เปิด 3 โรคกลิ่นอับชื้น ที่ต้องระวังในหน้าฝน
สังคัง
สังคัง (Tinea cruris) หรือการติดเชื้อรา มักพบที่ขาหนีบ และอาจจะลามมาที่อวัยวะเพศ พบได้ในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงถึง 3 เท่าเกิดจากการติดเชื้อราในกลุ่ม Dermatophyte ทำให้เกิดการอักเสบ เป็นขุยแดงๆ โรคนี้ติดต่อได้ง่ายมาก จากการสัมผัส หรือการใช้สิ่งของ เช่น เสื้อผ้าและผ้าเช็ดตัว ร่วมกัน พบได้ในกลุ่มคนที่มีเหงื่อมากๆ นักกีฬา น้ำหนักตัวเกิน เบาหวาน คนที่ภูมิคุ้มกันไม่ดี
อาการ
มีผื่นแดง แสบและคันมาก อาจมีตุ่มใสๆ หรือเป็นผื่นแดงขอบนูนและมีขุยสีขาวๆ หรืออาจเป็นแผ่น พบตามขาหนีบ หัวเหน่า และรอยพับต่างๆ ถ้าเกาจะยิ่งลุกลามจนเกิด แผลถลอก และทำให้แสบได้ ในรายที่เป็นมากผื่นอาจลุกลามไปยังบริเวณก้นและอวัยวะเพศได้
การป้องกันสังคัง
-ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
-ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี ไม่รัดแน่นเกินไป ใช้ผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี
-หลังอาบน้ำ ควรเช็ดตัวให้แห้งเสมอ ไม่ให้อับชื้น
-ถ้าสาเหตุของความอับชื้นมาจากความอ้วน ควรลดน้ำหนัก เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคซ้ำ
กลิ่นในจุดซ่อนเร้น
กลิ่นในจุดซ่อนเร้น พบได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย สาเหตุมาจากการดูแลความสะอาดไม่ดีพอ ความอับชื้น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือการติดเชื้อ ส่วนใหญ่แล้วกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์บริเวณจุดซ่อนเร้น มักทำให้เกิดปัญหา และสร้างความกังวลในผู้หญิง จากการที่พบความผิดปกติของช่องคลอดร่วมด้วย1. การติดเชื้อ
-การติดเชื้อที่เกิดจากโปรโตซัว trichomoniasis ตกขาวจะมีกลิ่นคาว มีสีเหลืองหรือสีเขียว เป็นฟอง
-การติดเชื้อรา ทำให้เกิดกลิ่นเหมือนยีสต์ ตกขาวสีขาว เป็นลิ่มๆ รวมทั้งมีอาการคัน แสบในระหว่างการถ่ายปัสสาวะและการมีเพศสัมพันธ์ เกิดจากการที่เชื้อราซึ่งปกติจะมีอยู่ในช่องคลอด เจริญเติบโตผิดปกติ มักเกิดขึ้นหลังจากรับประทานยาปฏิชีวนะที่ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
สารคัดหลั่งในช่องคลอดในระหว่างมีประจำเดือนและระหว่างการตกไข่ อาจก่อให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์มากกว่าในช่วงอื่น ๆ อีกสาเหตุคือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในวัยหมดประจำเดือน ระดับฮอร์โมนเพศหญิงจะลดลงทำให้เนื้อเยื่อช่องคลอดบางและช่องคลอดจะมีสภาวะเป็นกรดเล็กน้อย ผู้หญิงหลายคนที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือนจะสังเกตว่าช่องคลอดมีกลิ่นเหม็นและตกขาวเป็นน้ำ หากกลิ่นทำให้รู้สึกกังวลใจแพทย์อาจสั่งยาเอสโตรเจนเฉพาะที่ซึ่งจะช่วยกำจัดกลิ่นภายใน 2-3 สัปดาห์ เนื่องจากครีมบำรุงช่องคลอดเอสโตรเจนถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
3.เหงื่อ
ขาหนีบที่มีเหงื่อออกจะมีกลิ่นเหม็น เนื่องมาจากต่อมเหงื่อ Apocrine (พบได้ในรักแร้ หัวนม ช่องหู เปลือกตา ปีกจมูก) ผลิตของเหลวที่เป็นน้ำมันออกมา และถูกย่อยโดยแบคทีเรียที่อยู่บนผิวหนังทำให้เกิดกลิ่น การสวมใส่เสื้อผ้าที่แน่น หรือในผู้ที่น้ำหนักตัวมาก ผิวหนังจะพับซ้อนกัน จะทำให้ปัญหาเพิ่มมากขึ้น
