รู้หรือไม่?อะไรอยู่ในกลิ่นไอดินที่ทำให้รู้สึกสดชื่น
หลายคนรู้สึกสดชื่นหลังฝนแรกลงสัมผัสกับพื้นดินโดยเฉพาะเมื่อได้ "ไอดินกลิ่นฝน" นักวิทยาศาสตร์บอกว่ากรุ่นกลิ่นหอมไอดินหลังฝนตกนี้เกิดจากส่วนประกอบทางเคมีจากหลายปรากฎการณ์ด้วยกัน
ทั้งแบคทีเรีย พืชพรรณ ไปจนถึงสายฟ้าต่างก็มีส่วนในการสร้างกลิ่นสดชื่นเมื่อฝนตกหลังจากที่พื้นดินแห้งผากมาเป็นเวลานาน
"เพทริเคอร์"
คำว่ากลิ่นไอดิน มีคำเรียกเฉพาะในภาษาอังกฤษว่า เพทริเคอร์ (petrichor) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำหอมต่างพยายามศึกษาค้นคว้าเพื่อที่จะทำให้กลิ่นดังกล่าวนี้ทนนานและสามารถใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้
ทั้งแบคทีเรีย พืชพรรณ ไปจนถึงสายฟ้าต่างก็มีส่วนในการสร้างกลิ่นสดชื่นเมื่อฝนตกหลังจากที่พื้นดินแห้งผากมาเป็นเวลานาน
"เพทริเคอร์"
คำว่ากลิ่นไอดิน มีคำเรียกเฉพาะในภาษาอังกฤษว่า เพทริเคอร์ (petrichor) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำหอมต่างพยายามศึกษาค้นคว้าเพื่อที่จะทำให้กลิ่นดังกล่าวนี้ทนนานและสามารถใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้
คำว่า petrichor เกิดขึ้นโดยนักวิจัยออสเตรเลียสองคนในทศวรรษ 1960 คือ อิสเบล แบร์ และ อาร์จี โธมัส พวกเขานำเอาคำกรีกสองคำมาต่อกัน คือ "petros" หมายความว่า ก้อนหิน และ "ichor" แปลว่าของเหลวที่ไหลอยู่ในเส้นโลหิตของทวยเทพ ทั้งสองคนอธิบายว่ากลิ่นไอดินที่ลอยขึ้นจากพื้นดินเมื่อต้องเม็ดฝนเกิดจากแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เรียกว่า สเตรปโตมายซีส (Streptomyces)
"เจ้าพวกนี้มีอยู่มากมายในดิน" ศ. มาร์ค บัตต์เนอร์ หัวหน้าแผนกจุลชีววิทยาระดับโมเลกุล แห่งศูนย์จอห์น อินนส์ กล่าว
"เจ้าพวกนี้มีอยู่มากมายในดิน" ศ. มาร์ค บัตต์เนอร์ หัวหน้าแผนกจุลชีววิทยาระดับโมเลกุล แห่งศูนย์จอห์น อินนส์ กล่าว
"ดังนั้นเมื่อคุณบอกว่าคุณได้กลิ่นดินเปียกชื้น จริง ๆ แล้วก็คือคุณได้กลิ่นโมเลกุลที่เกิดขึ้นแบคทีเรียชนิดนี้" ศ. บัตต์เนอร์กล่าวกับบีบีซี
แบคทีเรียสเตรปโตมายซีสมีอยู่มากมายมหาศาลในดินที่อุดมด้วยแร่ธาตุ แบคทีเรียจะผลิตโมเลกุลที่มีชื่อเรียกว่า จีโอสมิน (geosmin) ออกมา
เมื่อหยดน้ำหล่นลงมาต้องพื้นดิน จีโอสมินจากพื้นจะลอยขึ้นไปในอากาศ และเมื่อฝนตกหนักขึ้น ปริมาณจีโอสมินที่หลุดลอยไปในอากาศก็ยิ่งเพิ่มขึ้น
