หาชมยาก “ร่างที่แท้จริง” (ก่อนกลายเป็นมัมมี่) ของฟาโรห์อายุ 3,300 ปี
แน่นอนครับมันก็พอมีเรื่องเล่าและตำนานที่เผยแพร่ออกมาให้เราได้ตื่นเต้นบ้าง เพียงแต่มันไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพราะฉะนั้นนักโบราณคดีจึงขอใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการไขความลับอัตชีวประวัติของฟาโรห์ตุตันคามุนครับ
รวมถึงยังร่วมมือกับนักกราฟฟิก เพื่อวิเคราะห์รูปร่างและจำลองใบหน้าฟาโรห์ขึ้นมาใหม่อีกด้วย (นี่คือข้อดีของการทำมัมมี่ เพราะมันช่วยรักษาสภาพศพและหลงเหลือชิ้นส่วนให้เราได้ศึกษา แม้จะผ่านมาแล้วกว่า 3,300 ปีก็ตาม)
นักวิทยาศาสตร์คาดว่าเหตุที่ข้อเท้าของฟาโรห์ผิดรูปน่าจะมาจากโรค Kohler disease (โคเลอร์) ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมหายาก ส่งผลให้กระดูกขาดเลือด เกิดความเปราะ ผิดรูป และแตกหักง่าย โดยเฉพาะกระดูกและข้อต่อที่ต้องรองรับน้ำหนักมาก เช่น หัวเข่าหรือข้อเท้า โดยโรคนี้พบได้จากการแต่งงานกันในเครือญาติ และนั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมนักสำรวจจึงขุดพบไม้เท้ากว่า 100 ด้ามในสุสานของพระองค์ด้วย
แล้วอะไรคือสาเหตุของการสิ้นพระชนม์ฟาโรห์หนุ่มจริง ๆ ล่ะ ? นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ารอยแตกของกะโหลก น่าจะเกิดระหว่างกระบวนการทำมัมมี่ ส่วนสาเหตุการสิ้นพระชนม์ที่แท้จริงนั้น มาจากการติดเชื้อมาลาเรีย ประกอบกับอาการของโรค Kohler รุนแรงขึ้น จนทำให้กระดูกบริเวณหัวเข่าซ้ายหัก จึงทำให้ชิ้นส่วนของกระดูกแทงทะลุผิวหนังออกมา จนเกิดการติดเชื้อรุนแรงเข้าสู่กระแสเลือด ทั้งหมดนี้จึงเป็นเหตุให้ฟาโรห์หนุ่มสิ้นพระชนม์ในวัยเพียง 19 ปีครับ
นอกจากนี้ยังเชื่อว่า "ราชินีเนเฟอร์ติติ" พระมารดาของฟาโรห์ตุตันคามัน ยังเป็นทั้งพระมเหสีและน้องสาวของฟาโรห์อาเคนาเทนด้วย ฉะนั้น นี่คือการแต่งงานในเครือญาติที่นำพาโรค Kohler มาสู่ฟาโรห์ตุตันคามุนนั่นเอง