อานาปานสติ สมาธิภาวนา


ธรรมศาลา


เนื้อหากระทู้นี้เหมาะกับผู้ที่กำลังจะเริ่มต้นฝึกด้วยอุบายวิธีอานาปานสติภาวนา และท่านผู้ที่ปฏิบัติเป็นกิจวัตรด้วยวิธีนี้
.........โดยมีการนำเสนอหัวข้อกรณีศึกษาที่น่าสนใจ เปิดโอกาสแสดงความเห็นสอบถาม แลกเปลี่ยนกันและกันตามอัธยาศัย ...

อานาปาน เป็นคำสมาส ระหว่างคำว่า "อานะ" และ "อปานะ"
ที่หมายถึง"ลมหายใจเข้า" และ"ลมหายใจออก" ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ

.........ความที่มีสติ สัมปชัญญะ การระลึกรู้สภาพธรรมที่เป็นปัจจุบัน ความรู้สึกสัมผัส(นาม) ที่เกี่ยวข้องกับลมหายใจ(รูป) นั้นมีมานานคู่กับมนุษย์ชาติ
เพราะ มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้เนื่องด้วยลมหายใจเข้า-ออก ตั้งแต่เกิดจนตราบจนสิ้นชีวิต

.........หากผู้ปฏิบัติศึกษาพระไตรปิฏกควบคู่กันก็จักทราบว่าอานาปานสติเป็นหมวดกรรมฐานที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงตรัสรู้ เป็นกรรมฐานของพระอรหันต์หลายองค์ในอดีต ปัจจุบัน และสืบเนื่องไปยังอนาคต ดำเนินสู่มรรค ผล นิพพาน
.........อานาปานสติมีการแนบเนื่องเกื้อหนุนกันระหว่างสมถะและวิปัสสนา ที่มีความแน่วแน่เป็นหนึ่ง การพิจารณาสภาพธรรมสู่ความชัดเแจ้งไตรลักษณ์
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไปโดยลำดับ


เนื้อหาหัวข้อที่น่าสนใจ น่าศึกษาจะนำลิงค์ลงไว้โดยลำดับครับ


อานาปานสติสูตร พระสูตรที่ว่าด้วยการทำสมาธิโดยอุบายวิธีการนี้
http://www.dhammachak.net/wimuttidham_ch8.pdf
พระไตรปิฏก


สมาธิเบื้องต้น(อานาปานสติ) สำหรับคนทั่วไปอย่างง่าย

http://www.dhammachak.net/lumtandham-6.html
โดยท่านพุทธทาสภิกข

อานาปานสติภาวนาภาคปฏิบัติ สภาวธรรม
http://www.dhammachak.net/wimuttidham_ch8.pdf
วิมุตติธรรม

การปฏิบัติสมาธิภาวนา สภาวธรรมภาคปฏิบัติ(อานาปานสติ)
http://www.dhammachak.net/part2.pdf
"สิ่ง" สารัตถะแห่งชีวิต











ข้อเทคนิคพื้นฐานเบื้องต้นสำหรับบางท่านซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติใหม่
เมื่อเริ่มต้นฝึกอานาปานสติ สมาธิภาวนา


ความตั้งใจใส่ใจในจุดกระทบลมหายใจเข้า-ออก อานาปานสติสมาธิ
สติที่กำหนดสังเกตลมหายใจที่ผ่านมากระทบเข้า-ออก
-เพ่งมากไปอาจตึงและมึนศีรษะ
-หย่อนมากไปอาจฟุ้งไม่สงบ

เกี่ยวกับเรื่องการดำเนินวางจิตนั้นเป็นพื้นฐานเบื้องแรกที่สำคัญ
พระพุทธองค์ได้ทรงอุปมาอุปมัย ไว้ว่า "ประดุจผู้ฉลาดที่มีนกกระจาบรักษากำไว้ในมือของตน"
........หากกำมือหลวมไป นกกระจาบตัวนั้นก็คงหลุดมือไป เปรียบได้กับความย่อหย่อนไม่เอาใจใส่กรรมฐานที่มีลมหายใจเข้า-ออก เป็นบาทฐานให้สติระลึกรู้อยู่

........หากกำมือบีบแน่นเกินไป นกกระจาบตัวนั้นคงตายหายใจไม่ออก เปรียบได้กับการเพ่งตั้งใจมากไปกับลมหายใจไม่เป็นธรรมชาติ เกิดภาวะเกร็ง เครียด จนอาจปวดตึงศรีษะหรือท้ายทอย