"มีสัตว์หลายประเภทที่ไวต่อกลิ่นนี้ แต่มนุษย์จะไวมากที่สุด" ศ. บัตต์เนอร์กล่าว
ในช่วงต้นทศวรรษ 1960 มีผู้คิดค้นวิธีเปลี่ยนไอดินให้กลายเป็นกลิ่นในเชิงพาณิชย์เรียกว่า มัตติ กา อัททาร์ หรือ "กลิ่นหอมแห่งพสุธา" โดยมีการทำขึ้นครั้งแรกในรัฐอุตตรประเทศ ของอินเดีย
ในปัจจุบันนี้ จีโอสมินได้กลายองค์ประกอบสำคัญของน้ำหอมหลายชนิดไปแล้ว
"มันเป็นส่วนประกอบหนึ่งของสูตรน้ำหอม และกลิ่นมันจะคล้ายเวลาฝนตกใส่พื้นคอนกรีต" มารินา บาร์เซนิลลา ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำหอมกล่าว "กลิ่นนี้ให้ความรู้สึกถึงความเก่าแก่แบบปฐมกาล"
"แม้แต่เมื่อคุณนำมันไปผสมกับอย่างอื่นในสัดส่วนหนึ่งต่อพันล้าน (มนุษย์)ก็ยังสามารถรับรู้กลิ่นนี้ได้" เธอกล่าว
แม้เราจะมีความสัมพันธ์พิเศษกับจีโอสมิน จนได้กลิ่นแม้จะมีมันอยู่เพียงเล็กน้อยในอากาศ แต่มนุษย์ไม่น้อยเกลียดรสชาติของมัน
เมื่อหยดน้ำหล่นลงมาต้องพื้นดิน จีโอสมินจากพื้นจะลอยขึ้นไปในอากาศ และเมื่อฝนตกหนักขึ้น ปริมาณจีโอสมินที่หลุดลอยไปในอากาศก็ยิ่งเพิ่มขึ้น
"มีสัตว์หลายประเภทที่ไวต่อกลิ่นนี้ แต่มนุษย์จะไวมากที่สุด" ศ. บัตต์เนอร์กล่าว
ในช่วงต้นทศวรรษ 1960 มีผู้คิดค้นวิธีเปลี่ยนไอดินให้กลายเป็นกลิ่นในเชิงพาณิชย์เรียกว่า มัตติ กา อัททาร์ หรือ "กลิ่นหอมแห่งพสุธา" โดยมีการทำขึ้นครั้งแรกในรัฐอุตตรประเทศ ของอินเดีย
ในปัจจุบันนี้ จีโอสมินได้กลายองค์ประกอบสำคัญของน้ำหอมหลายชนิดไปแล้ว
"มันเป็นส่วนประกอบหนึ่งของสูตรน้ำหอม และกลิ่นมันจะคล้ายเวลาฝนตกใส่พื้นคอนกรีต" มารินา บาร์เซนิลลา ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำหอมกล่าว "กลิ่นนี้ให้ความรู้สึกถึงความเก่าแก่แบบปฐมกาล"
"แม้แต่เมื่อคุณนำมันไปผสมกับอย่างอื่นในสัดส่วนหนึ่งต่อพันล้าน (มนุษย์)ก็ยังสามารถรับรู้กลิ่นนี้ได้" เธอกล่าว
แม้เราจะมีความสัมพันธ์พิเศษกับจีโอสมิน จนได้กลิ่นแม้จะมีมันอยู่เพียงเล็กน้อยในอากาศ แต่มนุษย์ไม่น้อยเกลียดรสชาติของมัน
ถึงมันจะไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ กลิ่นจีโอสมินเพียงเล็กน้อยในน้ำแร่หรือไวน์ก็ทำให้คนหลายคนเลิกกินได้เลย
ศ. นีลเซน ยังระบุว่างานวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าจีโอสมินยังเกี่ยวพันกับ เทอร์พีนส์ ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของกลิ่นในพืชหลายชนิด
