เปิดเหตุผล! “ทำไมยาคูลท์คงขนาดขวด” เพื่อไม่ให้จุลินทรีย์เติบโต
หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมยาคูลท์ถึงไม่ออกผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาด 80 ซีซีออกมาขายในท้องตลาด
สำนักข่าว ABS-CBN รายงานอิงจากการเปิดเผยของบริษัท ยาคูลท์ ประเทศญี่ปุ่น ว่า สาเหตุที่บริษัทตัดสินใจไม่ผลิตยาคูลท์ขนาดใหญ่เกินกว่า 100 มิลลิลิตร ขายในท้องตลาด เนื่องจาก เป็นการป้องกันไม่ให้ จุลินทรีย์ชิโรต้า ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ในผลิตภัณฑ์ ถูกลดทอนคุณภาพลง จากการปนเปื้อนของแบคทีเรียอื่น ๆ ที่อยู่ในอากาศขณะที่ผู้บริโภคเปิดฝาทิ้งไว้ เนื่องจากดื่มไม่หมดในครั้งเดียว อีกทั้งยังมีการเปิดเผยว่า ยาคูลท์ เป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ แต่ไม่ควรดื่มมากเกินไป
โดย บริษัท ยาคูลท์ ประเทศมาเลเซีย เปิดเผยว่า ในยาคูลท์หนึ่งขวดเล็ก ๆ ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ แลคโตบาซิลลัส คาเซอิ สายพันธุ์ ชิโรต้า ที่ยังมีชีวิตอยู่มากถึง 30 ล้านตัว โดยจุลินทรีย์ดังกล่าว เป็นแบคทีเรียที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายโดยเฉพาะ การช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น
ต่อย่างไรก็ตาม ในร่างกายของมนุษย์มีจุลินทรีย์ดังกล่าวอยู่แล้ว ซึ่งช่วยในระบบการย่อยอาหารในส่วนที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ แต่ถ้าหากมีจุลินทรีย์ชนิดนี้มากเกินไปก็อาจจะเกิดผลเสียต่อร่างกาย เช่น เกิดอาการท้องเสีย เป็นต้น
นอกจากนี้ บริษัท ยาคูลท์ มาเลเซีย ได้เปิดเผยว่า การเปิด-ปิดฝาของผลิตภัณฑ์ยาคูลท์ที่ดื่มไม่หมด มีโอกาสอย่างมากที่จะส่งผลให้แบคทีเรียโพรไบโอติก (probiotic) หรือจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในผลิตภัณฑ์ยาคูลท์นั้นมีคุณภาพลดลง เนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรียอื่น ๆ ที่อยู่ในอากาศ
"ยาคูลท์ขวดเล็กนั้นถูกสุขลักษณะมากกว่า" บริษัท ยาคูลท์ มาเลเซียกล่าว "ถ้ายาคูลท์มีขนาดใหญ่ขึ้น อาจจะทำให้ผู้บริโภคที่ดื่มไม่หมดในครั้งเดียวมีแนวโน้มที่เปิดฝาของผลตภัณฑ์ทิ้งไว้ ซึ่งมีความเสี่ยงอย่างมากที่จะทำให้จุลินทรีย์ดีในยาคูลท์ติดเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น ๆ ที่อยู่ในอากาศ"
ยาคูลท์ ประเทศออสเตรเลีย ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า การผลิตยาคูลท์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จะส่งผลให้ผู้บริโภค ดื่มยาคูลท์และร่างกายจะได้รับจุลินทรีย์มากเกินความจำเป็น
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น