สมัยอยุธยาไม่มี ไม้ตรีไม้จัตวา-วรรณยุกต์ไม่ได้แปลว่าผันเสียง


สมัยอยุธยาไม่มี ไม้ตรีไม้จัตวา-วรรณยุกต์ไม่ได้แปลว่าผันเสียง


ในตำราภาษาไทยเรา ไม้เอก ( ่ ) คือเครื่องหมายผันเสียง มีคู่กันมากับไม้โท ( ้ ) แต่สมัยอยุธยา มี 2 อันเท่านี้ในสมัยนั้น และเรียก "พิน"

ไม้เอกเรียก "พินเอก" ไม้โทเรียก "พินโท"

ดังปรากฏในตำราจินดามณี : -

"เปนเสมียนรอบรู้ วิสัญช์

พินเอกพินโททัณฑ ฆาตคู้

ฝนทองอีกฟองมัน นฤคหิต

แปดสิ่งนี้ใครรู้ จึงให้เป็นเสมียน"

มาในสมัยรัตนโกสินทร์มีเพิ่มเข้ามาอีก 2 อัน คือ ไม้ตรี ( ๊ ) ไม้จัตวา ( ๋ ) ดังปรากฏในคัมภีร์จินดามณีที่ชำระใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ :-

อักษรทั้งสามหมู่ กำหนดรู้ซึ่งวาจี

มาสมัยหลังนี้เราเรียก "วรรณยุกต์" ก็เพราะใน มูลบทบรรพกิจ ท่านจัดไว้ในหมู่วรรณยุกต์

วรรณยุกต์ ไม่ได้แปลว่าผันเสียง แต่แปลว่า ประกอบอักษร มูลบทกล่าวว่า :-

"วรรณยุกต์ทั้ง 13 คือ ไม้เอก, ไม้โท, ไม้ตรี, ไม้จัตวา, กากบาท,-ตีนกา, ฝนทอง, ฟองมัน, วิสัญชนี, ทัณฑฆาต, ไม้ไต่คู้, นิคหิต-นฤคหิต, โคมูตร, มุสิกทันต์-ฟันหนู, หางกังหัน-หันอากาศ-ไม้ผัด"

จะเห็นว่าเครื่องหมายผันเสียงมีอยู่ 4 ไม้เท่านั้นในบรรดาวรรณยุกต์ 13 ซึ่งเป็นเครื่องหมายอื่น ๆ รวมทั้งวิสัญชนีคือ สระ -ะ

เครดิตแหล่งข้อมูล : silpa-mag.com


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : Cf
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 49.228.224.42

49.228.224.42,,49-228-224-0.24.nat.tls1a-cgn02.myaisfibre.com ความคิดเห็นที่ 1 [อ้างอิง]
แต่จะสิ้นชาติสิ้นแผ่นดิน ถ้าไอ่ตูบไม่ยกเลิกกฏหมายขายชาติและ ยกเลิก BOI ให้กรรมสิทธบริษัทต่างชาติครองที่ดิน 35 ไร่ ถ้าลงทุน 50 ล้านบาท


[ วันอาทิตย์ ที่ 13 พฤศจิกายน 2565 เวลา 22:09 น. ]
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์