ส่วน ศ. ฟิลลิป สตีเวนสัน หัวหน้านักวิจัยที่สวนพฤกษศาสตร์หลวงคิว บอกว่า ฝนยังสามารถนำเอากลิ่นต่าง ๆ ออกมาจากพืชด้วย"
สารเคมีจากพืชที่ให้กลิ่นสดชื่นนั้นจะผลิตจากขนของใบ ...ฝนที่ตกถูกใบไม้ทำให้เส้นใยเสียหายและปล่อยองค์ประกอบเคมีออกมา"
"เราไม่รู้ว่าทำไมเราถึงไม่ชอบรสจีโอสมิน" ศ. เจปเป ลุน นีลเซนจากมหาวิทยาลัยอัลบอร์ก ในเดนมาร์กกล่าว "บางทีเราอาจจะเอามันไปเชื่อมโยงกับสิ่งที่ไม่ดีกับเราก็ได้"
พืชศ. นีลเซน ยังระบุว่างานวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าจีโอสมินยังเกี่ยวพันกับ เทอร์พีนส์ ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของกลิ่นในพืชหลายชนิด
ส่วน ศ. ฟิลลิป สตีเวนสัน หัวหน้านักวิจัยที่สวนพฤกษศาสตร์หลวงคิว บอกว่า ฝนยังสามารถนำเอากลิ่นต่าง ๆ ออกมาจากพืชด้วย"
สารเคมีจากพืชที่ให้กลิ่นสดชื่นนั้นจะผลิตจากขนของใบ ...ฝนที่ตกถูกใบไม้ทำให้เส้นใยเสียหายและปล่อยองค์ประกอบเคมีออกมา"
"ฝนอาจจะทำให้องค์ประกอบส่วนที่แห้งของพืชเสียหายและปล่อยสารเคมีออกแบบในลักษณะเดียวกับเวลาที่เราขยี้พวกสมุนไพร ทำให้กลิ่นจึงออกแรงขึ้น" เขาบอกกับบีบีซี
ในช่วงหน้าแล้งอาจจะทำให้เมตาโบลิซึ่มของพืชช้าลง แต่ฝนที่ตกลงมาอีกครั้งจะทำให้พืชเริ่มฟื้นคืนชีวิต เติบโตอีกครั้ง และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พืชปล่อยกลิ่นสดชื่นออกมา
สายฟ้า
ในช่วงหน้าแล้งอาจจะทำให้เมตาโบลิซึ่มของพืชช้าลง แต่ฝนที่ตกลงมาอีกครั้งจะทำให้พืชเริ่มฟื้นคืนชีวิต เติบโตอีกครั้ง และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พืชปล่อยกลิ่นสดชื่นออกมา
สายฟ้า
สายฟ้าก็มีส่วนไม่น้อยในกลิ่นไอดิน โดยเฉพาะกลิ่นสดชื่นเตะจมูกอย่างแรงของโอโซน ซึ่งเกิดจากสายฟ้าแล่นผ่านอากาศ รวมทั้งการแล่นของไฟฟ้าในแบบอื่น ๆ ในบรรยากาศอีกด้วย
ศ. มาริเบธ สโตลเซนเบิร์ก จากมหาวิทยาลัยมิสซิสซิปปีอธิบายว่า
"นอกจากสายฟ้าแล้ว พายุฟ้าคะนองโดยเฉพาะฝน จะทำให้คุณภาพของอากาศดีขึ้น ฝุ่นหรือ ละอองลอย หรืออนุภาคต่าง ๆ จะถูกฝนชะไปและทำให้อากาศสะอาดขึ้น"
เครดิตแหล่งข้อมูล : bbc.com/thai
ศ. มาริเบธ สโตลเซนเบิร์ก จากมหาวิทยาลัยมิสซิสซิปปีอธิบายว่า
"นอกจากสายฟ้าแล้ว พายุฟ้าคะนองโดยเฉพาะฝน จะทำให้คุณภาพของอากาศดีขึ้น ฝุ่นหรือ ละอองลอย หรืออนุภาคต่าง ๆ จะถูกฝนชะไปและทำให้อากาศสะอาดขึ้น"
เครดิตแหล่งข้อมูล : bbc.com/thai
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น