29 กุมภาพันธ์ 4 ปีมีหน ความอลวน นานนับพันปี


29 กุมภาพันธ์ 4 ปีมีหน ความอลวน นานนับพันปี


เริ่มต้น ก.พ.2024 หรือปีที่ใช้ ค.ศ. หาร 4 ลงตัว เป็นปีหนึ่งที่มีวันที่ 29 ก.พ.เพิ่ม ทำให้ใน 1 ปีมี 366 วัน พลิกที่มา เหตุใดเดือน ก.พ. ต้องมี "วันอธิกวาร" ทุก 4 ปี

ต้องย้อนกลับไปสมัย 100 ปีก่อนคริสตกาลหรือช่วงจักรวรรดิโรมัน กษัตริย์พระองค์หนึ่งที่ชื่อ "จูเลียส ซีซาร์" ประดิษฐ์ "ปฏิทินจูเลียน" ขึ้นมา โดยพระองค์ดัดแปลงจาก "ปฏิทินโรมัน"

"ปฏิทินโรมัน" สร้างวงรอบ "ปีแห่งความสับสน"

เหตุที่ จูเลียส ซีซาร์ ต้องทำการปฏิรูปปฏิทินที่ใช้กันมาก่อนอย่างยาวนาน เพราะในยุคนั้นชาวโรมันมีความเชื่อว่า 1 ปี มี 355 วัน หรือ มี 12 เดือน แต่ชาวโรมันไม่ได้นับปีกันแค่ 1 ปี กลับนับเป็นวงรอบ 4 ปี และให้มี วัฏจักรการแทรกเดือนในอุดมคติ เข้ามาประกอบด้วย

รอบปีธรรมดา 355 วัน สลับกับรอบปีแทรกเดือน 377 หรือ 378 วัน ทำให้รอบปีโดยเฉลี่ยต่อ 4 ปี ของปฏิทินโรมันในระบบนี้จะเป็น 365.25 วัน

จึงต้องแทรกเดือนที่ 13 เข้ามาระหว่างเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม โดยเดือนนั้นมีชื่อว่า Mercedonius ซึ่งมี 27 วัน แต่วันแรกของเดือนแทรกจะไม่ได้นับต่อจากวันสุดท้ายของเดือน ก.พ. จะกลับเหลื่อมเข้าไปต่อจากวันที่ 22 หรือวันที่ 23 ของเดือน ก.พ. แทน เริ่มต้น ก.พ.2024 หรือปีที่ใช้ ค.ศ. หาร 4 ลงตัว เป็นปีหนึ่งที่มีวันที่ 29 ก.พ.เพิ่ม ทำให้ใน 1 ปีมี 366 วัน พลิกที่มา เหตุใดเดือน ก.พ. ต้องมี "วันอธิกวาร" ทุก 4 ปี

ต้องย้อนกลับไปสมัย 100 ปีก่อนคริสตกาลหรือช่วงจักรวรรดิโรมัน กษัตริย์พระองค์หนึ่งที่ชื่อ "จูเลียส ซีซาร์" ประดิษฐ์ "ปฏิทินจูเลียน" ขึ้นมา โดยพระองค์ดัดแปลงจาก "ปฏิทินโรมัน"

29 กุมภาพันธ์ 4 ปีมีหน ความอลวน นานนับพันปี


"ปฏิทินโรมัน" สร้างวงรอบ "ปีแห่งความสับสน"
เหตุที่ จูเลียส ซีซาร์ ต้องทำการปฏิรูปปฏิทินที่ใช้กันมาก่อนอย่างยาวนาน เพราะในยุคนั้นชาวโรมันมีความเชื่อว่า 1 ปี มี 355 วัน หรือ มี 12 เดือน แต่ชาวโรมันไม่ได้นับปีกันแค่ 1 ปี กลับนับเป็นวงรอบ 4 ปี และให้มี วัฏจักรการแทรกเดือนในอุดมคติ เข้ามาประกอบด้วย

รอบปีธรรมดา 355 วัน สลับกับรอบปีแทรกเดือน 377 หรือ 378 วัน ทำให้รอบปีโดยเฉลี่ยต่อ 4 ปี ของปฏิทินโรมันในระบบนี้จะเป็น 365.25 วัน