การฝึกอานาปานสติ มิใช่การพยายามปรับลมหายใจให้เป็นรูปแบบใหม่
แต่เป็นเพียงการศึกษากระบวนการธรรมชาติภายในตัวเองผ่านลมหายใจเข้าและออก
เป็นลมหายใจที่มีอยู่แล้วตามปกติธรรมชาติของชีวิตมนุษย์

จึงควรหาจุดที่พอดี เหมาะสมกับแต่ละท่าน ที่ได้จากการสังเกตตัวเอง
จุดเหมาะสมพอดีนั้นของแต่ละท่านนั้น ประสบการณ์ตรงด้วยตัวเองค้นหาเจอเป็นดีที่สุด

......................

และจุดโฟกัสของลมหายใจ ก็เช่นกันที่สามารถก่อให้ท่านมึนตึงศีรษะ จากการเพ่งได้
........ ควรเลือกจุดที่รู้สึกได้ชัดที่สุด ส่วนใหญ่ของผู้ปฏิบัติก็จะมี
........๑.ส่วนใดส่วนหนึ่งของโพรงจมูก
........ ๒.ปลายจมูก หรือ ๓.บริเวณจุดพื้นที่ผิวเหนือริมฝีปากกระทบลม
........ผู้ปฏิบัติแต่ละท่านไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความถนัด ชัดเจนของแต่ละบุคคลไป ที่จะสังเกตโฟกัสที่จุดใด

........ใหม่ๆ เมื่อใหร่ที่รู้สึกตึงจากการกำหนด อาจเกิดจากกำหนดจุดรับรู้ลมหายใจใกล้ หรือไกลจนเกินไป
........ดังนั้นควรหมั่นสังเกตุหาจุดที่พอดีเหมาะสมกับแต่ละท่าน


.......................

สมาธิภาวนา ที่มีทั้ง สมถะและวิปัสสนา อานาปานสติ

.........อุปมา คล้ายกับ ผู้ถือแว่นเลนส์ส่องรับดวงตะวัน เพื่อรวมแสงไปยังใบไม้หรือแผ่นกระดาษเพื่อเผาไหม้ ดุจเดียวกับ
.........สติ สัมปชัญญะที่ดำรงอยู่สภาวะธรรมปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง เปรียบดังการที่มือถือแว่นเลนส์ ไม่ซัดส่าย
.........ความสะอาดของแว่นเลนส์ เปรียบดั่ง ภาวะปัญญาที่แจ่มชัด ซึ่งก่อเกิดจากการหล่อหลอมสติ สัมปชัญญะ เป็นกลาง สัมผัสอยู่ กับสภาพธรรมปัจจุบันโดยลำดับ ชัดแจ้งสภาพธรรมโดยลำดับ ซึ่งสภาพธรรมทั้งปวงรวบลงสู่นามและรูป ที่เป็นปัจจัยเคลื่อนไหว ดำเนินอยู่ ความไม่เที่ยง ไม่จีรัง เป็นทุกขังไม่สามารถบังคับบัญชา ทั้งนามรูปที่สืบเนื่องเป็นปัจจัยเสริมซึ่งกันและกัน ไม่มีใครยึดเป็นของเขา ของเราได้
.........ความร้อนที่เกิดขึ้นบนใบไม้ หรือกระดาษ เปรียบประดุจ แสงแห่งปัญญา ที่แผดเผากิเลสความเคยชินเก่าๆที่ก่อทุกข์ ด้วยบาทฐานแห่งสติ สัมปชัญญะ สมาธิ ปัญญา แทงตลอดในสภาพธรรม(นามรูป)ความไม่จีรังยั่งยืนในสิ่งที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น เป็นทุกข์ และไม่สามารถนำมาถือเป็นตัวเราของเรา ของเขาได้

