ชวนรู้จัก! โอมิครอนXE แพร่เชื้อเร็ว อาการอันตรายจริงหรือ?


ชวนรู้จัก! โอมิครอนXE แพร่เชื้อเร็ว อาการอันตรายจริงหรือ?


ผู้เชี่ยวชาญจาก WHO และ UKHSA จับตารอพิสูจน์ตัวแปร XE โควิดสายพันธุ์ลูกผสมจะกลายเป็นคลื่นระลอกใหม่ที่ระบาดไปทั่วโลกหรือไม่ ดังนั้น ทางทีมข่าวสดจะขอไขข้อสงสัยด้วยข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับโควิดสายพันธุ์ลูกผสม XE

ตามข้อมูลของศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โอมิครอนสายพันธุ์ลูกผสม "XE" เกิดจากการผสมจีโนมของสายพันธุ์ย่อย BA.1 และ BA.2 (เดลตา & โอมิครอน) รวมกันในสัดส่วนประมาณ 35:65% ซึ่งทาง WHO ได้แจ้งเตือนให้ทุกประเทศช่วยกันจับตาเฝ้าระวัง เนื่องจากพบการแพร่ระบาดที่ค่อนข้างรวดเร็วกว่าโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 ประมาณ 10% และ รวดเร็วกว่าโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 ประมาณ 43%


ชวนรู้จัก! โอมิครอนXE แพร่เชื้อเร็ว อาการอันตรายจริงหรือ?


ศาสตราจารย์ซูซาน ฮอปกินส์ หัวหน้าที่ปรึกษาทางการแพทย์ของสำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพแห่งสหราชอาณาจักร (UKHSA) กล่าวกับว่า การเกิดสายพันธุ์ลูกผสมไม่ใช่เรื่องแปลกและมักจะสูญพันธุ์ไปเอง ข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่า XE มีอัตราการเติบโตสูงกว่า BA.2 9.8% ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสรุปผลการแพร่เชื้อ ความรุนแรงในการก่อโรคโควิด-19 หรือประสิทธิผลในป้องกันของวัคซีน

สายพันธุ์ลูกผสม "โอมิครอน XE" พบแพร่ระบาดครั้งแรกในประเทศอังกฤษตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2565 จากการสุ่มถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งจีโนมของประเทศอังกฤษ พบโอไมครอน XEประมาณ 600 ราย ซึ่งปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมาเพิ่มเป็น 736 ราย อันแสดงให้เห็นในเบื้องต้นว่าสายพันธุ์ลูกผสม "โอมิครอน XE" ไม่พบการระบาดที่รวดเร็ว (transmissibility) และอาการที่รุนแรง (severity) อย่างที่เคยกังวลแต่ประการใด




ล่าสุด วันที่ 9 เมษายน 2565 ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ โพสต์ผ่านเพซบุ๊ก Center for Medical Genomics พร้อมมีภาพประกอบ ระบุได้ตรวจพบสายพันธุ์ลูกผสมโอมิครอน XE" จาก "สวอป" ส่งตรวจจากผู้ติดเชื้อในกลุ่มสีเขียว ซึ่งมีอาการเพียงเล็กน้อย ปัจจุบันหายดีแล้ว และหลังจากแพทย์ผู้รักษาได้รับการแจ้งถึงสายพันธุ์ไวรัสของผู้ติดเชื้อรายนี้ ทางรพ.ที่ดูแลผู้ติดเชื้อรายนี้ไม่พบการระบาดจากผู้ติดเชื้อรายนี้ (index case) ไปยังผู้ใกล้ชิดแต่อย่างใด ด้วยการตรวจด้วย ATK

ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ ได้ถอดรหัสพันธุกรรมประมาณ 30,000 ตำแหน่ง (base) ของไวรัสตัวนี้และแชร์ไปยังฐานข้อมูลโควิดโลก "GISAID" เป็นที่เรียบร้อยโดยได้รับลำดับหมายเลขในการสืบค้น คือ "EPI_ISL_11720091"

ตามข้อมูลจากอินดิเพนเดนท์ มีการคาดการณ์ว่า อาการป่วยของโควิดสายพันธุ์ XE มีความคล้ายคลึงผู้ป่วยโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ BA.1 และ BA.2 โดยอาการป่วยโควิดระยะแรกในช่วงแพร่เชื้อ ได้แก่ เจ็บคอ, เหนื่อยล้า, ปวดศีรษะ, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ, น้ำมูกไหล, จาม, ท้องร่วง, เบื่ออาหาร, ปวดหลังช่วงล่าง และเหงื่อออกตอนกลางคืน


ชวนรู้จัก! โอมิครอนXE แพร่เชื้อเร็ว อาการอันตรายจริงหรือ?


ตามข้อมูล คาดว่าระยะเวลาแพร่เชื้อโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ลูกผสม XE ใกล้เคียงกับโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิม ไม่ว่าผู้ป่วยโควิดจะแสดงอาการน้อยหรือไม่แสดงอาการ ระยะเวลาแพร่เชื้อคือ 3 - 14 วันหลังจากได้รับเชื้อมาแล้ว

นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาแจ้งเตือนประชาคมโลกถึงการอุบัติขึ้นของสายพันธุ์ลูกผสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์ลูกผสม "โอมิครอน XE" ที่ก่อให้เกิดความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการกลายพันธุ์แบบก้าวกระโดด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสังคมโลก ดังนี้

- การระบาดของสายพันธุ์ลูกผสม "โอมิครอน XE" ที่อาจเข้ามาแทนที่สายพันธุ์ย่อยโอมิครอน "BA.2" ในอนาคตอันใกล้
- การตรวจกรองด้วย ATK หรือ PCR ที่อาจไม่ถูกต้อง
- การป้องกันการติดเชื้อด้วยวัคซีนที่อาจด้อยประสิทธิภาพลง
- การรักษาด้วยยาต้านไวรัสและโดยเฉพาะอย่างยิ่งแอนติบอดีสังเคราะห์ที่อาจลดประสิทธิภาพหรือไม่ได้ผล
- ผลกระทบต่ออาการ "ลองโควิด"

 


ชวนรู้จัก! โอมิครอนXE แพร่เชื้อเร็ว อาการอันตรายจริงหรือ?

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์