7อาหารกินแล้วอารมณ์ดี-ห่างไกลซึมเศร้าตามหลักวิทยาศาสตร์
ดาร์กช็อกโกแลต มีสวนประกอบ 3 อย่างที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกมีความสุข ได้แก่ ทริปโตเฟน ธีโอโบรมีน และฟีนิลเอทิลอะลานีน โดยทริปโตเฟนเป็นกรดอะมิโนที่สมองใช้ในการผลิตเซโรโทนิน ส่วนธีโอโบรมีนเป็นสารที่ช่วยปรับสมดุลอารมณ์ และฟีนิลเอทิลอะลานีนเป็นกรดอะมิโนอีกชนิดหนึ่งที่ร่างกายใช้ในการผลิตโดปามีน ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมความรู้สึกพึงพอใจในสมอง
2.) กล้วย
กล้วยอาจไม่มีส่วนช่วยฃเพิ่มความสุขโดยตรง แต่ภายในกล้วยอุดมไปด้วยวิตามิน B6 ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างเซโรโทนิน และกล้วยขนาดกลางลูกเดียวมีวิตามิน B6 มากถึง 0.4 มิลลิกรัม ซึ่งคิดเป็นประมาณ 25% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน
3.) มะพร้าว
มะพร้าวเต็มไปด้วยกรดไขมันอิ่มตัวสายกลาง (Medium-chain Triglycerides) ซึ่งช่วยปรับสมดุลอารมณ์ และอีกเหตุผลหนึ่งที่มะพร้าวถือเป็นอาหารอารมณ์ คือ จากการศึกษาทดลองในสัตว์ปี 2560 พบว่ากรดไขมันอิ่มตัวสายกลางในกะทิช่วยลดความวิตกกังวลได้ อย่างไรก็ตามผลการศึกษานี้ยังต้องวิจัยเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจถึงความเชื่อมโยงระหว่างความวิตกกังวลกับมะพร้าวในมนุษย์อย่างชัดเจนต่อไป
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ดื่มกาแฟปี 2016 พบว่า การดื่มกาแฟมีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงการเกิดภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้ยังมีการศึกษาขนาดเล็กอีกชิ้นหนึ่งสรุปว่ากาแฟทั้งแบบมีคาเฟอีนและไม่มีคาเฟอีน ช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ดื่มกาแฟหลอก
5.) อะโวคาโด
อะโวคาโดอุดมไปด้วย "โคลีน" ซึ่งร่างกายของเราใช้เพื่อควบคุมระบบประสาทและอารมณ์ โดยมีผลการศึกษาในปี 2020 พบว่าไขมันดีต่อสุขภาพในอะโวคาโดนั้น มีส่วนช่วยลดความวิตกกังวลในผู้หญิง นอกจากนี้ในอะโวคาโดยังมีวิตามินบี ซึ่งช่วยลดความเครียดได้อีกด้วย
6.) เบอร์รี่
ความจริงแล้วการกินผลไม้มากขึ้นสัมพันธ์กับสุขภาพจิตที่ดีขึ้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลในปี 2016 พบว่าการกินผักและผลไม้ทำให้สุขภาพจิตของกลุ่มตัวอย่างดีขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลเบอร์รี่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหรือที่เรียกว่า "ฟลาโวนอยด์" ซึ่งลดอาการซึมเศร้าได้
นอกจากนี้ยังมีผลการวิจัยอื่นแสดงให้เห็นอีกว่าการกินบลูเบอร์รี่ยังเชื่อมโยงกับการบำรุงสมอง ชะลอการเกิดปัญหาการคิดช้าลงเมื่อเรามีอายุมากขึ้น
7.) อาหารหมัก
อาหารที่ผ่านกระบวนการหมัก เช่น กะหล่ำปลีดอง กิมจิ คีเฟอร์ คอมบูชา และโยเกิร์ต นอกจากจะช่วยรักษาลำไส้ให้แข็งแรงแล้วยังช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นด้วย เพราะในกระบวนการหมักจะสร้างโพรไบโอติก ซึ่งช่วยรักษาสมดุลจุลินทรีย์ดีที่มีอยู่ในลำไส้ที่มีส่วนช่วยให้เซลล์ต่างๆ ในลำไส้ทำหน้าที่สร้างเซโรโทนินอยู่แล้วประมาณ 90% สร้างสารความสุขเพิ่มขึ้นอีก