ความหมายของวิชาวิทยาศาสตร์
ความหมายของวิชาวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์(science) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ และกระบวนการค้นคว้าหาความรู้ที่มีขั้นตอนมีระเบียบแบบแผน
ความหมายของคำว่า วิทยาศาสตร์ จะมี 2 ส่วน
1. วิทยาศาสตร์หมายถึงความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่มนุษย์พยายามหาคำตอบเกี่ยวกับคำถามจากสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น
สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร
สิ่งต่างๆ มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร
สิ่งต่างๆ ที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันจะเป็นอย่างไรในอนาคต
มนุษย์ใช้ประโยชน์จากสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้อย่างไรการการพยายามหาคำตอบจากสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ นำไปสู่ข้อสรุปเป็นข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอด ทฤษฎี หลักการ และกฎต่างๆ ทางด้านวิทยาศาสต
2. วิทยาศาสตร์ หมายถึง
กระบวนการค้นหาความรู้อย่างเป็นระบบและมีขั้นตอนที่สามารถตรวจสอบได้ จึงได้ความรู้ที่มีขั้นตอนและสามารถตรวจสอบได้ จึงได้ความรู้ที่มีระเบียบกฎเกณฑ์
องค์ประกอบของการศึกษาทางวิทยาศาสตร์
1. กระบวนการ (process) หมายถึง การกระทำคนซึ่งอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์คือ การสังเกต การกำหนดปัญหา และการตรวจสอบสมมุติฐาน
2. ความรู้ (knowledge) ได้แก้ผลจากการกระทำของคน ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูล ข้อเท็จจริง ทฤษฎี และกฎ
กระบวนการหาความรู้ของนักวิทยาศาสตร์
กระบวนการหาความรู้ของนักวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
1. "ระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method)" หมายถึงวิธีการทำงานอย่างมีระบบ ซึ่งเริ่มจาก
1 การสังเกต(ทำให้เกิดความสงสัยและเป็นปัญหาเกิดขึ้น)
2 กำหนดปัญหาให้ชัดเจน
3 ตั้งสมมุติฐาน เป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหาอย่างมีเหตุผล
4. ออกแบบการทดลองและทำการทดลองตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
5 สรุปผลการทดลองหลังจากการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของผลการทดลองที่ได้อย่างมีเหตุผล
จะเห็นว่าวิธีการทางวิทยาศาสตร์มี 5 ขั้นตอนนะจ้ะ
สังเกต-- ระบุปัญหา---ตั้งสมมุติฐาน---ทดลอง--สรุปผล--
2. "ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์"
เป็นส่วนที่สอง หมายถึงความชำนาญและประสบการณ์ในการใช้ความคิดเพื่อแก้ปัญหา ทักษะที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาและสรุปเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์
ประกอบด้วยทักษะพื้นฐานที่สำคัญดังนี้
ทักษะการสังเกต
ทักษะทักษะการวัด
ทักษะทักษะการคำนวณ
ทักษะทักษะการจำแนกและจัดหมวดหมู่
ทักษะทักษะการหาความสัมพันธ์
ทักษะทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
ทักษะทักษะการจัดทำและสื่อความหมายข้อมูล
ทักษะทักษะการทำนาย
นี่ล่ะคือคุณสมบัติที่สำคัญของผู้ที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ล่ะ ที่กล่าวมานั้นเป็นทักษะที่ใช้ให้การคิดเพื่อแก้ปัญหาสรุปผล แต่ในขั้นการออกแบบการทดลอง เพื่อทำการตรวจสอบสมมุติฐานยังต้องอาศัยทักษะกระบวนการขั้นผสม..ที่ซับซ้อนขึ้นอีก(เล็กน้อย) ได้แก่
ทักษะการตั้งสมมุติฐาน(ต้องตั้งเก่งด้วย)
ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร (เพื่อให้ผลทดลองออกมาน่าเชื่อถือ)
ทักษะการกำหนดเชิงปฏิบัติการ (คือการกำหนดขั้นตอนวิธีการทดลอง)
ทักษะการทดลอง (ใช้อุปกรณ์เป็นเปล่า..แถวนั้น)
ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป(ต้องดูผลการทดลองแล้วแปลความหมายเป็นด้วย ไม่ใช่เอาไปไบ้หวย อิอิ)
3. ส่วนที่ 3 (สุดท้าย)
ของกระบวนการหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์คือ "เจตคติทางวิทยาศาสตร์" หมายถึงคุณลักษณะของบุคคลที่มีแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมของตนออกมา ซึ่งจะมีผลต่อความสำเร็จของงานทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมากเลย พูดง่ายๆ คือนิสัยส่วนตัวของคนนั่นล่ะ
ซึ่งลักษณะที่สำคัญได้แก่
การเป็นคนช่างสังเกต(สำคัญมากข้อนี้หมายถึงการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมด ในการพิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างละเอียด แต่ต้องระวังความปลอดภัยด้วยนะ)
เป็นคนช่างสงสัย
เป็นคนมีเหตุผล
เป็นคนมีความพยายามและอดทน (ลองไปอ่านประวัตินักวิทยาศาสตร์ดูในห้องความรู้จะเห็นว่าพวกเขาต้องพยายามกันมากกว่าจะค้นพบ) เป็นคนที่มีความพยายามและริเริ่ม เป็นคนทำงานอย่างมีระเบียบระบบเป็นขั้นตอนตามระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์
ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มีประโยชน์จาก เว็บไซต์: กิตติยาดอทคอม
เพื่อร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนโลกอินเตอร์เน็ต
ผู้มีบทความทางด้านวิทยาศาสตร์น่ารู้
สามารถส่งผลงานของท่านมาได้ที่ arunee@teeneemedia.com