จึงต้องแทรกเดือนที่ 13 เข้ามาระหว่างเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม โดยเดือนนั้นมีชื่อว่า Mercedonius ซึ่งมี 27 วัน แต่วันแรกของเดือนแทรกจะไม่ได้นับต่อจากวันสุดท้ายของเดือน ก.พ. จะกลับเหลื่อมเข้าไปต่อจากวันที่ 22 หรือวันที่ 23 ของเดือน ก.พ. แทน

ในทางเทคนิคก็ว่ากันตามหลัก 4 ปี แต่ละปีเฉลี่ยมี 365.25 วัน แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะเหล่า "ปุโรหิตสูงสุด" หรือที่ปรึกษาของกษัตริย์ ต่างแสร้งทำเป็นลืมแทรกเดือน Mercedonius เข้าไปตามวงรอบ หรือในบางช่วงกลับเติมเดือนแทรกเข้าไปหลายปีติดๆ กัน เพราะเล็งเห็นผลทางการอยู่ในตำแหน่งที่ยาวนานขึ้นนั่นเอง ส่วนประชาชนที่อยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางเมือง ก็ไม่ได้รับข่าวสารที่ทั่วถึง ทำให้ยากต่อการวางแผนทำเกษตรกรรม หรือพิธีกรรมต่างๆ

ด้วยสาเหตุดังกล่าวทำให้หลายปีก่อนเกิดปฏิทินจูเลียนถูกเรียกว่า
"ปีแห่งความสับสน" (years of confusion)
กำเนิดปฏิทินจูเลียน-จุดเกิดเดือน July


เพื่อที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างถาวร จูเลียส ซีซาร์ จึงบัญชาให้มีการปฏิรูปปฏิทิน โดยสร้างปฏิทินจากวิถีโคจรของดวงอาทิตย์ เพื่อหลีกเลี่ยงการแทรกแซงจากมนุษย์ ตามข้อมูลจาก National Geographic กล่าวว่า ความคิดที่ใช้สุริยคติ มีเบื้องหลังจาก "พระนางคลีโอพัตรา" คู่รักของซีซาร์ ที่ต้องการแสดงให้เห็นว่าชนชาติอียิปต์มีความเชี่ยวชาญทางด้านดาราศาสตร์ชั้นสูง และเริ่มใช้ 37 ปีก่อนคริสต์ศักราช

การประกาศใช้ ปฏิทินจูเลียน ของ จูเลียส ซีซาร์ เป็นจุดกำหนดวันที่เริ่มต้นของฤดูกาลทั้ง 4 ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และ ฤดูหนาว ซึ่งเป็นประโยชน์มากกับการเพราะปลูกของเกษตรกร ส่งผลให้เกิดวิทยาการต่างๆ มากมายในภายหลัง แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ปฏิทินจูเลียน คือต้นแบบของ "ปฏิทินเกรกอเรียน" หรือ ปฏิทินสากล ที่ผู้คนทั่วโลกใช้บอกเวลาขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 ม.ค. ของทุกปี

หลังจากจักรพรรดิซีซาร์สิ้นพระชนม์ "มาร์ก แอนโทนี" ผู้ปกครองคนถัดมา ได้เปลี่ยนชื่อเดือนจาก Quintilis เป็น July ซึ่งเป็นเดือนเกิดของซีซาร์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติให้กับกษัตริย์นักรบแห่งอาณาจักรโรมัน

29 กุมภาพันธ์ 4 ปีมีหน ความอลวน นานนับพันปี

จุดเปลี่ยนกุมภาพันธ์เหลือ 28 วัน
ปฏิทินโรมันและปฏิทินจูเลียน ต่างกำหนดให้เดือน ก.พ. มี 29 วัน และในทุกๆ 4 ปี ก.พ. จะต้องมี 30 วัน

เพราะแต่ละปีมี 365.25 วัน การจะทำให้เป็นจำนวนเต็มคือต้องวนทุก 4 ปี

8 ปีก่อนคริสกาล ยุค จักรพรรดิออกัสตุส ซีซาร์ ลูกบุญธรรมของ จูเลียส ซีซาร์ พระองค์อยากมีเดือนที่เป็นเกียรติดั่งเช่นบิดา จึงได้เปลี่ยนชื่อเดือน Sextilis ที่เป็นเดือนเกิดของพระองค์ให้เป็นชื่อ August แต่ทว่าเดือนนั้นมี 30 วัน ตามความเชื่อของพระองค์คือ เลขคู่คือความโชคร้าย และต้องการเดือนให้มีวันเท่ากับเดือน July ของ จูเลียส ด้วย จึงไปดึงวันจากเดือนกุมภาพันธ์มาใส่

