วงการแพทย์ก็ให้ความสนใจขอตรวจร่างกาย แต่ก็ยังไม่มีการสรุปว่าจะสามารถผ่าตัดแยกร่างออกจากกันได้ เพราะเกรงว่าหากท าเช่นนั้นแล้วจะท าให้ทั้งสองถึงแก่ความตายได้ การแสดงของคู่แฝดไม่ได้มีจุดขายอยู่ที่ความแปลกประหลาด หรือได้แต่เดินไปมาให้ผู้ชมดูความเป็นแฝดตัวติดกันของตนเท่านั้น แต่อยู่ที่ความสุภาพ ความเฉลียวฉลาด และความสามารถอันน่าทึ่งของทั้งคู่ โดยทั้งสองได้ออกแบบการแสดงเองเพื่อให้เห็นถึงความว่องไวและพละก าลัง เช่น อิน-จันสามารถตีลังกาไปข้างหน้า-กลับหลังได้พร้อมๆ กัน และท้าผู้ชมมาดวลหมากกระดานกันสดๆ กลางเวที เล่นกายกรรม ตีแบดมินตัน
แถมทั้งคู่ยังมีอารมณ์ขันแบบสุดๆ เช่นคืนเงินครึ่งหนึ่งให้กับผู้ชมคนหนึ่ง โดยบอกว่าผู้ชมท่านนั้น ดูการแสดงด้วยตาเพียงข้างเดียว ต่อจากนั้นก็มีการนำอิน -จันไปแสดงที่อังกฤษ หลังจากเสร็จสิ้นการปรากฏตัวที่อังกฤษแล้ว นายคอฟฟินต้องการพาอิน-จันไปฝรั่งเศส แต่รัฐบาลของฝรั่งเศสปฏิเสธค าขอ เพราะเห็นว่าทั้งคู่เป็นอสุรกาย ซ้ าเกรงว่าจะมีผลเสียหายต่อเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกรงว่าหากหญิงมีครรภ์เห็นเข้า ก็จะท าให้ลูกเกิดมาผิดปกติ อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2378 (ค.ศ. 1835) อิน-จันก็ได้มีโอกาสไปปรากฏตัวในประเทศฝรั่งเศส แฝดอิน-จัน ท างานกับคอฟฟินจนกระทั่งครบสัญญาในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2375 (ค.ศ. 1832) หลังเขาทั้งสองได้แยกตัวออกจากคณะมหรสพอย่างเป็นทางการ และเปิดการแสดงอย่างอิสระ ตระเวนออกแสดงทั่วสหรัฐฯ และอังกฤษ ทำให้รายได้เพิ่มมากขึ้นจนมีฐานะร่ ารวย หลังจากการตระเวนแสดงให้คนดูในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่หลายปี แฝดอิน-จัน ได้พบเห็นบ้านเมืองและภูมิประเทศต่างๆ มากมาย พร้อมกับได้เรียนรู้ภาษาและขนบธรรมเนียมของอเมริกันชนจนเจนจบ ทั้งคู่จึงตกลงใจเปลี่ยนสัญชาติเป็นอเมริกัน และการตระเวนเปิดการแสดงตามที่ต่างๆ ท าให้พวกเขาพอมีเงินที่จะซื้อที่ดินได้ โดยทั้งสองท ารายได้ทั้งหมดประมาณ 60,000 เหรียญสหรัฐฯ ดังนั้นเมื่อทั้งคู่มีอายุได้ 28 ปี ใน พ.ศ. 2382 จึงได้ลงหลักปักฐานที่ต าบลแทรพฮิลล์ ในมลรัฐนอร์ท แคโรไลนา โดยซื้อที่ดินเพื่อปลูกบ้านอยู่ และสามารถซื้อที่ดินท าไร่เป็นของตัวเองบนเนื้อที่ 150 เอเคอร์
แฝดอิน-จันหันไปทำไร่ยาสูบจนประสบความสำเร็จ มีฐานะร่ ารวยขึ้น ต่อมาพวกเขาได้ใช้นามสกุลว่า บังเกอร์ (Bunker) ในปี พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) เพื่อให้มีสิทธิเป็นชาวอเมริกัน เพราะทางการไม่ยอมให้โอนสัญชาติหากไม่มีชื่อสกุลเป็นคริสต์ ทั้งคู่เป็นคนไทยค่แรกที่ขอโอนสัญชาติ เมื่อมีอายุได้ 31 ปี อินและจันได้พบรักและแต่งงานพร้อมๆ กัน อินแต่งงานกับมิสซาร่า เยสท์ หรือแซลลี เยตส์ อายุ 20 ปี ส่วนจัน แต่งงงานกับมิสอาดิเลด เยสท์ อายุ 19 ปี โดยทั้งสองคู่ได้ท าพิธีแต่งงานที่โบสถ์เมธอดิสท์ ในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2386 (ค.