พบแอนติบอดีพิเศษในลามา ใช้ป้องกันและรักษาโรคโควิด-19 ได้
สัตว์เลี้ยงน่ารักขนตางอนจากภูมิภาคอเมริกาใต้ อย่างตัวลามา หรือ ยามา (Llama) ไม่ได้มีไว้เพื่อนำขนมาทอเป็นผืนผ้าแสนอบอุ่นเท่านั้น แต่ในเลือดของมันยังมีสารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดีชนิดพิเศษ ที่มนุษย์สามารถใช้เป็นต้นแบบเพื่อสังเคราะห์วัคซีนและยายับยั้งฤทธิ์ไวรัสได้หลายชนิด ซึ่งล่าสุดยังพบว่าสามารถใช้ป้องกันและรักษาโรคโควิด-19 ได้อีกด้วย
ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ ซึ่งนำโดยมหาวิทยาลัยเกนต์ของเบลเยียมและสถาบันวิจัยอีกหลายแห่งในสหรัฐฯ ตีพิมพ์ผลการค้นพบล่าสุดในวารสาร Cell โดยชี้ว่าแอนติบอดีของลามา ซึ่งเคยใช้ยับยั้งการก่อโรคและลบล้างฤทธิ์ของไวรัสได้ผลมาแล้วหลายชนิด ทั้งกับไวรัสโรคไข้หวัดใหญ่ โรคซาร์ส (SARS) และโรคเมอร์ส (MERS) มีประสิทธิภาพแบบเดียวกันในการป้องกันและกำจัดไวรัสซาร์สซีโอวีทู (SARS-CoV-2) ที่ก่อโรคโควิด-19 ด้วย
การค้นพบครั้งนี้ต่อยอดจากงานวิจัยที่เริ่มขึ้นเมื่อ 4 ปีก่อน โดยทีมวิจัยจากเบลเยียมพบว่าแอนติบอดีจาก "วินเทอร์" ลูกลามาวัยสี่เดือนในขณะนั้น สามารถสร้างภูมิคุ้มกันไวรัสโรคซาร์สและโรคเมอร์สให้กับเซลล์ของมนุษย์ที่เพาะเลี้ยงในจานทดลองได้เป็นเวลานานถึง 6 สัปดาห์ และในครั้งนี้แอนติบอดีจากลามาตัวเดิมก็สามารถยับยั้งไวรัสโรคโควิด-19 ในห้องปฏิบัติการได้เช่นกัน
ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ ซึ่งนำโดยมหาวิทยาลัยเกนต์ของเบลเยียมและสถาบันวิจัยอีกหลายแห่งในสหรัฐฯ ตีพิมพ์ผลการค้นพบล่าสุดในวารสาร Cell โดยชี้ว่าแอนติบอดีของลามา ซึ่งเคยใช้ยับยั้งการก่อโรคและลบล้างฤทธิ์ของไวรัสได้ผลมาแล้วหลายชนิด ทั้งกับไวรัสโรคไข้หวัดใหญ่ โรคซาร์ส (SARS) และโรคเมอร์ส (MERS) มีประสิทธิภาพแบบเดียวกันในการป้องกันและกำจัดไวรัสซาร์สซีโอวีทู (SARS-CoV-2) ที่ก่อโรคโควิด-19 ด้วย
การค้นพบครั้งนี้ต่อยอดจากงานวิจัยที่เริ่มขึ้นเมื่อ 4 ปีก่อน โดยทีมวิจัยจากเบลเยียมพบว่าแอนติบอดีจาก "วินเทอร์" ลูกลามาวัยสี่เดือนในขณะนั้น สามารถสร้างภูมิคุ้มกันไวรัสโรคซาร์สและโรคเมอร์สให้กับเซลล์ของมนุษย์ที่เพาะเลี้ยงในจานทดลองได้เป็นเวลานานถึง 6 สัปดาห์ และในครั้งนี้แอนติบอดีจากลามาตัวเดิมก็สามารถยับยั้งไวรัสโรคโควิด-19 ในห้องปฏิบัติการได้เช่นกัน
การที่แอนติบอดีของลามามีขนาดเล็กกว่าของมนุษย์มาก จึงสามารถเข้าจับกับตัวรับบนหนามของไวรัสโคโรนาได้อย่างละเอียดทั่วถึง ส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้สูงกว่า
นายแดเนียล แรปป์ นักศึกษาวิจัยระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเทกซัส วิทยาเขตออสติน หนึ่งในทีมผู้วิจัยบอกว่า "ฉลามมีแอนติบอดีแบบนี้เหมือนกัน แต่เราคงจะทำการทดลองกับมันได้ยากอยู่ เทียบกันแล้วลามาเป็นสัตว์ว่าง่ายและน่ารักน่ากอดกว่าเยอะ หากมันไม่ชอบใครก็จะแค่ถ่มน้ำลายใส่เท่านั้น"
วัคซีนที่สังเคราะห์โดยใช้แอนติบอดีของลามาเป็นต้นแบบ สามารถทำให้เกิดภูมิคุ้มกันขึ้นในร่างกายได้ทันที ซึ่งต่างกับวัคซีนทั่วไปที่ต้องรอราว 1-2 เดือน นอกจากนี้ ยังอาจให้แอนติบอดีดังกล่าวกับผู้ป่วยโรคโควิด-19 เพื่อลดความรุนแรงของอาการลงได้ด้วย
อย่างไรก็ตาม วัคซีนนี้จะมีฤทธิ์ป้องกันไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เพียงชั่วคราวราว 1-2 เดือนหลังได้รับวัคซีนเท่านั้น และจำเป็นจะต้องมีการฉีดซ้ำ
ดร. ซาเวียร์ แซเลนส์ นักไวรัสวิทยาโมเลกุลจากมหาวิทยาลัยเกนต์ของเบลเยียมบอกว่า
"ยังคงต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน กว่าจะทำการทดสอบแอนติบอดีของลามาไปจนถึงขั้นทดลองในมนุษย์ได้ แต่หากมันได้ผล เจ้าวินเทอร์ก็สมควรจะมีอนุสาวรีย์เชิดชูเกียรติกับเขาได้แล้ว"
เครดิตแหล่งข้อมูล : bbc.com/thai
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น