ทำให้เดือนสิงหาคมมี 31 วัน และเดือนกุมภาพันธ์เหลืออยู่ 28 วัน และก็กลายเป็น 29 วันในปีอธิกสุรทิน หรือทุก 4 ปี

ปฏิทินเกรกอเรียน "บันทึก-คำนวณ" หลักวิทยาศาสตร์
ปฏิทินเกรกอเรียนถูกกำหนดให้ใช้ในปี ค.ศ.1582 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 ทรงออกสารตราพระสันตปาปา เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดในปฏิทินจูเลียน ที่ทำให้การคำนวณ "วันอีสเตอร์" ผิดพลาด

ในความเป็นจริงเมื่อคำนวณอย่างละเอียดตามหลักวิทยาศาสตร์ 1 ปี จะมี 365 วัน 5 ชั่วโมง 48 นาที 46 วินาที (ประมาณ 365.242199074 วัน) แต่ปฏิทินเกรโกเรียนกำหนดให้ 1 ปี มี 365.2425 วัน

ปฏิทินนี้จึงคลาดเคลื่อนไป โดยจะช้าลงปีละประมาณ 26 วินาที


29 กุมภาพันธ์ 4 ปีมีหน ความอลวน นานนับพันปี


วันที่ 29 กุมภาพันธ์ - วันอธิกวาร
ปฏิทินสมัยใหม่มี 365 วัน แต่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลาประมาณ 365 วัน 6 ชั่วโมง ในทุกๆ 4 ปี จะมีการสะสม 24 ชั่วโมงเพิ่มเข้ามา (6 ชั่วโมง x4 ปี = 24 ชั่วโมง) จึงต้องมีการเพิ่มวันขึ้นมา 1 วัน เพื่อให้การนับสอดคล้องกับตำแหน่งปรากฏของดวงอาทิตย์

ซึ่งตรงกับหลักการเพิ่มวันในปฏิทินโรมัน-จูเลียน-เกรกอเรียน ที่เพิ่มวัน 1 วันให้เดือน ก.พ. ทุกๆ 4 ปี และเรียกวันที่ 29 ก.พ. เป็นวันอธิกวาร (Leap Day) และปีที่มีอธิกวารเรียก ปีอธิกสุรทิน ถือเป็นวันที่ 60 ของปีเมื่อถึงวันนี้จะยังเหลืออีก 306 วันในปีนั้น

ในทางกฎหมาย บุคคลที่เกิดในวันที่ 29 ก.พ. ในสหราชอาณาจักรและฮ่องกง ให้นับวันเกิดตามกฎหมายเป็นวันที่ 1 มี.ค. แต่ที่นิวซีแลนด์ ไต้หวัน เด็กที่เกิดวันที่ 29 ก.พ. จะมีวันเกิดตามกฎหมายคือ 28 ก.พ. รวมถึงประเทศไทยด้วย

รู้หมือไร่ : ปีที่มี 29 ก.พ. จะเป็นปีที่มีการจัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน การแข่งขันโอลิมปิกมี 2 แบบ คือ โอลิมปิกฤดูร้อน และ โอลิมปิกฤดูหนาว ซึ่งโอลิมปิกฤดูร้อนจะจัดงานอลังการกว่าโอลิมปิกฤดูหนาว เพราะมีสมาชิกเข้าร่วมมากกว่า ชนิดกีฬาที่แข่งขันก็มีมากกว่า โอลิมปิกฤดูร้อนเคยจัดในปีเดียวกันกับโอลิมปิกฤดูหนาว จนถึงปี 1992

จากนั้นในปี 1994 การจัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาวก็เริ่มขึ้น ซึ่งห่างจากโอลิมปิกฤดูร้อน 2 ปี และหลังจากนั้น ทั้ง 2 การแข่งขันกีฬาของโลกก็ถูกแยกออกจากกันอย่างสมบูรณ์ และมีวงรอบจัดทุกๆ 4 ปีเป็นของตัวเอง

รู้หมือไร่สุดท้าย : เซอร์ เจมส์ มิลน์ วิลสัน อดีตนายกรัฐมนตรีของรัฐแทสเมเนีย ประเทศออสเตรเลีย คือผู้ที่เกิดและถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 29 ก.พ. เพียงแต่คนละปี

29 กุมภาพันธ์ 4 ปีมีหน ความอลวน นานนับพันปี

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี Thai PBS


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์