ศ. 1843) โดยอิน-จันปลูกบ้านให้ภรรยาอยู่คนละหลัง ห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตร แรกทีเดียวทั้งสี่คนนั้นอาศัยอยู่ด้วยกันในบ้านหลังเดียวกัน ภรรยาของแฝดอิน-จันเป็นลูกสาวของหมอสอนศาสนา ทั้งคู่ได้มีบุตรคนแรกในเวลาไล่เลี่ยกันโดยห่างกันเพียง 6 วัน อินมีลูก 11 คน จันมีลูก 10 คน ระยะเวลาเพียงสิบกว่าปี สองครอบครัวมีลูกรวมกัน 21 คนพอดี ไม่ปรากฏว่าลูกคนใดมีความผิดปกติ นอกจากมีบันทึกว่า 2 คนเป็นใบ้
กระทรวงการต่างประเทศ นำฝาแฝดคู่นี้ไปประเทศสหรัฐอเมริกา มีกำหนดสามปี โดยจ่ายเงินให้แก่แม่ของอิน - จัน เป็นเงิน ๑,๖๐๐ บาท ฝาแฝดอิน - จัน ได้ไปแสดงตัวที่เมืองบอสตัน ในสหรัฐอเมริกา เป็นแห่งแรก ผู้คนพากันมาชมกันเป็นจำนวนมาก เมื่อ อิน - จัน บรรลุนิติภาวะก็ได้แยกตัวออกจากมิสเตอร์ฮันเตอร์ แล้วไปแสดงในที่ต่าง ๆ มีคนมาชมเป็นจำนวนมากทั้งสองช่วยกันคิดแบบการแสดงต่าง ๆ ให้เห็นความว่องไวและพละกำลัง มีการหกคะเมนตีลังกา เป็นต้น จนหาเงินได้ร่ำรวย สามารถซื้อที่ดินทำไร่ที่รัฐนอร์ธแคโรไลนา เมืองเวิลด์โปโร เริ่มกิจการทำไรยาสูบที่รัฐเวอร์จิเนีย ประสบผลสำเร็จอย่างดี มีทาสและคนงานในไร่ถึง๓๓ คน พออายุได้ ๓๒ ปี ทั้งสองก็ได้แต่งงานกับหญิงชาวอเมริกันสองคน ทั้งคู่มีลูกชายและลูกสาวหลายคน ต่อมาทั้งสองได้เดินทางไปแสดงที่ยุโรปหลายครั้งทั้งสองถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๗ เมื่ออายุได้ ๖๓ ปี ทั้งสองสิ้นใจห่างกันสองชั่วโมง และเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่อิน - จัน ที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย ทางจังหวัสมุทรสงคราม จึงได้สร้างอนุสรณ์สถานแฝดอิน-จัน ขึ้นที่ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมือง ฯพื้นที่บริเวณเดียวกับที่จะสร้าง พิพิธภัณฑ์เรือ โดยมีเนื้อที่ถึง10 ไร่เศษ โดยสร้างรูปหล่อแฝดสยามขนาดเท่าครึ่งของตัวจริง และในส่วนบริเวณรอบรอบ ทางจังหวัดสมุทรสงครามได้ปรับปรุงทัศนียภาพรอบอนุสรณ์สถานแฝดอิน-จัน เพื่อให้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ สถานที่ออกกำลังกาย สนามเด็กเล่น และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง ของจังหวัดสมุทรสงคราม
ชื่อเสียงของอิน-จัน ทำให้เกิดคำเรียกแฝดตัวติดกันว่า แฝดสยาม (Siamese twins) ตามชื่อเรียกประเทศไทยในเวลานั้น ทั้งคู่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2417
ภาพประกอบจาก ชมรมประวัติศาสตร์สยาม