.........อุปมาอีกข้อ คล้ายกับ เราอยู่ในห้องที่สลัว มองไม่ชัดว่ามีสิ่งใดอยู่ในห้องบ้าง เมื่อจุดเทียนไขขึ้นก็สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆได้
.........ห้องที่สลัว หมายถึง ห้วงชีวิตที่ดำเนินที่มีความไม่รู้ครอบงำ สิ่งต่างๆที่เป็นปมแฝงเร้นซ่อนเงื่อนภายในจิตใจ
.........แสงจากเปลวเทียน หมายถึง ภาวะสงบ ไม่ซัดส่าย ดุจปลอดจากสายลมรบกวน เปลวเทียนไม่ซัดส่าย ได้ภาวะสงบจิต สงบกาย ไม่โดนครอบงำจากอารมณ์ มีจิตประณีต ได้จากการวางจิตเบา กายเบา อยู่กับอารมณ์กรรมฐาน-สมถะ
แสงจากเปลวเทียน ยิ่งสว่าง ก็สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆโดยรอบได้ชัดเจนยิ่งขึ้น พิจารณา(วิปัสสนา)ได้เข้าใจชัดถึงความจริงชัดเจนยิ่งขึ้นโดยลำดับ
นำไปสู่การปล่อยวางทางจิตใจอย่างถูกต้องเป็นธรรมชาติโดยไร้การอิงอาศัยกระแสแห่งแรงเจตนา

.........ความสลัวที่เคยบดบังสายตา ดุจดังอารมณ์ที่ครอบงำจิตใจ ก็จักค่อยแยกแยะอารมณ์ส่วนนามที่เกิดจากเวทนา(ความรู้สึก) และสภาพรับรู้(จิต) สลายเงื่อนปมปัญหาในจิตใจ ที่เคยผูกปมไว้ กับสิ่งต่างๆ ผู้ปฏิบัติจัก มีความเข้าใจแจ่มชัด ปล่อยวาง ดำเนินไปสู่การไขปริศนาชีวิตตนเองได้ โดยลำดับ
เป็นผลอานิสงส์ของการดำเนินวิถีทางโดยการปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา


.........ขอขยายความศัพท์คำว่า "สภาพธรรมทั้งปวงย่นย่อลงเหลือเพียง นามและรูป" หรือ ขันธ์๕ ที่มีทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อความเข้าใจชัดเจนขึ้นสำหรับผู้ปฏิบัติที่ยังใหม่ที่ได้อ่านในความเห็นนี้ครับ

.........นาม คือ อารมณ์ ความรู้สึก(เวทนา) สภาพรู้(จิต) สภาพธรรม
.........รูป คือ ลมหายใจ(อานาปานสติ-๑), อริยาบทต่างๆของร่างกาย(อริยบทบรรพหลักและย่อย-๒และ๓) ,ปฏิกูลสิ่งต่างๆของร่างกาย(ปฏิกูลมนสิการบรรพ-๔) ,ความเป็นธาตุของร่างกายของดิน น้ำ ไฟ ลม(ธาตุมนสิการบรรพ-๕) ,ศพในป่าช้าโดยอาการทั้ง ๙ ชนิด(นวสีวถิกาบพรรพ-๖)
.........หมายเหตุ รูป ที่แสดงไว้ทั้งสิ้นจากหมวดฐานกายที่มี ๖ หมวด ของสติปัฏฐาน ๔ (กาย เวทนา จิต ธรรม) เพื่อให้ผู้ปฏิบัติเห็นได้ชัดเจนว่า แต่ละอุบายวิธีของ ๖ วิธีนั้นมีการพิจารณามนสิการซึ่งในส่วนฐานรูปเท่านั้นก็คือฐานกาย ที่มีความแตกต่างกัน ตามแต่วิธีตามจริตของผู้ปฏิบัติ เพื่อกันความสับสนของความเข้าใจที่อาจซ้อนทับกัน ของอุบายหลักวิธีปฏิบัติ และเพื่อความก้าวหน้าของผู้ปฏิบัติแต่ละอุบายวิธีที่ดำเนินไป
.......ส่วนฐานนาม ล้วนดำเนินไปโดยเป็นอย่างเดียวกันรูปแบบของการวิวัฒน์เกื้อกูลคุณธรรมจิต ไปในทิศทางเดียวกัน แม้ฐานรูปจักดำเนินต่างกันอย่างไรก็ตาม



คัดลอกมาจาก http://www.dhammachak.net/board/viewtopic.php?t=97&start=0















ฟังเพลง
เสียงเพลงออนไลน์ (wma)
เพลงธรรมะ ชุดพุทธานุภาพ
แผ่นพลิ้ว เพลงธรรม... นำสุข




ที่พึ่งใจ 


http://www.fungdham.com/sound/popup-sound/song/popup-buddhapower06.html

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์