ติด BA.4-BA.5 ไม่จำเป็นต้องมีอาการหนักเสมอไป


ติด BA.4-BA.5 ไม่จำเป็นต้องมีอาการหนักเสมอไป


ดร.อนันต์ นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ย้ำข้อมูลอาจจะยังไม่มากพอที่จะฟันธง เพราะกลุ่มผู้ป่วยเบาก็แยกเชื้อได้ BA.4-BA.5 เหมือนกัน

วันที่ 11 กรกฎาคม 2565 ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า ข้อมูลจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์วันนี้มีประโยชน์มากครับ วันนี้ BA.4-BA.5เป็นสายพันธุ์หลักที่อยู่ในเมืองหลวง (เขต 13) ขณะที่พื้นที่ในส่วนภูมิภาคยังเป็นของ BA.2 เป็นส่วนใหญ่

แต่ด้วยศักยภาพของการแพร่กระจายที่ไวกว่า BA.4-BA.5 คงจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักของประเทศ เหมือนที่ BA.2 แทนที่ BA.1 มา เพราะตอนนี้ทั่วประเทศแทบจะหา BA.1 ไม่พบแล้วทั้งๆที่สายพันธุ์นี้เอาชนะแชมป์ตลอดกาลอย่างเดลต้ามาได้

ข้อมูลเรื่องความรุนแรงของสายพันธุ์ BA.4/5 มีการรายงานเบื้องต้นมาด้วยครับ โดยดูตัวอย่างของผู้ป่วยอาการหนักและเสียชีวิต ที่สามารถระบุสายพันธุ์ของไวรัสได้ ข้อมูลจากผู้ป่วยใน กทม จะค่อนข้างน้อย (n =13) แต่ข้อมูลจากต่างจังหวัดจะมีมากกว่าคือ n = 45 โดยสัดส่วนของไวรัสในผู้ป่วยอาการหนักอยู่ที่ 53:46 หรือเกือบครึ่งจะเป็น BA.4-BA.5 ซึ่งจากข้อมูลที่ว่าไวรัส BA.4-BA.5 ยังพบไม่มากในพื้นที่ต่างจังหวัด (น้อยกว่า50%)



ติด BA.4-BA.5 ไม่จำเป็นต้องมีอาการหนักเสมอไป


ทำให้ ดูเหมือนมีแนวโน้มว่า BA.4-BA.5 อาจจะมีความรุนแรงมากกว่า BA.2 ตามที่ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์สรุปมาในข้อที่ 2

ซึ่งเห็นด้วยว่าข้อมูลอาจจะยังไม่มากพอที่จะฟันธงอะไรลงไปได้มาก ถ้ามีตัวอย่างเป็นหลักร้อยหรือพัน ตัวเลขจะสร้างความมั่นใจได้มากขึ้นครับ

อีกประเด็นนึงคือ ตัวเลขของกลุ่มผู้มีอาการเบาไม่หนักก็ดูสอดคล้องกับการพบเชื้อครับ ใครที่ติด BA.4-BA.5 ไม่จำเป็นต้องมีอาการหนักเสมอไปนะครับ กลุ่มผู้ป่วยเบาก็แยกเชื้อได้เหมือนกัน อย่าไปมองไวรัสตัวนี้จนน่ากลัวเกินไปครับ

เครดิตแหล่งข้อมูล : www.prachachat.net






เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์