ทำความรู้จักรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน ก่อนเปิดทดสอบเสมือนจริง กรกฎาคมนี้!
โดยสายสีน้ำเงินส่วนแรกเปิดให้บริการในปี 2547 ลักษณะของสายนี้ในตอนที่เปิดจะอยู่ใต้ดินทั้งหมด เริ่มต้นเส้นทางจาก "สถานีหัวลำโพง" ถึง "สถานีบางซื่อ" ซึ่งจะไม่ได้ผ่านเข้าเมืองตรงๆ แบบสายสีเขียว แต่ก็ยังผ่านจุดสำคัญๆ เช่นสีลม, อโศก, รัชดา, ลาดพร้าว โดยเน้นเชื่อมโยงไปจุดต่างๆ ของเมือง
ซึ่งปัจจุบันสายสีน้ำเงินเองก็ไม่ได้หยุดอยู่แค่ครึ่งวงกลมนี้ครับ แต่กำลังสร้างส่วนต่อขยายมาด้านฝั่งธนเพิ่มเติม ให้เส้นทางเชื่อมคล้ายกับลักษณะของวงกลม แถมยังมีส่วนที่ต่อเพิ่มออกไปนอกเมืองทางด้านถนนเพชรเกษมด้วย โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
- ส่วนต่อขยายส่วนใต้ (จากด้านหัวลำโพง) -
จากสถานีหัวลำโพงไปจนถึงสถานีหลักสอง (หน้าเดอะมอลล์บางแค) จำนวนสถานีที่เพิ่มขึ้นมา 11 สถานี
ส่วนนี้มีกำหนดเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในเดือนกันยายน 2562 และจะมีการทดสอบระบบเสมือนจริงตั้งแต่ช่วงกรกฎาคมนี้ครับ
-------------
- ส่วนต่อขยายส่วนเหนือ (จากด้านบางซื่อ) -
แบ่งออกเป็นสองช่วง ช่วงแรกคือจากสถานีบางซื่อถึงสถานีเตาปูน (1 สถานี) เปิดให้บริการแล้วเมื่อปี 2560 เชื่อมต่อกับสายสีม่วง และอีกช่วงหนึ่งคือตั้งแต่สถานีเตาปูน ไปบรรจบกับส่วนต่อขยายส่วนใต้ ที่สถานีท่าพระ จำนวนสถานี 8 สถานี ไม่รวมสถานีท่าพระครับ
ส่วนนี้มีกำหนดเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในเดือนมีนาคม 2563 ครับ
-------------
เมื่อเปิดให้บริการเต็มตลอดสายแล้ว สถานีท่าพระจะเป็นสถานีสำหรับเปลี่ยนเส้นทางการเดินทาง คล้ายๆ สถานีสยาม ใครที่นั่งมาจากติ่งเพชรเกษม อยากจะไปจรัญ เตาปูน สวนจตุจักร สามารถเปลี่ยนขบวนที่สถานีท่าพระได้ครับ (ระยะทางจะสั้นกว่านั่งตรงไปอ้อมเมือง)
สำหรับค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จะคิดค่าโดยสารตามระยะทางครั้งเดียวต่อเนื่องกันทั้งสาย (ไม่ได้คิดแยกส่วนหลัก-ส่วนต่อขยายแบบ BTS) โดยจะมีค่าโดยสารอยู่ที่ 16-42 บาทถ้าอยู่ในสายสีน้ำเงินอย่างเดียว และ 16-70 บาท ถ้าข้ามไปสายสีม่วง
ส่วนใครที่นั่งไปต่อ BTS ก็จ่ายค่าโดยสารแยกกันเหมือนเดิ
ในส่วนนี้จะมีบางช่วงเป็นใต้ดิน โดยจะผ่านทางเยาวราช มาทางวังบูรพา และลอดใต้แม่น้ำผ่านถนนอิสรภาพ ก่อนที่จะขึ้นมาบนดินที่สถานีท่าพระ เป็น interchange กันกับส่วนต่อขยายที่มาจากทางจรัญฯ แต่ไม่สุดแค่นั้น สายนี้ยังวิ่งต่อไปทางถนนเพชรเกษมอีกไปจนถึงสถานีหลักสองที่หน้าเดอะมอลล์บางแค
ดังนั้น รถไฟฟ้าสายนี้จะมีส่วนที่เป็น "ใต้ดิน" และ "ลอยฟ้า" ในสายเดียวกัน ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติของรถไฟฟ้าทั่วไป ไม่ต้องแปลกใจ
ในภาพต่อๆ ไป เราทำแผนที่ตำแหน่งที่ตั้งสถานีและจุดเข้าออกสถานีต่างๆ มาให้ดูกัน
อยู่ติดกับสถานีบางหว้าของ BTS สามารถเดินข้ามหากันได้ แต่การใช้บริการยังต้องออกจากระบบแล้วซื้อบัตร/แตะบัตรใหม่
อยู่ใกล้กับซอยเพชรเกษม 48 (ซอยวัดจันทร์ประดิษฐาราม)
อยู่หน้าห้างซีคอนบางแค
อยู่ใกล้กับตลาดบางแค
อยู่หน้าห้างเดอะมอลล์บางแค เป็นสถานีปลายทาง สถานีนี้จะมีอาคารจอดรถ 2 อาคาร อยู่ริมถนนทั้งสองฝั่ง สามารถขับรถข้ามไปข้ามมาได้ครับ
เมื่อออกจากสถานีเตาปูน จะวิ่งตรงผ่านแยกบางโพ แล้วข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาโผล่แถวๆ โรงเรียนเทคโนโลยีพระราม 6 จากนั้นวิ่งตรงลงมาตามถนนจรัญสนิทวงศ์ จนถึงแยกท่าพระครับ
ตำแหน่งสถานีทั้ง 8 สถานี ดูรูปถัดไปได้เลยจ้า
อยู่ใกล้กัลท่าเรือบางโพ ซึ่งจะมีการปรับปรุงสร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อให้สามารถนั่งเรือมาต่อรถไฟฟ้าได้สะดวก
อยู่บนถนนจรัญสนิทวงศ์ ใกล้โรงพยาบาลยันฮี
อยู่หน้าสำนักงานเขตบางพลัด
อยู่บริเวณแยกบางพลัด
อยู่ใกล้กับแยกบรมราชชนนี (แยก 35 โบว์ล)
อยู่บริเวณจุดตัดทางรถไฟ ใกล้แยกบางขุนนนท์ อนาคตจะเชื่อมต่อกับสายสีส้ม และสายสีแดงอ่อน
อยู่เหนืออุโมงค์แยกไฟฉาย
อยู่ใกล้แยกพาณิชยการธนบุรี