บทสรุปสุดเศร้าของ ผู้นำการต่อสู้ของคนผิวสี ในสหรัฐอเมริกา


บทสรุปสุดเศร้าของ ผู้นำการต่อสู้ของคนผิวสี ในสหรัฐอเมริกา

มาร์ติน ลูเธอ คิง ผู้นำในการต่อสู้ของคนผิวสีในสหรัฐอเมริกา ให้มีสิทธิเท่าเทียมกับคนขาว ซึ่งท้ายสุดเขาได้ถูกลอบยิงเสียชีวิต

มาร์ติน ลูเธอร์ คิง
คือผู้นำในการ ต่อสู้ของคนผิวสีในสหรัฐอเมริกา คำปราศรัยที่โด่งดังของเขาคือคำพูดที่ว่า "ผมมีความฝัน" (I have a dream) ในปี 1963 ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี มาร์ติน ลูเธอร์ คิง นับเป็นผู้นำอย่างไม่เป็นทางการของกลุ่มคนผิวสีที่สู้เพื่อสิทธิมนุษยชนที่ตนเองพึงได้รับ ในประเทศที่ได้ชื่อว่ามีระบบการปกครองแบบเสรีนิยมอย่างสหรัฐอเมริกา การต่อสู้ของ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง นั้นเริ่มต้นขึ้นด้วยการ บอยคอต ระบบขนส่งสาธารณะ หลังจากมีการคุมขัง โรซ่า ปาร์ค หญิงผิวสีที่ละเมิดกฎของการใช้ระบบขนส่งสาธารณะที่แบ่งแยกสีผิว วิธีการเรียกร้องของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง นั้น เป็นการเรียกร้องโดยสันติเพื่อให้ คนผิวสีในสหรัฐอเมริกา มีสิทธิเท่าเทียมกับคนขาว ซึ่งมาร์ติน ลูเธอร์ คิง เชื่อว่าการเรียกร้องโดยสันติวิธีจะนำมาซึ่งผลสำเร็จ ซึ่งเป็นวิธีการที่คล้ายกับการต่อสู้ของมหาตมะคานธี ซึ่งท้ายที่สุดที่รัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา เขาก็ได้ถูกลอบยิงและเสียชีวิต

เหตุการณ์ในปี 1955 ที่หญิงผิวสี โรซา พาร์คส์ ถูกจับเนื่องจากปฏิเสธที่จะสละที่นั่งบนรถเมล์เมืองมอนต์กอเมอรีให้กับชายผิวขาว เป็นสิ่งที่ทำให้การเรียกร้องสิทธิพลเมืองที่คุกรุ่นอยู่แล้วเกิดร้อนระอุขึ้นมา

"การคว่ำบาตรระบบรถขนส่งมวลชนในมอนกอเมอรี รัฐอะลาแบมา ถือว่าประสบความสำเร็จมาก เพราะเขาได้วางแผนมันอย่างดี และทำงานร่วมกับหลายคน เพื่อให้คนในเมืองมอนต์กอเมอรี อะลาแบมาเข้าใจว่าพวกเขาจะไม่ทนกับเรื่องแบบนี้อีกต่อไป"


ประสบการณ์ ความทุ่มเท และการเป็นที่รู้จักในชุมชนของคิง ทำให้เขามีคุณสมบัติเหมาะสมจะเป็นผู้นำในการคว่ำบาตรรถขนส่งมวลชนของเมืองซึ่งยาวนานถึง 381 วัน ในวันที่ 20 ธันวาคม 1956 ศาลฎีกาได้ตัดสินว่าการแบ่งแยกที่นั่งตามสีผิวบนรถเมล์เป็นเรื่องที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นชัยชนะครั้งใหญ่ของการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิพลเมืองของคนผิวสี และเป็นเครื่องยืนยันว่าการประท้วงแบบไร้ความรุนแรงของคิงได้ผล

ถึงตอนนี้ คิงเป็นตัวแทนการเรียกร้องสิทธิพลเมืองที่รู้จักไปทั้งประเทศ เขาถูกคุมขังมากกว่า 20 ครั้ง เคยถูกแทงที่หน้าอก บ้านเคยถูกวางระเบิด นอกจากนี้ ทั้งเขาและครอบครัวก็โดนทำร้ายนับครั้งไม่ถ้วน สำหรับชายที่ต้องการต่อสู้อย่างไร้ความรุนแรง ชีวิตส่วนใหญ่ของเขากลับตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงอย่างไม่ว่างเว้น แต่กระนั้น การคุกคามไม่เคยหยุดเขาได้

"ดร.คิงเป็นแรงบันดาลใจให้คนหลายพัน ผ่านการพูดที่คมคายและความกล้าหาญของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังบ้านเขาถูกวางระเบิด ทั้งภรรยา ลูกและตัวเขายังแสดงออกว่าพวกเขาพร้อมจะเสี่ยงชีวิตในการเรียกร้องเสรีภาพนี้"

บทสรุปสุดเศร้าของ ผู้นำการต่อสู้ของคนผิวสี ในสหรัฐอเมริกา


คิงทำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยเพื่อส่งเสริมในสิ่งที่เขาเชื่อมั่นอย่างแรงกล้า และตั้งแต่ 1957-1968 เขาเดินทางเป็นระยะทางกว่า 6 ไมล์ กล่าวสุนทรพจน์ 250,000 ครั้ง เขียนหนังสือ 5 เล่ม และบทความอีกมากมาย การทำงานหนักและความสามารถในการสื่อสารของเขาทำให้เขาเป็นที่นับถือมาก จนประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคเนดี้ ยังยอมให้เขาเข้าพบเป็นการส่วนตัวด้วย

ในจำนวนสุนทรพจน์ทั้งหมดที่ด๊อกเตอร์คิงเคยกล่าว ไม่มีอันใดเป็นอมตะไปกว่า สุนทรพจน์ "ข้าพเจ้ามีความฝัน" (I Have a Dream) ที่กล่าว ณ ขั้นบันไดของอนุสาวรีย์ลินคอล์นอันเป็นสัญลักษณ์ ในปี 1963 ต่อหน้ามวลชนกว่า 250,000 คน ทั้งผิวขาวและผิวสี

คิงกลายมาเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลทางความคิดมากในสหรัฐ จนกระทั่งนิตยสาร ไทมส์ ยกย่องให้เขาเป็น "บุรุษแห่งปี" ในปี 1963 เป็นรางวัลที่น่าพอใจแน่นอน แต่กลับดูเป็นเรื่องเล็กไปเมื่อในปี 1964 เขาได้เป็นชายอายุน้อยที่สุดที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

ขณะที่อยู่ในเมืองเมมฟิสเพื่อนำการเดินขบวนประท้วงปกป้องสิทธิของคนงานขนขยะที่สไตรค์หยุดงานเมื่อปี 1968 คิงได้กล่าวสุนทรพจน์ปลุกใจที่มีชื่อว่า "ข้าพเจ้าได้ไปถึงยอดเขา" (I've Been to The Mountain Top) ซึ่งจะเป็นสุนทรพจน์สุดท้ายของเขา ขณะที่ยืนอยู่บนระเบียงชั้นสองหน้าห้องที่โรงแรมลอเรน ในเมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา คิงถูกลอบยิงและเสียชีวิต

บทสรุปสุดเศร้าของ ผู้นำการต่อสู้ของคนผิวสี ในสหรัฐอเมริกา


บทสรุปสุดเศร้าของ ผู้นำการต่อสู้ของคนผิวสี ในสหรัฐอเมริกา

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
รวมข่าวในกระแส คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์