5.ผ้าอนามัยแบบสอดที่ถูกลืม
การสะสมของเลือดประจำเดือน จะทำให้เกิดแบคทีเรีย และเกิดการระคายเคือง คัน และยังทำให้เกิดกลิ่นที่ ไม่พึงประสงค์ได้
วิธีการป้องกัน
-สวมเสื้อผ้าที่ไม่คับจนเกินไปและชุดชั้นในผ้าฝ้ายเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของอากาศ และป้องกันไม่ให้ความชื้นสะสม-เปลี่ยนเสื้อผ้าหลังจากออกกำลังกาย
-ลดน้ำหนัก กรณีที่มีน้ำหนักตัวมาก
-ในช่องคลอดจะมีกระบวนการทำความสะอาดตามธรรมชาติอยู่แล้ว ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด เพราะจะทำให้แบคทีเรียที่ดี ที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อตายได้
-หลีกเลี่ยงการฉีดน้ำหอม หรือสเปรย์ บริเวณอวัยวะเพศ เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองหรืออาจเกิดอาการแพ้ได้
เท้าเหม็น
เท้าเหม็น (Pitted Keratolysis) เกิดจากการที่เรามีเหงื่อออกที่เท้าเยอะ (Hyperhidrosis) หรือความอับชื้น ทำให้ติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งพบได้ปกติบนผิวหนังของคนเราในปริมาณที่พอเหมาะ แต่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะอับชื้น แบคทีเรียนี้นอกจากจะย่อยสลายผิวหนังชั้นนอกแล้ว ยังสร้างสาร sulfur compound ทำให้เกิดกลิ่นขึ้นมาลักษณะที่พบคือ จะเห็นเป็นรูพรุนเล็กๆ ที่เท้า บางครั้งเห็นเป็นวงๆ เป็นแอ่งตื้นๆ ที่ฝ่าเท้า โดยเฉพาะบริเวณที่ต้องรับน้ำหนักมาก ๆ เท้ามีกลิ่นเหม็นมาก แต่มักไม่มีอาการคัน ซึ่งจะแตกต่างจากเชื้อราหรือน้ำกัดเท้า
-สภาพอากาศที่ร้อน ชื้น
-รองเท้าที่อับ ไม่มีที่ระบายอากาศ เช่น รองเท้าบูท
-ภาวะเหงื่อออกมากเกินไปของมือและเท้า (hyperhidrosis)
-ผิวหนังบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้าหนา (keratoderma)
-โรคเบาหวาน
-อายุที่มากขึ้น
-ภาวะบกพร่องของภูมิคุ้มกัน
-การรับประทานอาหาร ที่มีปริมาณน้ำมันสูง อาหารรสเผ็ด อาหารที่มีกลิ่นแรง คาเฟอีน ทำให้มีการผลิต-เหงื่อมากขึ้น สามารถทำให้เกิดกลิ่นได้
-ยาบางชนิดเช่น naproxen, acyclovir
-การขาดธาตุ zinc และภาวะความเครียด ก็ส่งผลให้มีการผลิตเหงื่อมากขึ้น และทำให้เกิดกลิ่นเท้าได้
วิธีการป้องกันโรคเท้าเหม็น
-เลือกรองเท้าที่สามารถระบายอากาศได้ดี หรือถ้าจำเป็นต้องสวมรองเท้าหุ้มข้อ เช่น รองเท้าบูท ให้--เลือกสวมรองเท้าบูทที่สั้นที่สุด รองเท้าที่ระบายอากาศได้ไม่ดี หรือถุงเท้าที่ทำมาจากวัสดุสังเคราะห์ เช่น polyester หรือ nylon จะทำให้มีเหงื่อออกที่เท้ามากขึ้น
-ใช้ถุงเท้าทำจากผ้าที่ดูดซับเหงื่อได้ดี เช่น ผ้าฝ้าย หรือผ้าขนสัตว์
-สวมรองเท้าแตะเปิดนิ้วเท้าทุกครั้งที่ทำได้
-รักษาความสะอาดของเท้า ล้างเท้าด้วยสบู่หรือน้ำยาทำความสะอาดวันละสองครั้ง
-ทาครีมบำรุงเท้าอย่างน้อยสัปดาห์ละสองครั้ง
-อย่าสวมรองเท้าคู่เดียวกัน ติดกันสองวัน ควรทิ้งไว้ให้แห้งจากความชื้นก่อน
-อย่าใช้รองเท้าหรือผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น