ไขข้อสงสัย ทำไม พ่อริด ถึงห้าม เเม่พุดตาน สร้างห้องน้ำใกล้เรือน
ส้วมหลุม
ส้วมที่ขุดหลุมดิน มีตัวเรือนสร้างครอบคลุมส้วมไว้ บนปากหลุมถ้าทําง่ายๆ ใช้ไม้มาพาดเหยียบเวลาถ่าย หรือ ทําฐานโดยใช้ไม้กระดานมาปิดแล้วเจาะช่องสําหรับถ่ายส้วมลักษณะนี้ใช้กันมานาน เช่นสถานที่ขับถ่ายของคนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ใกล้น้ำก็มักทํา ส้วมแบบนี้ใช้แทนการไปถ่ายในป่า ในทุ่ง โดยต้องสร้างไว้ไกลตัวบ้านพอสมควรเพราะมีกลิ่นเหม็น
เมื่อหลุมเริ่มเต็มก็กลบหลุมส้วม ย้ายไปจุดที่ใหม่ การกลบหลุมส้วมนี้ในวรรณคดีเรื่องขุนช้าง-ขุนแผนก็กล่าวไว้ว่า เมื่อนางวันทอง โกรธขุนแผนและประกาศว่าจะกลบหลุมส้วมที่เคยใช้ด้วยกันให้สิ้นกลิ่น สิ้นรอย
ไมเคิล ไรซ์ เขียนเรื่อง " ‘ส้วม' สุโขทัย สร้างไว้ถวายพระ" ไว้ใน "ศิลปวัฒนธรรม" ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 พฤศจิกายน 2522 ที่ทำให้เห็นความ "คลาสสิค" ของส้วมดังนี้
"...สำหรับการถ่ายนั้น ถ้าเป็นชาวนาจนๆ ก็แก้ปัญหาเหมือนชาวนาจนๆ ของไทย กล่าวคือ ไปทุ่งไปนาไปสวนกล้วยบ้าง แต่ถ้ามีอันจะกินก็ขุดหลุมส้วมใกล้บ้าน
และเพราะเป็นที่เนิน จะขุดลึกลงไปอย่างไร ก็ไม่เจอน้ำ หลุมมันแห้ง หรือมันจะแห้ง หากไม่ปล่อยให้น้ำปัสสาวะตกลงไปในหลุม เขาจึงทำแผ่นหินปิดฝาส้วมเหมือนอย่างที่พบที่เชิงเขาพระบาทน้อย ที่สุโขทัย อุจจาระจะได้ตกลงไปในหลุมแห้งแล้วค่อยแห้งไปเอง ส่งกลิ่นน้อย เพราะไม่หมักกับน้ำปัสสาวะ ทำให้เน่าเละ ส่งกลิ่นเหม็นนาน
ส่วนน้ำปัสสาวะจะไหลตามร่องในแผ่นหินออกไปนอกห้องส้วม หรือ ‘เวจกุฎี' ไปลงในอ่างที่รับแดดเต็มที่ ไม่นานก็แห้ง แล้วชาวบ้านก็จะเก็บตะกอนไปทำปุ๋ยใส่ต้นไม้ เทคโนโลยีแบบนี้ก็มีประโยชน์ ก่อนที่จะคิด ‘คอห่าน' ขึ้นมา..."
