ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เกี่ยวกับ ฟ้าผ่า

นักวิชาการร่วมไขข้อสงสัยการเกิดปรากฏการณ์ฟ้าผ่า และจริงหรือที่ตะกรุด สร้อย โทรศัพท์มือถือ MP3 เป็นสื่อล่อฟ้า?




ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เกี่ยวกับ ฟ้าผ่า


“ฟ้าผ่าจากยอดเมฆลงสู่พื้นนั้น เป็นการปลดปล่อยประจุบวกออกจากก้อนเมฆ (ฟ้าผ่าแบบบวก)  สามารถผ่าได้ไกลออกไปจากก้อนเมฆถึง 30 กิโลเมตร นั่นคือแม้ท้องฟ้าเหนือศีรษะจะดูปลอดโปร่ง แต่ก็อาจจะถูกฟ้าผ่า (แบบบวก) ได้ หากมีเมฆฝนฟ้าคะนองอยู่ห่างไกลออกไปราว 30 กิโลเมตร  โดยฟ้าผ่าแบบบวกมักจะเกิดในช่วงท้ายของพายุฝนฟ้าคะนอง คือ หลังจากฝนที่กระหน่ำเริ่มซาลงแล้ว และแม้ว่าฟ้าผ่าแบบบวกจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก (น้อยกว่า 5% ของฟ้าผ่าทั้งหมด) แต่ก็ทรงพลังมากกว่าฟ้าผ่าแบบลบถึง 10 เท่า กล่าวคือ กระแสไฟฟ้าอาจสูงถึง 300,000 แอมแปร์ และความต่างศักย์ 1 พันล้านโวลต์เลยทีเดียว อีกทั้งฟ้าผ่าแบบบวกยังอาจทำให้เกิดไฟป่าได้อีกด้วย หากในป่าบริเวณที่โดนฟ้าผ่าเกิดไฟลุกไหม้ลาม และไม่มีฝนตกลงมาดับไฟ


“พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดฟ้าผ่าได้มาก คือบริเวณที่เป็นแนวพาดผ่านของลมมรสุม กอปรกับมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่สูง เช่น เทือกเขา สันเขา หรือเนินเขา รวมถึงบริเวณที่ติดทะเล เนื่องจากมีความชื้นสูงก่อให้เกิดฝนฟ้าคะนองได้ ซึ่งเมื่อพิจารณา 2 ส่วนพร้อมกันแล้วจะพบว่า ภูมิภาคที่เสี่ยงต่อการเกิดฟ้าผ่าและมีความถี่สูง อาทิ พื้นที่ภาคใต้ของไทย ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต กระบี่ ระนอง และพังงา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ฝนตกชุกและอยู่ระหว่าง 2 ฝั่งมหาสมุทรที่มีความชื้นของน้ำทะเลเป็นตัวนำให้เกิดฟ้าผ่าร่วมอยู่ด้วย นอกจากนี้พื้นที่ภาคตะวันออก ได้แก่ จ.จันทบุรี จ.ตราด ก็ถือเป็นพื้นที่เสี่ยงด้วย เนื่องจากมีเขาสูงและมีการการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศบ่อย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดมุกดาหาร กาฬสินธุ์ และอำนาจเจริญ ขณะที่ภาคเหนือ คือจังหวัดลำพูนและลำปาง ส่วนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ก็ยังถือเป็นพื้นที่ที่เกิดฟ้าผ่า แต่ส่วนใหญ่ฟ้าจะผ่าลงไปในบริเวณอาคารสูงและหอคอยสูง ซึ่งจุดเหล่านี้ถูกป้องกันโดยระบบล่อฟ้าไว้เรียบร้อยแล้ว



นอกจากนี้เพื่อให้แสดงให้เห็นข้อเท็จจริงจากอันตรายจากฟ้าผ่า จึงได้มีการสาธิตกับวัตถุที่จำลองเป็นต้นไม้ โรงเรียน และคน พบว่าฟ้าผ่าลงที่บริเวณดังกล่าวเนื่องจากเป็นจุดที่สูงกว่าบริเวณอื่นๆ ที่สำคัญยังมีการจำลองสถานการณ์ให้ตุ๊กตา (เปรียบกับคน) ยืนหลบอยู่ใต้ต้นไม้เมื่อมีฝนฟ้าคะนอง ซึ่งผลปรากฏว่าฟ้าผ่าลงต้นไม้และมีกระแสไฟกระโดดเข้าตัวตุ๊กตา พบมีรอยไหม้บริเวณศีรษะ นับเป็นกรณีตัวอย่างอันตรายจากฟ้าผ่าที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศไทย



เครดิตแหล่งข้อมูล : สวทช
เรียบเรียง : ทีมงาน Teenee.com


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์