อย่ามองโลกกว้างเกิน...อย่ามองโลกแคบเกิน
การกระทำที่ผ่านมา มาตรวจสอบดูว่าอะไรมันผิด อะไรมันถูก
จะได้แก้ไขลงไป การดำเนินชีวิตของเราไม่ใช่ว่าจะมีวันนี้วันเดียว
เราจะต้องอยู่ในโลกนี้อีกช้านาน การที่เราจะอยู่ในโลกนี้อย่างช้า
นาน ถ้าเราไม่ได้มีการพินิจพิจารณา การใคร่ครวญทำความเข้า
ใจกับเรื่องต่างๆ สมกับเป็นผู้รู้ สมกับเป็นบัณฑิต ถ้าเราทำอะไรลง
ไป ตัดสินอะไรลงไปโดยไม่ยั้งคิด ความเสียหายตกอยู่กับบ้านเมือง
ตกอยู่กับวงศาคณาญาติ ฉะนั้น...เรามาเพื่อพิจารณาใคร่ครวญหา
เหตุผลว่า การคิดอย่างไรถึงจะคิดถูก คิดแบบไหนที่คิดผิด ด้วย
วิธีการต่างๆ หลักการคิด ถ้าเราคิดแบบนักปราชญ์บัณฑิต แบบผู้รู้
ผู้ตื่น ผู้เบิกบานเป็นแบบไหน แบบฉบับของพระพุทธเจ้าก็มีอยู่ ถึง
เรียกว่า...'สัมมาทิฏฐิ' การคิดชอบ การดำริชอบ ฉะนั้น...การที่เรา
มีโอกาสเข้ามาศึกษาธรรมวินัย ก็ใคร่ครวญดูจากเหตุการณ์ต่างๆ
ที่เกิดขึ้นในโลก ถ้าหากเราไม่ใคร่ครวญดู อะไรที่เกิดขึ้นมาก็ผ่านไป
เปล่าๆ โดยที่ไม่ได้อะไรเลย ฉะนั้น...การปฏิบัติ การที่เข้ามาศึกษาธรรม
วินัย ไม่ได้เข้ามาศึกษาธรรมวินัยหรอก แต่เข้ามาศึกษาตนเอง เข้ามา
ศึกษาดูกาย ดูใจ ทำไมเราต้องมาศึกษาดูมัน เะราะทางธรรมชาติของ
คนจะชอบปล่อยมันไหลไปในทางต่ำ เมื่อมันไหลไปในทางต่ำ มันก็จะ
ไหลไป ฉะนั้นต้องพยายามมองโลกกว้าง อย่ามองว่าโลกกว้างเกินไป
อย่ามองว่าโลกแคบเกินไป พยายามมองตามหลักของ'มัชฌิมา' มอง
โลกในท่ามกลาง ถ้าเรามองโลกท่ามกลางแล้วมันอยู่ที่ไหน อยู่ที่เรารู้
เราก็บี้เข้าไป บี้เข้าไป เรารู้อยู่ในกายหรือนอกกาย ถ้าเรารู้อยู่ในกายเราก็
บี้เข้าไปในกายเรา ดูกายเราว่ามีส่วนประกอบต่างๆ อย่างกรรมฐาน และ
พยายามสังเกตุเรื่องต่างๆ ของทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาในโลก จะเกิดขึ้น
ตามลำพัง หรือเกิดจากการปรุงแต่งของคนก็ตาม มันเกิดขึ้นมาจากตรง
ไหนก็ตาม อย่าสนใจจนเกินไปและอย่าปล่อยไปจนเกินไป ให้ดูตามหลัก
ของ...มัชฌิมา ฉะนั้น หลักการภาวนา...คำสอนของพระพุทธเจ้าทันสมัย
มาตลอด หลักการภาวนาก็ได้พูดมาหลายวิธีการ บัดนี้ก็มาสำรวจดูกาย
ของเรา ใจของเรา มันมีปกติแล้วหรือยัง เอาอะไรมาเป็นเครื่องสำรวจ
เอาศีล-สมาธิ-ปัญญา...มาเป็นเครื่องสำรวจมัน ถ้าหากได้สำรวจแล้ว
จะเห็นความบกพร่องของเรา....
ฉะนั้น...การใคร่ครวญ การมีสติ การทำความเข้าใจกับตัวเรา...
การมาวัด ไม่ได้มาทำอย่างอื่น การมาวัดมาเพื่อทำความเข้าใจกับตัวเรา
ว่า...เราจะดำเนินชีวิตแบบไหน มันถึงจะเป็นไปแบบมีความสุข สงบ...
ท่านถึงว่า...อกาลิโก คือ การไม่เลือกเวลา ไม่เลือกสมัย...เรามาศึกษา
เมื่อไหร่ก็รู้....
~~พระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ~~
ขอนอบน้อมแด่คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์