ลดความอ้วนขั้นวิกฤต
พฤติกรรมของคนกลัวอ้วนเกินเหตุที่อาจก่อให้เกิดโรค
พฤติกรรมแปลกๆที่เกิดขึ้นในการรับประทานอาหาร จะเริ่มต้นจากความพยายามอดอาหารอย่างเข้มงวด ไม่ยอมกินอะไรให้ใครเห็น ออกกำลังกายอย่างหักโหม กินยาลดน้ำหนัก หรือพอรับประทานอาหารเข้าไปมากก็จะรู้สึกผิด จากนั้นก็พยายามกินยาถ่าย หรือไม่ก็ล้วงคอให้ตัวเองอาเจียนออกมา ซึ่งจะแยกความผิดปกตินี้ออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. อะนอเร็กเซีย
สาเหตุของโรคนี้แท้จริงแล้วไม่ได้มีที่มาจากปัญหาการกินโดยตรง แต่เกิดจากปัญหาทางอารมณ์และจิตใจ เนื่องจากผู้ป่วยมักเครียดหรือวิตกกังวลกับความอ้วนมากเกินไป และคิดอยู่ตลอดเวลาว่าตัวเองอ้วน ทั้งที่จริงๆแล้วน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานกำลังดี หรือบางรายก็ผอมอยู่แล้วด้วยซ้ำ แต่ก็พยายามอดอาหารเพื่อให้ตัวเองผอมลงไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นโรคเบื่ออาหารจากอาการทางจิต ร่างกายผอมแห้งและขาดสารอาหาร กระดูกและฟันไม่แข็งแรง เล็บเปราะ ผิวพรรณแห้งเหี่ยว ระบบย่อยและดูดซึมสารอาหารไม่ทำงาน ไปจนถึงหัวใจและไตเสื่อมสภาพการทำงาน
2. บูลิเมีย
สาเหตุมาจากความกลัวและวิตกกังวลเรื่องน้ำหนักตัว แต่แทนที่จะแสดงออกโดยการอดอาหาร กลับกลายเป็นแอบกิน และยิ่งกินมากเกินปกติ หนำซ้ำยังกินแต่อาหารชวนอ้วนๆที่ตัวเองชอบ แต่พอกินเข้าไปแล้วก็ไม่สบายใจ จนต้องหันไปพึ่งยาขับ ยาถ่ายต่างๆนานา หรือทำทุกวิถีทางเพื่อให้ตัวเองอาเจียนอาหารเหล่านั้นออกมาทันที ทั้งที่เพิ่งกินเข้าไป ซึ่งหากทำเช่นนี้อยู่เป็นประจำ ร่างกายก็จะสูญเสียสมดุลของน้ำและแร่ธาตุ ระบบย่อยและดูดซึมสารอาหารทำงานผิดปกติ จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เพราะหัวใจและไตวาย
การเยียวยารักษาผู้ป่วยทั้งสองประเภท
เนื่องจากการป่วยด้วยโรคเหล่านี้มีสาเหตุมาจากอาหารทางจิตใจ ดังนั้นการเยียวยาผู้ป่วยจึงต้องเริ่มจากการตรวจสภาพปัญหาทางจิตใจและต้องให้การรักษาทางจิตบำบัด โดยการรักษาของแพทย์จต้องพยายามชี้แจงเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลับมารับประทานอาหารได้ตามปกติ
ส่วนใหญ่โรคนี้มักเกิดขึ้นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมักจะเป็นผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นหรือเลยวัยรุ่นมาไม่มากนัก หากเริ่มสังเกตเห็นคนใกล้ชิดมีความไม่มั่นใจกับรูปร่างของตัวเองอย่างหนัก อีกทั้งมีพฤติกรรมแปลกแบบผิดปกติในการทานอาหาร หรือพยายามลดน้ำหนักแบบผิดๆจึงควรรีบเตือนหรือให้คำแนะนำในทางที่ถูก
ไม่ใช่เพราะฮอร์โมนหรือกรรมพันธ์ แต่เป็นเรื่องของการกินล้วนๆ
