ดวงจันทร์ ชนกันในวงแหวน ดาวเสาร์



วงแหวนเอฟของดาวเสาร์ (ภาพจาก NASA/JPL/Space Science Institute)

วงแหวนเอฟของดาวเสาร์เป็นที่สนใจของนักดาราศาสตร์มาเป็นเวลานาน

เนื่องจากมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นบ่อยและรวดเร็ว บางครั้งอาจสังเกตได้ในระดับชั่วโมงต่อชั่วโมง และอาจเป็นเพียงแห่งเดียวในระบบสุริยะที่มีการกระทบกระทั่งกันแบบรายวัน การศึกษากระบวนการเหล่านี้ช่วยให้นักดาราศาสตร์ได้เข้าใจถึงสภาวะในช่วงต้นของการกำเนิดดาวเคราะห์

เมื่อไม่นานมานี้คณะนักดาราศาสตร์จากสหราชอาณาจักรได้รวบรวมภาพที่ถ่าย

จากยานแคสซีนี-ไฮเกนส์ในช่วงปี 2549-2550 ได้แสดงถึงวิวัฒนาการของโครงสร้างต่างๆ ที่เชื่อว่าเป็นผลจากการชนกันระหว่างดวงจันทร์ขนาดเล็กกับแกนของวงแหวนเอฟ

ย้อนหลังไปในปี 2547 ยานแคสซีนีได้พบวัตถุขนาดประมาณ 5 กิโลเมตร ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่า เอส/2004 เอส 6 (S/2004 S6) เป็นไปได้มากที่วัตถุดวงนี้จะเป็นที่มาของลำสสารที่ปรากฏในภาพ

ศาสตราจารย์คาร์ล เมอร์เรย์ จากควีนแมรี่ มหาวิทยาลัยลอนดอน และหนึ่งในคณะทำงานของแคสซีนีกล่าวว่า
 
การวิจัยในช่วงก่อนหน้านี้ชี้ว่า
ลักษณะผิดปกติที่พบในวงแหวนเอฟอาจเกิดได้จากการรบกวนของดวงจันทร์ที่มีรัศมีประมาณ 100 กิโลเมตร หรืออาจเกิดจากดวงจันทร์ขนาดเล็กชนชนกับอนุภาคในวงแหวน แต่ในขณะนี้เราเชื่อว่าน่าจะเป็นดวงจันทร์ขนาดเล็กมากกว่า

ศาสตราจารย์ เคท เมสัน ผู้บริหารระดับสูงของ สภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมในโครงการแคสซีนี-ไฮเกนส์ กล่าวว่า
 
"ภารกิจนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก เราได้เรียนรู้ถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นในระบบสุริยะ เข้าใจถึงการเคลื่อนที่ของวัตถุขนาดเล็กในดงอนุภาคในวงแหวนดาวเสาร์ ทำให้เรามองเห็นไปถึงกระบวนการที่ขับเคลื่อนการกำเนิดระบบดาวเคราะห์ ซึ่งดาวเคราะห์แรกรุ่นก็ต้องเคลื่อนที่ฝ่าและเก็บกวาดเศษวัสดุในระนาบของดงฝุ่นเช่นเดียวกัน"

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์