เตือน! พ่อแม่อย่ามองข้าม เมื่อลูกสูงไม่ทันเพื่อน


เตือน! พ่อแม่อย่ามองข้าม เมื่อลูกสูงไม่ทันเพื่อน

คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจจะไม่ทราบว่า "ต่อมไร้ท่อ" นั้นกระจายอยู่ไปทั่วร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ ต่อมเคียงไทรอยด์ ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของแคลเซียม และมีคุณพ่อคุณแม่อีกหลายท่านจะมีความวิตกกังวลมาก กลัวลูกจะไม่สูงเท่าเทียมกับเด็กคนอื่นๆ จึงมักจะปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับ เรื่องการเจริญเติบโตของลูก แล้วจะมีวิธีใดที่จะช่วยเพิ่มความสูงของลูกได้บ้าง เกี่ยวกับเรื่องนี้กุมารแพทย์ด้านต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลธนบุรี 2 จะมาไขข้อสงสัยยอดฮิตของคุณพ่อคุณแม่และมีคำแนะนำในการเลี้ยงลูกให้เจริญเติบโตสมวัยมาฝากกัน



เกณฑ์ทางการแพทย์แล้ว จะถือว่า เด็กคนหนึ่ง "เตี้ย" กว่าเกณฑ์ เมื่อพบว่า ส่วนสูงของเด็กคนนั้น น้อยกว่า ร้อยละ 97 ของเพื่อนที่มี อายุ เพศ และ เชื้อชาติเดียวกัน ซึ่งในทางสถิติ ก็หมายความว่า จะยังมีเด็กอีกร้อยละ 3 ที่จะถูกจัดว่า เตี้ยกว่าเกณฑ์ แม้ว่าเขาจะเป็นเด็กที่ปกติ และมีสุขภาพแข็งแรงดีก็ตาม พ่อแม่ควรติดตามชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงของลูกทุก ๆ 3 เดือน และควรจดบันทึกการเจริญเติบโตของลูกลงในสมุดบันทึกสุขภาพ เพื่อติดตามดูการเปลี่ยนแปลงของลูก ว่าเพิ่มขึ้นตามวัยหรือไม่

นอกจากนี้ ให้ดูการเจริญเติบโตจากกราฟการเจริญเติบโตมาตรฐานของเด็กปกติ เพศเดียวกัน และเชื้อชาติเดียวกัน ถ้าความสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าวข้างต้น แนะนำให้มาพบแพทย์

เตือน! พ่อแม่อย่ามองข้าม เมื่อลูกสูงไม่ทันเพื่อน


นพ.สุพิชชา ปัจมนตรี กุมารแพทย์ด้านเบาหวานและต่อมไร้ท่อ กล่าวว่า ภาวะเด็กตัวเตี้ย อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ ภาวะตัวเตี้ยตามพันธุกรรม หรือภาวะตัวเตี้ยจากการเข้าสู่วัยหนุ่มสาวช้า ดังนั้น เมื่อใดที่คุณพ่อคุณแม่กังวลเรื่องลูกตัวเตี้ย ให้พาไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและช่วยเหลือแก้ไขตามสาเหตุนั้นๆ

พญ.วรรัตน์ กัจฉมาภรณ์ กุมารแพทย์ด้านต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม ได้กล่าวว่า การเจริญเติบโตของลูก โดยเรื่องของความสูงขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยเฉพาะ พันธุกรรม การดำรงชีวิต โภชนาการ และการพักผ่อนด้วยเช่นกัน ซึ่งการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอจะทำให้โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) หลั่งออกมา ซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักที่ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ช่วยกระตุ้นการสร้างและซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และยังช่วยเพิ่มความสูง โดยฮอร์โมนนี้จะหลั่งออกมาในช่วงที่ร่างกายหลับสนิท หมายความว่า คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูก ๆ นอนหลับให้เพียงพอประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน โดยโกรทฮอร์โมนจะหลั่งออกมาในช่วงเวลาตั้งแต่ เที่ยงคืน ถึงตี 5 ดังนั้นการเข้านอนให้หลับสนิทตั้งแต่หัวค่ำจึงมีผลต่อความสูงของลูกได้ค่ะ


เตือน! พ่อแม่อย่ามองข้าม เมื่อลูกสูงไม่ทันเพื่อน


รศ.พญ.สุภาวดี ลิขิตมาศกุล กุมารแพทย์ด้านเบาหวานและต่อมไร้ท่อ ยังกล่าวเสริมอีกว่า เด็กเตี้ยเป็นภาวะหรืออาการแสดงที่ทำให้เห็นว่าเด็กคนนั้นตัวเล็กกว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน สาเหตุที่ทำให้เด็กตัวเตี้ยมีหลายประการ ทั้งจากพันธุกรรมและจากโรคที่ซ่อนเร้นอยู่ หนึ่งในนั้นคือ ภาวะขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต

ฮอร์โมนเจริญเติบโต เป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากต่อมใต้สมอง หากต่อมใต้สมองไม่ผลิตฮอร์โมนเจริญเติบโตก็จะทำให้ระดับการเจริญเติบโตของเด็กต่ำกว่าที่ควรจะเป็น สาเหตุที่ทำให้ต่อมนี้ทำงานผิดปกติอาจเป็นพันธุกรรมบางอย่าง บางรายอาจมีหลายสาเหตุรวมกัน เนื่องจากการเจริญเติบโตของร่างกายเป็นผลรวมของปัจจัยต่างๆ ได้แก่ พันธุกรรม อาหาร ฮอร์โมนเจริญเติบโต สุขภาพกาย สุขภาพใจ และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น


เตือน! พ่อแม่อย่ามองข้าม เมื่อลูกสูงไม่ทันเพื่อน


นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตการเจริญเติบโตของลูก ถ้าเตี้ยกว่าเกณฑ์ หรือโตเร็วกว่าปกติ ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องต่อไป ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกุมารเวช โทร. 02-487-2100 ต่อ 5228-5229 และ https://www.facebook.com/thonburi2hospital

เตือน! พ่อแม่อย่ามองข้าม เมื่อลูกสูงไม่ทันเพื่อน

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี news18


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!


Love Attack  เทศกาลความรักแบบนี้ บอกอ้อมๆให้เขารู้กัน

Chocolate Dreams สาวชั่งฝันและช็อคโกแลต กับหนุ่มหล่อ ไม่แน่คุณอาจจะได้เจอแบบนี้ก็ได้

Love You Like Crazy เพลงเพราะๆ ที่ถ้าส่งให้คนที่เรารัก โลกนี้ก็สีชมพูกันทีเดียว
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์