ส้วมถังเท
เป็นการขับถ่ายลงถัง ที่จะการจัดเก็บไปทิ้งซึ่งปกติจะทําวันละครั้ง ส้วมถังเทใช้กันในช่วงก่อน พ.ศ.2495 สำหรับในเขตพระนครมี "บริษัทสอาด" ที่บางขุนพรหมโดยตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2440 รับจ้างถ่ายขนเทซึ่งดำเนินการกว่า 20 ปี ก่อนจะขายกิจการให้ "บริษัทออนเหวง" ของชาวจีนที่ตั้งอยู่แถวราชวงศ์มาดำเนินงานต่อส้วมบุญสะอาด
เป็นส้วมหลุมที่มีลักษณะเด่น คือ ฝาปิดส้วมจะมีลักษณะเป็นลิ้นและลิ้นนี้จะเข้าไปขัดกับประตูส้วม วิธีใช้คือ เวลาเข้าไปถ่ายให้ใช้เท้าถีบลิ้นที่เป็นฝาปิดนี้จะไปขัดกับประตูและจะมี ส่วนยื่นออกมานอกประตู คนข้างนอกเห็นก็จะรู้ได้ทันทีว่ามีคนใช้อยู่ส้วมคอห่าน
ผู้คิดค้น พระยานครพระราม (สวัสดิ์ มหากายี) อดีตสมุหเทศาภิบาล ผู้สําเร็จราชการมณฑลพิษณุโลก ประดิษฐ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2467 (ขณะดำรงตําแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสวรรคโลกและจังหวัดอุตรดิตถ์) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทางรัฐบาลร่วมมือกับมูลนิธิ ร็อคกี้เฟลเลอร์ ทำโครงการปราบโรคพยาธิปากขอ และมีการรณรงค์ให้ราษฎรทั่วประเทศใช้ส้วมลักษณะเป็นโถส้วมแบบนั่งยอง ส่วนล่างของโถทำเป็น "คอห่าน" (หรือคอหงษ์) เมื่อใช้เสร็จต้องเอาน้ำราด คอห่านที่โค้งงอทำให้น้ำที่ราดผลักดันสางขับถ่ายลงบ่อ และเหลือน้ำค้างอยู่ที่โถช่วยกันแมลงวันไม่ให้ลงไปได้
บางที่เรียกว่า "ส้วมซึม" เพราะเมื่อขับถ่ายเสร็จแล้วเทน้ำราดให้ซึมลงดิน ทำให้ดินตามบ้านเรือนโสโครกได้ (ภายหลังมีการบ่อซึม-บ่อเกรอะรับสิ่งที่จับถ่าย ตัวบ่อทำจากไม้, อิฐ, ปูน, คอนกรีต ฯลฯ และมีการกำจัดสิ่งปฏิกูลดีขึ้นโดยลำดับ)
เมื่อเสนอให้กรมสุขาภิบาลและคณะแพทย์ของมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์พิจารณา ที่ประชุมเห็นว่าไม่ควร ให้ในเขตเมือง เพราะอาจเกิดผลกระทบต่อพื้นดินตามที่กล่าวไปข้างต้น แต่กลับได้รับความนิยมจากผู้พบเห็นเพราะราคามาแพง และใช้น้ำในการทำความสะอาดไม่มาก
ส้วมชักโครก
ที่คุ้นเคยในปัจจุบัน เรียกชื่อว่า "ชักโครก" เพราะเวลาเสร็จการใช้งาน จะต้องชักคันโยกปล่อยน้ำลงมามีเสียงดัง น้ำก็จะไหลลงมาชําระล้างโถส้วมให้สิ่งที่ขับถ่ายไปยังถังเก็บกักที่เรียกว่าเล็ปติคแทงค์ (Septic Tank) หรือถังเกรอะต่อไป รูปแบบชักโครกในอดีตใช้ปริมาณน้ำมาก แต่ก็สะดวกสบายจากเดิมที่ต้องตักน้ำราดในช่วงแรกที่ชักโครกเริ่มเข้ามาในเมืองไทยยังจำกัดอยู่ในกลุ่มชนชั้นนำ เช่น เจ้านาย, ขุนนางใหญ่ และบ้านของผู้มีฐานะทางเงิน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนต้นทศวรรษ 2500 ชักโครกเริ่มมีการใช้แพร่หลายมากขึ้น จนปัจจุบันเป็นสุขภัณฑ์ที่แพร่หลายในเมืองต่างๆ