เข้าใจแจ่มแจ้ง!!!ไม่มีเลือดออก แต่ทำไมถึงเป็นไข้เลือดออก!!??
>> คนที่ถูกยุงลายกัดจะเป็นไข้เลือดออกทุกคนหรือไม่
คนจะเป็นโรคก็ต่อเมื่อถูกยุงลายที่มีเชื้อไวรัสเดงกีกัด โดยส่วนใหญ่ยุงจะมีเชื้อนี้ หลังกัดคนที่เป็นโรค ส่วนน้อยยุงจะได้รับเชื้อนี้โดยถ่ายทอดมาจากแม่ของมัน นอกจากนี้แม้จะถูกยุงที่มีเชื้อกัดก็ไม่จำเป็นที่จะเป็นโรคทุกคน มีการศึกษาพบว่าคน ที่ติดเชื้อนี้ 1 ใน 4 จะเป็นโรคร้อยละ 6 ของผู้เป็นโรคจะมีอาการรุนแรง และ ร้อยละ 1 ของผู้ที่มีอาการรุนแรงจะเสียชีวิต แต่เนื่องจากเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า ยุงลายตัวไหนมีเชื้อนี้อยู่ และถ้าเราถูกกัดเราจะเป็นโรครุนแรงแค่ไหน ดังนั้นเราต้อง ระมัดระวังไม่ให้ถูกยุงกัด
>> คนที่เป็นไข้เลือดออกจะมีอาการมากและต้องนอนโรงพยาบาลทุกคนหรือไม่
โรคไข้เลือดออกเป็นได้ตั้งแต่อาการน้อยจนถึงเสียชีวิต คนไข้บางคนที่มีอาการ น้อย ในตอนแรกๆ หมออาจคิดว่าเป็นโรคอื่น ดังเช่น
ดังที่กล่าวไว้ตอนต้นว่าคนที่ติดเชื้อไวรัสเดงกีแล้วเป็นโรค จะมีร้อยละ 6 ที่อาการ รุนแรง เหมือนเด็กชายแกร่ง ซึ่งเราเรียกว่า "โรคไข้เลือดออก" แต่อีกร้อยละ 94 จะมี อาการไม่มาก ในกลุ่มที่อาการไม่มากยังแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มหนึ่งมีไข้สูง ปวดหัว ปวดเมื่อยตัวมาก แต่มักไม่มีเลือดออกหรืออาการรุนแรงอื่น เราเรียกว่า "โรคไข้เดงกี (dengue fever)"อีกกลุ่มหนึ่งจะมีไข้ คล้ายไข้หวัดใหญ่หรือไข้จาก สาเหตุอื่น ซึ่งแม้แต่หมอบางครั้งก็ไม่สามารถบอกได้ชัดเจน ต้องเจาะเลือดตรวจจึงจะทราบ
เราพอจะรู้ได้โดยดูจากอาการคนไข้ โรคไข้เลือดออกโดยทั่วไปจะกินเวลา 2-9 วัน สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะไข้ ระยะช็อก และระยะฟื้น แต่ถ้าเป็น แบบไม่รุนแรงก็จะไม่มีระยะช็อก
+ ระยะไข้ มักกินเวลา 2-7 วัน คนไข้มักจะมีอาการไข้สูง ปวดเมื่อยตัว เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน หากรัดต้นแขนดู จะพบว่าหลังรัดแขนจะมีจุดเลือดออก เล็กๆ ที่ข้อพับศอกหลายจุด [หรือที่หมอเรียกว่า "การทดสอบทูนิเกต์ (tourniquet test)"] คนไข้มัก จะไม่เป็นอันตรายในระยะนี้ แต่จะเป็นอันตรายในระยะต่อไป
+ ระยะช็อก ซึ่งระยะนี้ไข้จะลดลง แต่คนไข้อาจมีเลือดออกหรือช็อกจนเสียชีวิตได้ เราสามารถสังเกตได้ว่าคนไข้เข้าสู่ระยะช็อกหรือไม่ โดยเมื่อเข้าสู่ระยะนี้ไข้จะลดลง แต่คนไข้จะแย่ลง เช่น ซึมหรือกระสับกระส่าย มือเท้า เย็นชืด หน้ามืด เป็นลม ความ ดันโลหิตต่ำ (ที่เราเรียกว่า 'ช็อก') ปวดท้อง ปัสสาวะออกน้อยลง บางคนมีเลือดออก เช่น เลือดกำเดาไหล หรืออาเจียน ระยะนี้ถ้าให้การรักษาถูกต้องทันท่วงที หรือคนไข้ การไม่รุนแรงมากนัก ก็จะหายเข้าสู่ระยะพักฟื้น แต่ถ้ารักษาไม่ทันท่วงที หรือไม่ ถูกต้อง หรือมีภาวะแทรกซ้อน คนไข้ก็อาจเสียชีวิตได้
+ ระยะฟื้น โดยอาการทั่วไปจะดีขึ้น บางคนมีผื่นขึ้นตามตัว กินอาหารได้มากขึ้น ในระยะที่มีไข้ บางครั้งเป็นการยากที่จะบอกว่า คนไข้คนไหนเป็นไข้เลือดออก แต่โดยทั่วไปอาการที่ต้องระวังว่าอาจเป็นไข้เลือดออก โดยเฉพาะในช่วงที่โรคนี้ ระบาด คือ ไข้สูง หน้าแดง คลื่นไส้ อาเจียนบ่อย รัดแขนแล้วพบจุดเลือดออก อย่างไร ก็ตาม การรัดแขนแล้วพบจุดเลือดออก อาจเกิดจากโรคอื่น เช่น การติดเชื้อไวรัสอื่น ได้ดังนั้นหมออาจจะเจาะเลือดตรวจ โดยหากพบว่าเกล็ดเลือดต่ำผิดปกติ ก็จะช่วย สนับสนุนว่าเป็นโรคไข้เลือดออก แต่ถ้าให้แน่นอน หมอต้องส่งตรวจหาเชื้อไวรัสเดงกี ในเลือด แต่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และการตรวจหาเชื้อจะบอกเพียงว่าคนไข้ติดเชื้อ หรือไม่ แต่ไม่บอกว่าจะมีอาการรุนแรงหรือไม่
