เช็คด่วน! ตดเหม็น ตดบ่อย เกิดจากอะไร อาหารเเบบไหนควรเลี่ยง


เช็คด่วน! ตดเหม็น ตดบ่อย เกิดจากอะไร อาหารเเบบไหนควรเลี่ยง

อาหารที่รับประทานแล้วส่งผลต่อกลิ่น

อาหารบางชนิดจะทำให้เกิดแก๊สระหว่างที่ถูกย่อยสลายมากกว่าชนิดอื่น ๆ เนื่องจากกระบวนการหรือความยากในการย่อย เป็นสาเหตุให้มีแก๊สในกระเพาะมาก รู้สึกปวดท้อง ท้องอืด และผายลมตามมา โดยเฉพาะอาหารที่ประกอบด้วยน้ำตาลธรรมชาติ มีเส้นใยอาหารสูง หรืออาหารประเภทแป้ง ได้แก่

-ผักและผลไม้ที่มีน้ำตาล บางชนิดและอาจทำให้เกิดแก๊สในท้องขณะย่อย เช่น น้ำตาลฟรุกโตสที่พบได้ในหัวหอม น้ำตาลแรฟฟิโนสในหน่อไม้ฝรั่ง บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี น้ำตาลซอร์บิทัลจากลูกพรุน ลูกท้อ แอปเปิล รวมถึงผักผลไม้ที่มีเส้นใยอาหารชนิดละลายน้ำ เช่น ถั่วลันเตา แต่หากเป็นเส้นใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำก็มักจะถูกย่อยและขับผ่านไปได้โดยง่าย ไม่ทำให้เกิดแก๊สหรือรู้สึกไม่สบายท้อง

-หมากฝรั่งและลูกอมบางชนิด ที่มีส่วนประกอบเป็นสารให้ความหวานอย่างซอร์บิทอล (Sorbitol)
อาหารจำพวกแป้งซึ่งมีคาร์โบไฮเดรตสูง โดยเฉพาะอาหารที่ทำจากธัญพืช ขนมปัง ข้าวโพด มันฝรั่ง แต่อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ดูเหมือนจะไม่ทำให้เกิดแก๊สก็คือข้าว

-นมและผลิตภัณฑ์จากนม คนที่มีเอนไซม์แลคเตสไม่เพียงพออาจย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมได้ยาก รวมไปถึงอาหารที่ทำจากนมอย่างไอศกรีม ชีส หรืออาหารใดก็ตามที่มีแลคโตส ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดแก๊สก็ยังอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย

-ข้าวโอ๊ต อีกหนึ่งอาหารที่สามารถทำให้เกิดแก๊สในท้อง เพราะมีเส้นใยอาหารชนิดละลายน้ำสูง การรับประทานข้าวโอ๊ตจึงควรเริ่มจากปริมาณน้อย ๆ ก่อนจะค่อย ๆ เพิ่มปริมาณขึ้นเพื่อให้ร่างกายปรับตัว หรือรับประทานสลับกับอาหารจากรำข้าวสาลีซึ่งมีเส้นใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำสูง

-ถั่วต่าง ๆ เช่น ถั่วลิสง ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วเหลือง หรือถั่วเขียว ซึ่งก็มีน้ำตาลแรฟฟิโนสเช่นกัน อีกทั้งยังประกอบด้วยเส้นใยอาหารชนิดละลายน้ำ
เครื่องดื่มน้ำอัดลมหรือน้ำหวาน เครื่องดื่มเหล่านี้ส่งผลให้มีแก๊สในท้องจนรู้สึกไม่สบายท้องได้ เนื่องจากในโซดามีการอัดอากาศหรือแก๊สเข้าไป รวมถึงฟรุกโตสซึ่งเป็นน้ำตาลที่ให้ความหวานและอาจย่อยได้ยาก




พฤติกรรมที่ส่งผลต่อกลิ่น

การกลืนอากาศมากเกินไป อากาศจำนวนมากสามารถเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารผ่านการดื่มน้ำหรือรับประทานอาหาร ซึ่งแก๊สกว่า 50 เปอร์เซ็นต์มาจากอากาศที่กลืนเข้าไปนี้เอง ส่งผลให้มีอาการเรอหรือสะอึกตามมาได้ นอกจากนี้ อากาศบางส่วนก็ยังผ่านเข้าไปสู่ระบบย่อยอาหารและถูกปล่อยออกมาทางทวารหนักในรูปของการผายลม โดยปัจจัยที่ทำให้มีการกลืนอากาศมากเกินไปมักพบว่าเกิดจากพฤติกรรมต่อไปนี้

-เคี้ยวหมากฝรั่ง
-อมลูกอมหรืออมอาหารบางชนิด
-รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำอย่างรวดเร็วจนเกินไป
-ดื่มเครื่องดื่มน้ำอัดลม
-ดื่มน้ำจากหลอด
-กลืนน้ำลายบ่อยเกินไป ซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อรู้สึกวิตกกังวล
-สวมใส่ฟันปลอมที่หลวมเกินไป
-สูบบุหรี่


อย่างไรก็ตาม อาหารหรือพฤติกรรมแต่ละอย่างอาจส่งผลแตกต่างกันในแต่ละคน บางคนจะเกิดแก๊สมากหากรับประทานผลไม้กับโปรตีน แต่บางคนอาจมีแก๊สมากจากการรับประทานอาหารประเภทแป้งกับโปรตีนร่วมกัน ทางที่ดีควรสังเกตปัจจัยต่าง ๆ ที่น่าจะเป็นสาเหตุให้มีแก๊สสะสมในระบบย่อยอาหารมาก โดยลองจดบันทึกว่ารู้สึกอึดอัดท้อง เรอ หรือผายลมหลังจากการรับประทานอาหาร ยารักษาโรค หรือการทำกิจกรรมใด ๆ เพื่อเลี่ยงพฤติกรรมและอาหารที่น่าจะเป็นตัวการกระตุ้นการผายลมโดยเฉพาะ


เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี Bright TV


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์