โรคร่าเริง ภัยร้ายใกล้ตัว ฉุดพลังชีวิตดึงร่างกายพัง


โรคร่าเริง ภัยร้ายใกล้ตัว ฉุดพลังชีวิตดึงร่างกายพัง


แค่ชื่อเมื่อได้ยินแล้วหลายคนอาจจะมองว่าก็ดีนะซิ แต่ในทางการแพทย์จริงๆ แล้ว โรคร่าเริง ไม่เคยปรากฏมาก่อน ไม่ได้มีเขียนไว้ในตำรา ซึ่งคำนี้น่าจะเกิดจากการล้อพฤติกรรมของคนที่ไม่หลับไม่นอนตอนกลางคืนที่ทำเป็นประจำจนนำไปสู่โรคบางอย่างได้ แต่รู้หรือไม่ว่า โรคร่าเริงนั้นอันตรายกว่าที่คิด อาการที่ยิ่งดึกดื่นเท่าไรก็ไม่ยอมหลับยอมนอน ไอเดียพุ่ง ชอบทำงานตอนกลางคืน ระวัง! อาจเข้าข่ายเป็น "โรคร่าเริง" และหลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นโรคที่มีอาการเดียวกับ โรคไฮเปอร์ ที่มีพฤติกรรมอาการอยู่ไม่สุขหรืออยู่ไม่นิ่ง แต่จริงๆแล้วเป็นคนละโรคกันเลย หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า "โรคนอนผิดเวลา" (Delayed Sleep Phase Disorder : DSPD) มาทำความรู้จักกับ โรคร่าเริง กันค่ะ ว่ามีอาการเป็นอย่างไร สามารถรักษาได้หรือไม่

สาเหตุ"โรคร่าเริง"

อาจเป็นเพราะด้วยยุคที่เทคโนโลยีมีควมก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้พฤติกรรมการชีวิตต้องปรับไปตามยุคสมัย ผู้คนส่วนใหญ่เปลี่ยนพฤติกรรมไปทำงานในเวลากลางคืน เนื่องจากเป็นเวลาที่ค่อนข้างเงียบสงบ เหมาะกับการใช้ความคิด บางคนก็เลือกใช้ช่วงค่ำคืนท่องโลกโซเซียล จนล่วงเลยเวลาเข้านอน ทำให้วงจรชีวิตผิดเวลาเพราะร่างกายจะมีมีการหลั่งฮอร์โมนในเวลานอนอวัยวะบางส่วนยังคงทำงานเพื่อหลั่งฮอร์โมนฟื้นฟูร่างกายและชาร์จพลังเตรียมพร้อมรับมือกับวันใหม่ แต่ถ้าหากเราใช้ช่วงเวลาวงจรชีวิตผิดปกติ ส่งผลให้ฮอร์โมนผิดเพี้ยนการดำเนินชีวิตแบบกลางวันไม่อยากตื่น กลางคืนไม่อยากหลับ กลายเป็นภัยใกล้ตัวอย่างคาดไม่ถึง ส่งให้สุขภาพเสื่อมโทรมแบบไม่รู้ตัว

ชีวิตผิดเพี้ยนของมนุษย์ร่าเริง

*เกลียดการตื่นเช้า ง่วงเหงาหาวนอนตลอดวัน เมื่อกลางคืนไม่ได้นอน หรือนอนไม่เพียงพอ ก็จะตื่นเช้าไม่ค่อยไหว รวมถึงฮอร์โมนที่ควรจะหลั่งในช่วงหลับก็หลั่งได้ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดอาการนอนหลับไม่สนิท เมื่อตื่นจึงรู้สึกง่วงเหงาหาวนอนตลอดวัน จนกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงาน

*กลายเป็นคนติดกาแฟ เมื่อรู้สึกง่วงในตอนกลางวัน มนุษย์ร่าเริงก็จะหันไปพึ่งกาแฟ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว ในที่สุดก็กลายเป็นคนเสพติดกาแฟอย่างมาก

*การทำงานของลำไส้ผิดเพี้ยน นาฬิกาชีวิตช่วงเช้าคือการทำงานของลำไส้ แต่หากเราใช้เวลาผิดเพี้ยนไป ไม่มีการตื่นขึ้นมาขับถ่ายและรับประทานอาหารในเวลาที่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดอาการท้องผูก และมีปัญหาการขับถ่ายได้ในที่สุด

*โกรทฮอร์โมนหดหาย ช่วง 4 ทุ่ม -ตี 2 เป็นเวลาที่โกรทฮอร์โมนหลั่งออกมาในขณะที่เราหลับ เพื่อฟื้นฟูร่างกายและช่วยซ่อมแซมเซลล์ ทำให้ร่างกายแข็งแรง และช่วยควบคุมความเครียด แต่มนุษย์ร่าเริงกลับอดหลับอดนอนในช่วงเวลาที่โกรทฮอร์โมนจะต้องทำงาน ทำให้ผิวพรรณไม่สดใส การเผาผลาญน้อยลง ส่งผลให้อยากรับประทานของหวานเพิ่มมากขึ้น ทำให้อ้วนง่ายขึ้นตามไปด้วย

*ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว หากยังใช้ชีวิตแบบมนุษย์ร่าเริงต่อไปเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา เนื่องจากความสมดุลของฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้เกิดปัญหาประจำเดือนผิดปกติ การเผาผลาญอาหารลดลง ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม รวมไปถึงเกิดโรคกลุ่มการเผาผลาญอาหาร (Metabolic Disorders) เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต



โรคร่าเริง ภัยร้ายใกล้ตัว ฉุดพลังชีวิตดึงร่างกายพัง


หลัก 8 อ. เสริมภูมิต้านทานหลีกเลี่ยง " โรคร่าเริง "

1.อาหาร เลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานอย่างเต็มที่

2.ออกกำลังกาย ช่วยให้ร่างกายตื่นตัว สดชื่นและกระฉับกระเฉง

3.ออกซิเจน ฝึกหายใจเข้า-ออกช้าๆ สูดออกซิเจนเข้าปอดให้เต็มที่ ช่วยสร้างสมดุลให้ร่างกายและคลายเคลียดได้ดี

4.เอนกาย จัดสุขลักษณะที่ดีให้เหมาะสมกับการนอน รวมถึงเลือกรับประทานมื้อเย็นด้วย

5.อาหารไม่หนักมากเกินไป และฝึกเข้านอนไม่เที่ยงคืนทุกวัน

6.อารมณ์ ทำจิตใจให้แจ่มใส่ ปลอดโปร่ง และไม่เครียด

7.เอาพิษออก รับประทานอาหารเช้าทุกวัน เพื่อการขับถ่ายที่เป็นเวลา เอาสารพิษออกจากร่างกาย

8.อาชีพ หลายอาชีพที่ทำให้นาฬิกาชีวิตต้องเปลี่ยนไป หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรหาเวลาพักผ่อนและดูแลสุขภาพ แทนการเอาเวลาที่เหลือไปอยู่หน้าจอ แต่ถ้าทำงานช่วงกลางวันปกติ

ได้ ก็ได้ควรปรับเวลาชีวิติให้เป็นปกติ ไม่โหลดงานไว้ทำช่วงกลางคืนมากเกินไป เพื่อสุขภาพที่ดี



โรคร่าเริง ภัยร้ายใกล้ตัว ฉุดพลังชีวิตดึงร่างกายพัง

เครดิต :
เครดิตแหล่งข้อมูล : เพจอีจัน

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์