เรามักไม่สามารถทำนายว่าใครจะเป็นรุนแรง แต่โดยทั่วไปคนที่เสี่ยงต่อการเป็น โรครุนแรงคือ เด็กเล็กๆ คนที่อ้วนมาก คนที่อาเจียนมาก กินอาหารไม่ได้ ซึมหรือ ไม่รู้ตัว มีเลือดออก หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ตับ ไต
ที่สำคัญคือ คนที่เป็นโรครุนแรง คือ คนไข้ที่ช็อก (ไม่จำเป็นต้องมีเลือดออก) ซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตได้ แต่คนไข้ที่ไม่ช็อก เกือบไม่พบว่ามีใครเสียชีวิตเลย ดังนั้นต้อง คอยระวังว่าในระยะช็อก (มักเป็นวันที่ไข้ลง) หากคนไข้มีอาการปวดท้อง กระสับ กระส่าย ไม่กินอาหาร มือเท้าเย็น จะเป็นอาการเตือนว่าคนไข้จะช็อก ต้องรีบหาหมอ ก่อนที่คนไข้จะช็อกจริงๆ (ขอเน้นว่าคนที่มีเลือดออกมีโอกาสเป็นโรครุนแรง แต่คนที่ เป็นโรครุนแรงอาจไม่มีเลือดออกให้เห็นเลย ดังนั้นจึงขอดูอาการช็อกมากกว่า เลือดออก)
>> การรักษาทำอย่างไร
เนื่องจากโรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะจึงเป็นการรักษาตามอาการคือ ให้ยาลดไข้ โดยยาลดไข้ที่ใช้ต้องไม่กัดกระเพาะหรือทำให้เลือดออกง่าย ยาที่ค่อนข้างปลอดภัย คือพาราเซทตามอล แต่ต้องระวังว่าอย่าใช้ยานี้เกินขนาด ควรใช้ยาตามฉลากยาหรือ ตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เคยมีคนไข้ได้รับยาเกินขนาด เนื่องจากพอกินยาแล้วไข้ ไม่ลดลง (ซึ่งเป็นธรรมชาติของโรคนี้) มารดาจึงป้อนยาให้คนไข้บ่อยมากจนเป็นพิษต่อ ตับ ดังนั้น หากกินยาลดไข้ แล้วยังมีไข้สูง ให้เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นร่วมด้วย และกินยาซ้ำ ทุก 4-6 ชั่วโมง
ในคนไข้ที่มีอาการอาเจียนบ่อย หมอจะให้ยาแก้อาเจียนและน้ำเกลือชนิดกิน และ อาจรับไว้รักษาในโรงพยาบาลหากเห็นว่าคนไข้มีอาการรุนแรง (เช่น ไข้สูงมาก ชัก อาเจียนบ่อยมาก กินอาหารไม่ได้ มีเลือดออกง่าย ซึม หรือตรวจเลือดแล้วพบเกล็ด เลือดต่ำ)หรือกำลังจะเข้าสู่ระยะช็อก โดยการรักษาที่สำคัญจะเป็นการให้น้ำเกลือทาง เส้นเลือด จนกว่าคนไข้จะเข้าสู่ระยะฟื้น
หลายครั้งที่โรคไข้เลือดออกมีอาการคล้ายโรคนี้มาก ทำให้หมอวินิจฉัยไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันแรกๆ ที่อาการไม่ชัด ดังนั้นหากหลังจากหมอตรวจรักษาแล้ว ไม่ดีขึ้น หรือมีอาการคล้ายไข้เลือดออก ควรหาหมอซ้ำ ซึ่งการตรวจในวันหลังๆ จะเห็นอาการโรคชัดขึ้น
>> ผู้ใหญ่เป็นโรคนี้ได้หรือไม่
โรคนี้พบบ่อยในเด็กอายุ 5 ถึง 15 ปี แต่ปัจจุบันเราพบว่าผู้ใหญ่เป็นโรคนี้ มากขึ้นและผู้ใหญ่มักมีเลือดออก (เช่น อาเจียนเป็นเลือด) ได้บ่อยกว่าเด็ก จึงต้อง ระวังโรคนี้เช่นเดียวกับเด็ก
>> จะป้องกันโรคนี้ได้อย่างไร
หากไม่อยากเป็นโรคนี้ ต้องระวังอย่าให้ถูกยุงกัด โดยยุงลายชอบหากินในเวลา กลางวัน ดังนั้นต้องระวังไม่ให้ยุงกัดทั้งกลางวันและกลางคืน ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ยุงลาย เช่น กระถาง แจกัน โอ่งน้ำ ยางรถยนต์ โดยการทำลายทิ้ง หรือเปลี่ยนถ่ายน้ำ ทุก 7 วัน หรือใส่ทรายเคมีกำจัดลูกน้ำ หรือเลี้ยงปลากินลูกน้ำตามความเหมาะสม
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ แต่ก็มีนักวิจัยที่กำลังศึกษาวัคซีนนี้อยู่ ซึ่งอาจ ประสบความสำเร็จในเร็วๆนี้