เปิดเอกสาร WHO ประเมิน ซิโนแวค ป้องกันอาการ-แอดมิด ได้มากแค่ไหน?
โดยผลสรุปการประเมินวัคซีน ซิโนแวค พิจารณาจากฐานข้อมูลทางคลินิค หลักฐานการทดลองเชิงคลินิคของวัคซีนเท่าที่มี ซึ่งมีการศึกษาใน ตุรกี ชิลี อินโดนีเซีย โดยเฉพาะในบราซิลที่มีการทดลองเชิงคลินิคในเฟสที่ 3 แล้ว
SAGE สรุปเอาไว้ว่าวัคซีน ซิโนแวค สามารถ
- ป้องกันอาการโควิด-19 ได้ที่ระดับ 67%
- ป้องกันการแอดมิดเนื่องจากโควิด-19 ได้ 85%
- ป้องกันการเข้า ICU เนื่องจากโควิด-19 ที่ระดับ 89%
- ป้องกันการเสียชีวิตเนื่องจากโควิด-19 ที่ระดับ 80%
SAGE - มีความมั่นใจระดับสูงว่าการฉีดวัคซีน Sinovac 2 โดส จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตรวจพบเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มคนวัยผู้ใหญ่อายุ 18-59 ปีได้
SAGE - มีความมั่นใจระดับปานกลาง ว่าความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงร้ายแรงหลังฉีดวัคซีน 1 หรือ 2 โดสในกลุ่มคนวัยผู้ใหญ่อายุ 18-59 ปี อยู่ในระดับต่ำ
SAGE - มีความมั่นใจระดับปานกลาง ว่าการฉีดวัคซีน Sinovac 2 โดส จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตรวจพบเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มคนสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
SAGE - มีความมั่นใจระดับปานกลาง ว่าการฉีดวัคซีน Sinovac 2 โดส จะมีประสิทธิภาพ กับกลุ่มผู้มีโรคประจำตัว หรือปัญหาสุขภาพที่เพิ่มความเสี่ยงอาการรุนแรงหากติดโควิด-19
ทั้งนี้ เอกสารการประเมินดังกล่าว ยังไม่ชัดเจนว่า WHO จะอนุมัติให้ใช้วัคซีน Sinovac ใช้เป็นกรณีฉุกเฉิน (EUL/PQ) โดยเอกสารสถานะการขอขึ้นทะเบียนดังกล่าว วัคซีน Sinovac ยังมีสถาน "อยู่ระหว่างกระบวนการ" โดยมีกำหนดพิจารณาตัดสินใจอนุมัติภายในเดือนพฤษภาคม