การศึกษาครั้งนี้ นักวิจัยได้ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคเนยกับการเป็นโรคเรื้อรังและการเสียชีวิตด้วยโรค โดยได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการแล้ว
นักวิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากการศึกษาครั้งที่ผ่านมาหลายครั้ง ตลอดจนวิเคราะห์ฐานข้อมูลออนไลน์ทางการแพทย์หลายครั้ง จนในที่สุดได้ข้อมูลจากการศึกษา 9 ครั้งที่ค่อนข้างชัดเจน รวมประเทศที่ทำการศึกษาทั้งหมด 15 ประเทศ มีประชากรในการศึกษาครั้งนี้ทั้งหมด 636,151 คน ซึ่งในบางคนมีการศึกษาต่อเนื่องหลายปี หากจำแนกแล้วจะคิดเป็นทั้งหมด 6.5 ล้านคน-ปี
ในจำนวนนี้ มีการเสียชีวิตเกิดขึ้นทั้งหมด 28,271 เคส เป็นโรคทางเดินโลหิต 9,783 เคส และเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ทั้งหมด 23,954 เคส หลังจากนั้น นักวิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่นี้
ปริมาณการบริโภคเนยระดับมาตรฐานในการศึกษาครั้งนี้ถูกกำหนดไว้ที่ 14 กรัมต่อวัน ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณที่กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาได้ประมาณเอาไว้ (เทียบเท่ากับปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ) โดยรวมแล้ว การบริโภคเนยของประชากรในการศึกษาครั้งนี้มีตั้งแต่ 0.3 จนถึง 3.2 หน่วยบริโภคต่อวัน
แต่นักวิจัยได้พบว่า ไม่ว่าจะทานเนยมากหรือทานเนยน้อยก็ไม่ได้มีผลกระทบมาก นักวิจัยไม่พบความสัมพันธ์ที่มมีนัยสำคัญระหว่างปริมาณการบริโภคเนยกับการเสียชีวิต การเป็นโรคทางเดินโลหิต หรือโรคเบาหวานเลย
"แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วคนที่ทานเนยมักจะเป็นคนที่ไม่ค่อยควบคุมอาหารหรือไม่ได้มีการใช้ชีวิตที่ดี แต่โดยรวมแล้วก็ถือว่าเป็นคนปกตินะ"
"อาจจะเป็นการบอกว่า เนยนั้นเป็นอาหารที่อยู่กลางๆ ถือว่าเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าน้ำตาลและแป้ง และโดยทั่วไปคนก็ทาเนยกับขนมปังขาวหรือใช้กับมันฝรั่ง ซึ่งอาหารเหล่านี้อาจจะไปเพิ่มความเสี่ยงให้เป็นโรคอ้วนหรือโรคทางเดินโลหิต"
"ในขณะเดียวกัน เนยก็เป็นอาหารที่แย่กว่ามาการีนหรือน้ำมันปรุงอาหาร ทีอุดมไปด้วยไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันคาโนลา น้ำมันมะกอก ถือว่ามีความเสี่ยงน้อยกว่าเนย แป้ง และน้ำตาล"
"กล่าวโดยรวมแล้ว การศึกษาของเราบอกว่า เนยไม่ได้เป็นทั้งปีศาจร้าย และไม่ได้เป็นพระเอกที่ทำให้เรามีสุขภาพที่ดี"
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังต้องศึกษาต่อไปเพื่อหาสาเหตุของผลที่ได้ในครั้งนี้
ที่มา : vcharkarn.com