ระวัง!ไวรัสลูกผสม โจมตีปอดแรงเท่าเดลตา ระบาดเร็วดุจโอมิครอน


ระวัง!ไวรัสลูกผสม โจมตีปอดแรงเท่าเดลตา ระบาดเร็วดุจโอมิครอน

นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจับตามอง โควิด19สายพันธุ์ "เดลทาครอน XBC" ลูกผสมระหว่าง "เดลตา" และ "โอมิครอน BA.2" พบระบาดในฟิลิปปินส์มากกว่า 193 ราย!จากการถอดรหัสพันธุ์กรรมทั้งจีโนมของ พบมีศักยภาพในการโจมตีปอดอย่าง "เดลตา" และอาจแพร่ระบาดได้รวดเร็วเหมือน "โอมิครอน"

เฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics โพสต์ระบุข้อความเกี่ยวกับกรณีที่ นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจับตามอง โควิด19 สายพันธุ์ 'เดลทาครอน' โดยเฉพาะในช่วงการระบาดปลายปีที่ 3 ซึ่งโอมิครอนกำลังอ่อนกำลังลง และดูเหมือน 'เดลทาครอน' หลายสายพันธุ์กำลังระบาดขึ้นมาแทนที่ เช่น XBC, XAY, XBA และ XAW โดยเฉพาะเดลทาครอน "XBC" มีการกลายพันธุ์ต่างไปจากโควิด19 สายพันธ์ดั้งเดิม "อู่ฮั่น" มากที่สุดถึงกว่า 130 ตำแหน่ง

จากการถอดรหัสพันธุ์กรรมทั้งจีโนมของ "เดลทาครอน" พอจะประเมินได้ว่าเป็นไวรัสโควิดที่มีศักยภาพในการโจมตีปอดอย่าง "เดลตา" และอาจแพร่ระบาดได้รวดเร็วเหมือน "โอมิครอน"

เมื่อต้นปี 2565 ที่ผ่านมา มีรายงานการตรวจพบ "เดลทาครอน" ในประเทศฟิลิปปินส์ระยะหนึ่งจากนั้นได้สูญหายไป ไม่เกิดการระบาดรุนแรงขยายวงกว้างแต่มาในช่วงปลายปี 2565 กลับพบ "เดลตาครอน" ในประเทศฟิลิปปินส์อีกครั้งในรูปแบบของโควิดสายพันธุ์ XBC, XBA, XAY และ XAW ระบาดขึ้นมาใหม่ ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด(worst-case scenario) ลูกผสมเดลต้า-โอมิครอนอาจมีอันตรายพอๆ กับสายพันธุ์เดลต้าซึ่งคร่าชีวิตผู้ที่ติดเชื้อไปประมาณ 3.4% ซึ่งสูงกว่าอัตราการเสียชีวิตของโอมิครอนเกือบสองเท่า ตามผลการศึกษาในปี 2565 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Reviews Immunology

    นอกจากนี้ "เดลตาครอน"อาจมีความสามารถในการแพร่ติดต่อได้อย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับโอมิครอนแต่การทำนายความรุนแรงของสายพันธุ์ลูกผสมหรือสายพันธุ์ย่อยอุบัติใหม่เป็นเรื่องยาก เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ไม่แน่ใจว่าเหตุใดโอมิครอนจึงดูเหมือนจะก่อโรคโควิด-19 ที่รุนแรงน้อยกว่า เมื่อเทียบกับเดลตา




ระวัง!ไวรัสลูกผสม โจมตีปอดแรงเท่าเดลตา ระบาดเร็วดุจโอมิครอน


ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าทำไมโควิด-19 จึงเปลี่ยนจาก "โรคทางเดินหายใจส่วนล่าง" ในช่วง 2 ปีแรกที่เดลตาและสายพันธุ์ก่อนหน้าระบาด มาเป็น "โรคทางเดินหายใจส่วนบน" ที่มีความรุนแรงลดลงในปีที่ 3 การเปลี่ยนแปลงอาจเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงนอกเหนือไปจากโปรตีนหนามซึ่งไวรัสใช้ในการเกาะติดเซลล์ของมนุษย์และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน

ทำไมประเทศไทยควรกังวลเพราะประเทศฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในอาเซียนที่อยู่ใกล้ประเทศไทยขณะนี้ตรวจพบผู้ติดเชื้อโอมิครอน XBB จำนวนถึง 81 รายพร้อมไปกับพบลูกผสม XBC ใน 11 จังหวัด ถึง 193 ราย ในขณะที่สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนิเชีย บรูไน กัมพูชา ก็พบ XBB และ XBC ด้วยเช่นกันบรรดานักวิทยาศาสตร์อาเซียนได้ช่วยกันถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสโคโรนา 2019 และแชร์ไว้บนฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก "กิสเสด (GISAID)"


เครดิตแหล่งข้อมูล :
pptvhd36


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : กลัวอดตายเถอะ
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 1.46.130.80

1.46.130.80,,1.46.130.80 ความคิดเห็นที่ 1 [อ้างอิง]
ให้มันร้ายแรงจริงเถอะ จะได้ตายกันจริงๆ เพราะ ถ้ารอดตายจากโควิด มันจะมาเจอพิาเศรษฐกิจที่หนักกว่าโควิดมาก


[ วันอังคาร ที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เวลา 01:24 น. ]
คุณ : มนัส
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 185.209.105.168

185.209.105.168,,185.209.105.168-net.luenecom.de ความคิดเห็นที่ 2 [อ้างอิง]
วัคซีนคงเหลือเยอะ เลยรีบประโคมข่าวให้คนกลัว ที่ยูโรบตอนนี้คนที่ติดเชื้อแล้วไม่มีอาการเขาให้ไปทำงานตามปกติ เพราะเขาคิดว่ามันเหมือนไข้หวัด เมื่อก่อนคนเป็นไข้หวัดถ้าอยู่ไกล้ใครมันก็จะติดคนนั้น


[ วันอังคาร ที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เวลา 01:40 น. ]
คุณ : กดเกดเ
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 171.7.74.204

171.7.74.204,,mx-ll-171.7.74-204.dynamic.3bb.in.th ความคิดเห็นที่ 3 [อ้างอิง]
คนใจคด มันก็คิดได้แบบคดๆ


[ วันอังคาร ที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13:55 น. ]
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์