แม้นักวิชาการจะเชื่อว่า แนวโน้มของความอ้วนหรือการมีน้ำหนักตัวเกินขนาดนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับกรรมพันธุ์ แต่กระนั้นก็ยังไม่เคยมีนักวิชาการท่านใดค้นพบยีนของโรคอ้วนในตัวมนุษย์เลย จากการสำรวจประวัติของคนอ้วนส่วนใหญ่ มักจะพบว่าสมาชิกในครอบครัวเดียวกันของคนอ้วนจะต้องมีคนที่อ้วนเหมือนกัน เป็นไปได้ว่า ความอ้วนนั้นเกิดจากการกินอยู่ทีเหมือนๆกัน รวมถึงการมีทัศนคติต่อการออกกำลังกายที่คล้ายๆกันก็เป็นได้
แต่ที่แน่ๆ สาเหตุของความอ้วนมักจะต้องมีที่มาจากการตามใจปากอย่างแน่นอน เพราะการกินอาหารที่เกินต่อความต้องการของร่างกายอย่างต่อเนื่องอยู่เป็นประจำ อาหารส่วนเกินที่กินเข้าไปจะถูกแปรรูปเป็นไขมันไปสะสมพอกพูนอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นโรคอ้วน ยิ่งนานวันก็ยิ่งยากที่จะลด
ทางลัดของการลดความอ้วน อาจเป็นทางที่ "ไปไม่กลับ"
ถึงแม้คนอ้วนจะตระหนักว่า ความอ้วนเกิดจากการกินตามใจปากจนเกิดการสะสมของไขมัน แต่เกือบทุกคนก็อยากจะขจัดความอ้วนออกไปให้ได้ภายในเวลาอันสั้น บางคนก็เลือกวิธีอดอาหารอย่างเคร่งครัด หรือใช้วิธีการกินแบบแปลกๆและผิดๆ จนกลายเป็นโรคอะนอเร็กเซีย หรือบูลิเมีย นอกจากนี้คนอ้วนหรือที่คิดว่าตัวเองอ้วนอีกหลายคนที่หันไปใช้วิธีลัดด้วยการพึ่งยาลดความอ้วน โดยไม่ยอมปรับปรุงพฤติกรรมการกินอาหารของตนเอง และมักจะต้องเผชิญกับปัญหาที่ตามมาคือ เมื่อหยุดยานั้นแล้วน้ำหนักกลับยิ่งเพิ่มขึ้น หรือเกิดผลข้างเคียงจากาการใช้ยาอย่างรุนแรง เช่นเป็นโรคนอนไม่หลับ ใจสั่น กระวนกระวาย ฟุ้งซ่าน ความคิดสับสน เสพติดยาลดความอ้วนจนกระทั่งสมองเสื่อม หรือถึงขั้นเสียชีวิต
โดยปกติแล้วการจ่ายยาลดความอ้วน แพทย์ที่มีจรรยาบรรณจะจ่ายให้แต่เฉพาะกับผู้ป่วยที่ปัญหาสุขภาพอันเกิดจากความอ้วนเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง หรือถ้าปล่อยให้อ้วนต่อไปอาจเป็นโรคปวดหลังและปวดเข่าเรื้อรังจนเดินไม่ได้ ซึ่งยาลดความอ้วนที่แพทย์จ่ายให้ก็จะเป็นยาลดความอยากอาหาร ยาเพิ่มการใช้พลังงาน ยาต้านการย่อยอาหาร หรือยาต้านการดูดซึมไขมัน แต่การใช้ยาเหล่านี้จะต้องทำร่วมกับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของตัวเองด้วย
วิธีการคิดคำนวนว่าคุณอยู่ในเกณฑ์อ้วนหรือไม่
แพทย์จะใช้ค่าดัชนีมวลร่างกาย (Body Mass Index) หรือที่เรียกสั้นๆว่า BMI เป็นตัวชี้วัด ค่านี้จะคำนวณโดยากรใช้น้ำหนักตัว (หน่วยเป็นกิโลกรัม) เป็นตัวตั้ง จากนั้นหารด้วยส่วนสูงยกกำลังสอง (หน่วยเป็นเมตร) แล้วปัดให้ทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง (เศษตั้งแต่ 5 ปัดขึ้น ส่วนเศษต่ำกว่า 5 ให้ปัดทิ้ง) เช่นผู้ที่หนัก 60 กิโลกรัม สูง 1.6 เมตร คำนวณค่าBMI โดยนำ 60 ตั้งแล้วหารด้วย 2.6(1.6x1.6) ค่าที่ได้เท่ากับ 23.1 ปัดเป็น 23
ค่าดัชนีมวลร่างากาย
ต่ำกว่า 20 | น้ำหนักน้อยเกินไปอาจเสี่ยงต่อโรคผอมแห้ง |
20 - 25 | น้ำหนักเหมาะสมเพื่อการมีสุขภาพดี |
26 - 60 | น้ำหนักมากเกินไป |
มากกว่า30 | ถือว่าเป็นโรคอ้วน |